7 เมษายน 2564 เจาะลึกพิธีกรรม ความเชื่อ และขั้นตอนการทำมัมมี่แห่งอียิปต์โบราณ

ที่มา: https://www.sanook.com/campus/1404172

แม้การทำมัมมี่มีอยู่ทั่วโลก ไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในดินแดนลุ่มน้ำไนล์ แต่กลายเป็นว่าชาวไอยคุปต์กลับเป็นชาติที่มีการพัฒนาวิทยาการเกี่ยวกับการทำมัมมี่มาตลอดเกือบ ๓,๐๐๐ ปี Sarakadee Lite ชวนมาเปิดเบื้องหลัง ขั้นตอนการทำมัมมี่อย่างละเอียด เจาะลึกตั้งแต่ความเชื่อ พิธีกรรม จากยุครุ่งเรืองในการทำมัมมี่ของชาวอียิปต์ สู่ช่วงสุดท้ายก่อนปิดฉากมัมมี่

ยุคทองแห่งการทำมัมมี่

ประเทศอียิปต์ไม่ใช่ชาติแรกที่ทำมัมมี่ แต่การทำมัมมี่มีอยู่ในวัฒนธรรมความเชื่อเรื่องโลกหลังความตายของหลายดินแดน เช่น ในวัฒนธรรมของชาวประมงโบราณริมชายฝั่งประเทสเปรูและชิลี ซึ่งมีการทำมัมมี่มาราว ๓,๐๐๐ ปีก่อนคริสตกาล รวมทั้งประเทศโคลัมเบีย เอกวาดอร์ แม้แต่อินเดียนแดงบนแผ่นดินอเมริกาบางเผ่าก็มีการทำมัมมี่ แต่ที่รุ่งเรืองสุดเห็นจะเป็นในดินแดนอินคา ชาวอียิปต์โบราณพัฒนาเทคนิคและความเชี่ยวชาญในขั้นตอนการทำมัมมี่มาโดยตลอด และเป็นระยะเวลายาวนานตั้งแต่ ๒,๘๐๐๐ ปี ก่อนคริสตกาล จนมาถึงปี ค.ศ. ๖๔๐ การทำมัมมี่จึงสิ้นสุดลงพร้อมกับการล่มสลายของอาณาจักรอียิปต์หลังถูกชาวอาหรับเข้ามายึดครองช่วง ๑,๐๐๐ – ๙๕๐ ปีก่อนคริสตกาล ถือเป็นช่วงพัฒนาการสูงสุดของเทคนิคและวิทยาการมัมมี่ ตรงกับยุคที่หัวหน้านักบวชแห่งอามุน ( Amun ราชาแห่งเทพเจ้า) มีอำนาจมาก เป็นยุคสมัยเดียวกับที่ฝั่งอิสราเอลกำลังรุ่งเรือง ซึ่งตรงกับสมัยกษัตริย์โซโลมอนและกษัตริย์เดวิด

มัมมี่วัฒนธรรมที่บ่งชี้ความรุ่งเรืองด้านการแพทย์

ขยับมาช่วง ๔๕๐ ปี ก่อนคริสตกาล มีหลักฐานบันทึกโดยนักประวัติศาสตร์ชาวกรีกชื่อ เฮโรโดตุส เขียนเล่าวิธีการทำมัมมี่ของชาวอียิปต์ ที่ถือได้ว่าเป็นยุคท้ายๆ ของความนิยมในการทำมัมมี่ อีกทั้งด้านพัฒนาการเทคนิคต่างๆ ก็ผ่านพ้นยุครุ่งเรืองมาแล้ว จากบันทึกของเฮโรโดตุสกล่าวว่า ขั้นตอนการทำมัมมี่ ใช้เวลาทั้งหมด ๗๐ วัน และการทำมัมมี่มีถึง ๓ แบบ ๓ ราคา โดยมัมมี่ที่ดีที่สุด และมีราคาในการทำแพงที่สุดจะใช้เทคนิคการดูดเอาสมองคนตายออกมาทางรูจมูก (ไม่ต่างจากการผ่าตัดในการแพทย์ยุคใหม่) และใช้มีดที่ทำจากหินเหล็กไฟ กรีดข้างลำตัวเพื่อควักอวัยวะภายในออกมา เหลือไว้แค่ก้อนเนื้อที่เป็นหัวใจ และจากนั้นจึงชำระช่องท้องให้สะอาดด้วยเหล้าไวน์ที่หมักจากปาล์ม ก่อนนำร่างไปตากแห้ง ย้อนกลับในราวพันปีก่อนคริสตกาล เมื่อครั้งทักษะการทำมัมมี่อยู่ในยุครุ่งเรือง มัมมี่ที่ดีจะต้องมีวัสดุประเภทขี้เลื่อย โคลน และผ้าลินิน ยัดเข้าไปแทนที่อวัยวะภายในที่ถูกดูดออก การทำมัมมี่ยุคนั้นละเอียดประณีตถึงขั้นที่กรีดผิวหนังเป็นร่องเล็กๆ และยัดวัสดุดังกล่าวไว้ใต้ผิวหนังด้วย ส่วนมัมมี่แบบราคากลางย่อมเยา จะไม่มีการควักอวัยวะภายในออก แต่ใช้น้ำมันสนซีดาร์ ฉีดเข้าไปในร่างก่อนตากแห้ง และมัมมี่ราคาถูกที่สุดก็มีวิธีการแค่นำร่างไปตากให้แห้ง

กระบวนการก่อนนำศพไปตากแห้ง

สำหรับร่างที่เตรียมนำไปตากแห้งจะต้องโรยสารเนตรอน (Natron) ซึ่งเป็นสารประกอบประเภทเกลือจากธรรมชาติ โดยสารเนตรอนนี้เปรียบได้กับสารกันบูดของชาวอียิปต์โบราณ เนตรอนทำหน้าที่เป็นตัวช่วยดูดซับน้ำ ไขมัน และมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย แต่บางข้อมูลก็กล่าวว่า หมักร่างผู้ตายไว้ใต้กองสารเนตรอนไม่ใช่แค่โรยสารเนตรอนลงไปบนล่างเฉยๆ และหลังจากโรยหรือหมักสารเนตรอนแล้ว จึงเข้าสู่การนำร่างไปทาน้ำมัน ตกแต่งและเข้าสู่ขั้นตอนพันผ้าห่อร่าง และนำไปตากแห้งโดยใช้เวลาราว ๔๐ วัน

จารึกประวัติศาสตร์บนผ้าพันร่างมัมมี่

ความยาว ๑๐๐ ม. คือ ขนาดความยาวของผ้าต่อมัมมี่หนึ่งร่าง โดยวัสดุที่ได้รับความนิยม ได้แก่ ผ้าลินิน นำไปชุบน้ำยางเหนียวเรซิน เพื่อห่อผ้าแนบชิดสนิทติดกับร่างอย่างเรียบแน่น ผ้าพันศพชั้นนอกสุดเป็นผ้าที่ถูกชโลมด้วยขี้ผึ้ง และใช้วุ้นหรือเจลาตินเป็นตัวยึดผ้าให้ติดกันอย่างแนบสนิทอีกครั้ง ที่สำคัญคือ ผ้าลินินห่อร่างมักซื้อมาจากวิหารเทพเจ้า ตามความเชื่อที่ว่าเป็นผ้าศักดิ์สิทธิ์ ช่วยปกป้องคุ้มครองให้ร่างที่กลายเป็นมัมมี่นั้นได้หลับใหลอย่างสงบ ปราศจากสิ่งชั่วร้ายมารบกวน

นอกจากชนิดของผ้าแล้ว อีกขั้นตอนที่สำคัญคือ การนับจำนวนรอบของการพันผ้า ตามความเชื่อของชาวอียิปต์ เลข ๗ ถือเป็นเลขมงคลดังนั้นจำนวนรอบของการพันผ้ามัมมี่ ๑ ร่างต้องนับให้ได้ ๗ รอบ โดยแต่ละรอบจะมีการวางเครื่องรางเล็กๆ แนบไว้กับร่างด้วย นอกจากนี้ ยังต้องเขียนจารึกที่ขอบผ้าพันศพ เปรียบเสมือนการบันทึกประวัติศาสตร์ ในการจารึกต้องระบุสอง สิ่งสำคัญ คือ การระบุว่าเจ้าของผ้าเป็นของผู้ตายเองหรือของญาติมิตร และระบุแหล่งที่มาของผ้าผืนนั้นไว้ที่ขอบผ้าพันศพชั้นนอกสุด หลังเสร็จสิ้นการพัน ๗ รอบแล้วในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๕ (ค.ศ. ๑๔๐๐ – ๑๕๐๐) ชาวยุโรปนำผ้าห่อศพมัมมี่มาขายในราคา ๘ ชิลลิ่ง (ค่าเงินสมัยนั้น) ต่อผ้าห่อมัมมี่ ๑ ปอนด์ เพราะคนยุโรปคิดว่า ผ้าห่อศพมัมมี่ช่วยรักษาอาการอาเจียน และรักษาบาดแผลได้ ไม่เพียงเท่านั้นในสมัยศตวรรษที่ ๒๐ ชาวอียิปต์ยังใช้ผ้าห่อศพจากมัมมี่ มามุงหลังคาบ้านแทนใบจากอีกด้วย

โถ เก็บอวัยวะภายใน

การทำมัมมี่นอกจากขั้นตอนการรักษาร่างแล้ว อวัยวะภายในสำคัญของผู้ตาย ได้แก่ ตับ ลำไส้ ปอด และกระเพาะอาหาร จะต้องถูกห่อรวมกันไว้ และเก็บรักษาไว้พร้อมร่าง (หัวใจอยู่กับร่างไม่ควักออกมา) โดยในยุคแรกๆ อวัยวะเหล่านี้จะถูกห่อผสมกับวัสดุขี้เลื่อย โคลน และผ้าลินิน จากนั้นยัดกลับไปในร่างที่ตากแห้งแล้ว ก่อนขั้นตอนการพันผ้าศพ แต่บางยุคก็นำอวัยวะภายในเหล่านั้นใส่ในโถ และวางไว้ข้างมัมมี่ในหลุมฝังศพ ซึ่งโถเก็บอวัยวะภายในของผู้ตาย เรียกว่า “โถคาโนปิก” ๑ ชุด มี ๔ ใบ นิยมใช้วัสดุเป็นหิน แยกชิ้นส่วนอวัยวะทั้ง ๔ ไว้ในโถแต่ละใบ


หน้ากากมัมมี่ หีบ และโลง

หน้ากากมัมมี่ เป็นอีกสิ่งที่จะขาดไม่ได้เพื่อปกปิดส่วนใบหน้าและอกของร่างมัมมี่ที่ถูกพันผ้าเรียบร้อยแล้ว โดยหน้ากากส่วนใหญ่ทำจากผ้าลินินพอกด้วยปูนปลาสเตอร์ ปิดทอง และฝังวัสดุประดับตามแต่ฐานะของผู้ตาย วาดเป็นตาและคิ้วให้สวยงามประหนึ่งร่างนั้นกำลังนอนหลับอย่างสงบ รอการฟื้นคืนจากโลกหลังความตาย หีบและโลงบรรจุมัมมี่แบ่งลำดับตามชนชั้นเช่นกัน สำหรับศพของผู้มีฐานะดีจะใช้หีบและโลงซ้อนกันหลายชั้น เพื่อบรรจุร่างมัมมี่ ส่วนโลงชั้นในของชาวบ้านทั่วไปมักเป็นโลงไม้รูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า แกะสลักฝาโลงเป็นรูปร่างของผู้ตาย ด้านหีบบรรจุโลงชั้นนอกสุดมักใช้วัสดุเป็นหิน มีโลงศพโลงหนึ่งที่ทำให้คนทั้งโลกตื่นตะลึงมาแล้ว นั่นก็คือ โลงศพชั้นในของมัมมี่ฟาโรห์ ตุตันคาเมน ที่ทำจากทองคำแท้ และเมื่อเปิดโลงออกมาก็พบว่าหน้ากากมัมมี่ฟาโรห์ตุตันคาเมนก็เป็นทองคำแท้เช่นกัน อย่างที่รู้กันว่ามัมมี่คือ การรักษาร่าง ดังนั้นบนโลงศพจึงต้องมีการจารึกคาถาปกป้องดวงวิญญาณขณะเดินทางสู่ปรโลก และรอการฟื้นคืนจากโลกหลังความตาย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content