E-Waste ขยะใกล้ตัวที่รอการแก้ปัญหา

Image by Maruf Rahman from Pixabay

ปัจจุบัน ปัญหาขยะที่สำคัญที่อยู่ใกล้ตัวและเป็นขยะอันตรายที่กำจัดยากแอบซ่อนอยู่ ขยะที่ว่า คือ โทรศัพท์มือถือ แท็บแล็ต และอุปกรณ์เสริมต่างๆ คอมพิวเตอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ที่ใช้งานไม่ได้แล้ว หรือล้าสมัย อุปกรณ์เหล่านี้จะกลายเป็นขยะที่จัดอยู่ในประเภทขยะอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-Waste

ขยะอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Waste หรือ E-Waste) คือ ซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ชนิดต่างๆ ที่หมดอายุการใช้งาน ล้าสมัย หรือผู้บริโภคไม่ต้องการใช้งานแล้ว และจะถูกทิ้งเป็นขยะ ซึ่งชิ้นส่วนเหล่านี้ไม่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ และมีสารประกอบที่เป็นพิษ

โดยปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ของไทย ในปี 2564 มี 435,187 ตัน (คิดเป็นร้อยละ 65 ของของเสียอันตรายทั้งหมด) และมีการกำจัดอย่างถูกต้องเพียงร้อยละ 20 ส่วนที่เหลือถูกนำไปกองรวมกับขยะมูลฝอยอื่นๆ เพื่อรอการฝังกลบ หรือมีบางส่วนถูกกระจายไปยังร้านรับซื้อของเก่า การจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่เหมาะสม จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัย โดยสารอันตรายจากขยะอิเล็กทรอนิกส์ เช่น โลหะหนัก เมื่อนำไปฝังกลบสารเคมีจะปนเปื้อนในดิน แหล่งน้ำผิวดิน และแหล่งน้ำใต้ดิน สารพิษจะเข้าสู่ระบบนิเวศและห่วงโซ่อาหาร ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย เช่น ความเป็นพิษของตะกั่ว จะมีผลทำลายระบบประสาท ระบบโลหิต การทำงานของไต ระบบสืบพันธุ์ เป็นต้น ถ้านำไปเผาก็จะเกิดกลิ่นเหม็น และเกิดสารมลพิษทางอากาศต่างๆ ได้แก่ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ คาร์บอนมอนอกไซด์ สารไดออกซิน และฟิวแรน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง

จากผลกระทบต่างๆ ทำให้หลายหน่วยงานได้พยายามหาวิธีการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่เหมาะสม ที่ผ่านมา กรมควบคุมมลพิษ ได้เสนอ (ร่าง) พระราชบัญญัติการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ….  โดย (ร่าง) พระราชบัญญัตินี้ได้กำหนดบทบาทและหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิต ผู้นําเข้า ผู้ขาย ผู้บริโภค องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และโรงงานรีไซเคิลในการจัดการซากผลิตภัณฑ์ให้ชัดเจน โดยเฉพาะผู้ผลิตที่จะมีความรับผิดชอบเพิ่มขึ้นในการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ง่ายต่อการรีไซเคิล ลดการใช้สารอันตรายและสนับสนุนการพัฒนาระบบการจัดการซากผลิตภัณฑ์ตามหลักการ EPR (Extended Producer Responsibility) หรือการออกกฎหมาย กำหนดให้ผู้ผลิต มาช่วยจัดระบบเรียกคืน (Take-back System) ขยะบรรจุภัณฑ์หรือซากผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นหลังการบริโภค เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการขยะ และช่วยแบ่งเบาภาระของภาครัฐ รวมไปถึงหน้าที่ของผู้บริโภคที่ต้องส่งคืนขยะบรรจุภัณฑ์หรือผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช้แล้วไปยังจุดที่ผู้ผลิตจัดไว้ให้ นอกจากนี้ ยังมีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการบริหารจัดการขยะพลาสติกและขยะอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อบริหารจัดการ หาแนวทางในการแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกและขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่เกิดขึ้นภายในประเทศและที่นำเข้าจากต่างประเทศ โดยการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่เกิดขึ้นภายในประเทศ ได้พัฒนาเทคโนโลยี/นวัตกรรมด้านการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์และลดการใช้สารอันตรายในเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อีกทั้ง ได้มีการยกเลิกการนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ และกำหนดให้ขยะอิเล็กทรอนิกส์เป็นสินค้าที่ต้องห้ามในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. 2563 ทางด้านกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ได้ออกแบบและพัฒนาเครื่องคัดแยกโลหะจากซากแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ประสิทธิภาพสูงและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเครื่องคัดแยกนี้ สามารถแยกส่วนประกอบต่างๆ ในซากแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยกระบวนการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ได้แก่ โลหะที่ไม่ติดแม่เหล็ก (เช่น ทองแดง ดีบุก ทองคำ เงิน อะลูมิเนียม) โลหะที่ติดแม่เหล็ก (เช่น เหล็ก และนิกเกิล) และส่วนประกอบที่ไม่ใช่โลหะ (เช่น Epoxy Resin, Fiberglass) ซึ่งวัตถุดิบทั้งหมดนี้สามารถนำกลับมาสร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์ได้ใหม่ นอกจากนี้หลายหน่วยงานได้มีการตั้งจุดรับทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ตามจุดต่างๆ ในชุมชน รวมถึงบริการฝากทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ของไปรษณีย์ไทยที่ให้บริการรับฝากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ใช้แล้วโดยไม่มีค่าใช้จ่าย เพื่อส่งต่อไปยังสถานที่จัดการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างเหมาะสมและปลอดภัย โดยวิธีการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ในเบื้องต้น จะนำไปแยกส่วนประกอบและวัตถุที่มีค่า แล้วนำไปรีไซเคิล อีกทั้งยังแยกอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ต้องการแต่ยังสามารถใช้งานได้กลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง โดยจะนำมาซ่อมแซม และบริจาคให้กับผู้ที่ขาดแคลน เพื่อเป็นการใช้วัสดุได้อย่างคุ้มค่า สอดคล้องกับแนวทางระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)

ด้วยความก้าวหน้าและการเติบโตอย่างรวดเร็วของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ทำให้มีปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว อีกทั้งประเทศไทยยังไม่มีการบริหารจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ รวมถึงประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่มีความเข้าใจว่าขยะอิเล็กทรอนิกส์เป็นของเสียอันตรายที่ต้องมีการจัดการอย่างถูกวิธี และได้ทิ้งรวมกับขยะทั่วไป จึงทำให้ “ขยะอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-Waste” เป็นขยะใกล้ตัวที่รอการแก้ไขและได้รับการบริหารจัดการอย่างถูกต้อง

จัดทำบทความโดย นางสาวพรพรรณ ปัญญายงค์
เจ้าหน้าปฏิบัติงานด้านวิชาการ (การจัดทำวารสารธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) กองติดตามประเมินผลสิ่งแวดล้อม

เอกสารอ้างอิง

กรมควบคุมมลพิษ. (2564). ข้อมูลขยะมูลฝอยชุมชน เอกสารประกอบการจัดทำรายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2564. (เอกสารอัดสำเนา).

กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่. (2564). โครงการ และการดำเนินงานที่สำคัญที่ส่งผล
ต่อสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม เอกสารประกอบการจัดทำรายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2564. (เอกสารอัดสำเนา).

มติชนออนไลน์. (2565). คพ. เผยปี 2564 ขยะมูลฝอยลดลง ขยะติดเชื้อ-ขยะอันตรายเพิ่มขึ้น. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2565. จากเว็บไซต์: https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_3168455.

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2563).รายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2562. กรุงเทพมหานคร.

สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2563). “หลักการความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นของผู้ผลิต(Extended Producer Responsibility)” เครื่องมือในการจัดการขยะและส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน. วารสารสิ่งแวดล้อม, ปีที่ 24 (ฉบับที่ 2).

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content