5 กุมภาพันธ์ 2566 ตะลึง! ปริมาณไมโครพลาสติกในทะเล สะท้อนโลกลดพลาสติกใช้แล้วทิ้งไม่ได้

ที่มา : https://mgronline.com/greeninnovation/detail/9660000010369

งานวิจัยเมื่อไม่นานนี้ ตีพิมพ์ในวารสาร Environmental Science and Technology จากการเก็บตัวอย่างดินตะกอนในทะเลพบว่าไมโครพลาสติก ที่ระดับความลึกกว่า 100 เมตร มีปริมาณสะสมเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา ตอกย้ำถึงการแก้ปัญหาการใช้พลาสติกแล้วใช้แล้วทิ้ง ที่ยังเป็นปัญหาใหญ่ด้านสิ่งแวดล้อมของโลก

          ไมโครพลาสติกในทะเลลึก เกิดจากขยะพลาสติกที่แตกตัวจนมีขนาดเล็กกว่า 0.5 เซนติเมตร เนื่องจากต้องใช้เวลาย่อยสลายถึง 400 ปี การถูกสะสมมากขึ้นส่วนหนึ่งถูกส่งต่อผ่านห่วงโซ่อาหารและกลับคืนสู่มนุษย์ผ่านการบริโภคอาหารทะเล

          งานวิจัยชิ้นนี้ทำการเก็บตัวอย่างจากดินตะกอนในทะเล Balearic ทางตะวันออกของสเปนและทางใต้ของฝรั่งเศส เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2019 พบหลักฐานว่าปริมาณไมโครพลาสติกจากการแตกตัวของขยะพลาสติก บริเวณก้นทะเลมีปริมาณเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่าในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา และความพยายามในปัจจุบันยังไม่ประสบความสำเร็จในการลดปริมาณพลาสติกใช้แล้วทิ้ง

          “เศษพลาสติกชิ้นเล็กๆ ซึ่งเล็กกว่าที่ตามนุษย์มองเห็นได้ ก่อตัวขึ้นบนพื้นทะเลที่ความลึกมากกว่า 100 เมตร ซึ่งผลการศึกษานี้สะท้อนถึงปริมาณผลิตภัณฑ์พลาสติกที่เพิ่มขึ้นในสังคมโลก เช่น บรรจุภัณฑ์ ขวด และเสื้อผ้า ฯลฯ มันแสดงให้เห็นว่าโลกยังห่างไกลจากการลดการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว” นักวิทยาศาสตร์ในทีมวิเคราะห์กล่าว

          สำหรับทีมนักวิจัยประกอบด้วยผู้ที่มาจาก Universitat Autònoma de Barcelona (ICTA-UAB) ในสเปน และ Department of the Built Environment of Aalborg University (AAU-BUILD) ในเดนมาร์ก

พวกเขากล่าวว่าปริมาณของไมโครพลาสติกที่พบฝังอยู่ในพื้นทะเลนั้นเลียนแบบการผลิตพลาสติกทั่วโลกตั้งแต่ปี 1965-2016 (พ.ศ.2508-2559)

          นักวิจัย Laura Simon-Sánchez กล่าวว่า “โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าตั้งแต่ปี 2000 ปริมาณของอนุภาคพลาสติกที่สะสมอยู่ที่ก้นทะเลเพิ่มขึ้นเป็นสามเท่า และการสะสมยังไม่หยุดเติบโต ซึ่งไม่ได้ลดลงเลย นับเป็นการเลียนแบบการผลิตและการใช้ทั่วโลกของวัสดุเหล่านี้’

          “ที่น่าเป็นห่วงคือ พลาสติกชิ้นเล็ก ๆ นั้นยังคงไม่เปลี่ยนแปลงตั้งแต่ถูกทิ้งครั้งแรกเมื่อหลายสิบปีก่อน เมื่อติดอยู่ในก้นทะเลแล้ว พวกมันจะไม่ย่อยสลายอีกต่อไป ไม่ว่าจะเพราะขาดการกัดเซาะ ออกซิเจน หรือแสง”

          “เมื่อทับถมแล้ว การย่อยสลายจะน้อยมาก ดังนั้นพลาสติกจากทศวรรษที่ 1960 จึงยังคงอยู่ที่ก้นทะเล ทิ้งร่องรอยมลพิษของมนุษย์ไว้ที่นั่น” นักวิทยาศาสตร์กล่าว

          Michael Grelaud ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทีมวิจัยกล่าวเสริมว่า “สิ่งนี้ทำให้เราเห็นว่าตั้งแต่ทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา การสะสมของอนุภาคโพลีเอทิลีนและโพลีโพรพีลีนจากบรรจุภัณฑ์ ขวด และฟิล์มอาหาร เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับโพลีเอสเตอร์จากใยสังเคราะห์ในผ้าทอเสื้อผ้า’

          พวกเขาพบว่าโพรพิลีน ส่วนใหญ่ใช้สำหรับบรรจุภัณฑ์ มีปริมาณมากที่สุดเมื่อรวมกันแล้ว อนุภาคทั้งสามประเภทที่แตกต่างกันมีน้ำหนักสูงสุด 1.5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งพบในส่วนบนของแกนกลางตะกอน ซึ่งเป็นตัวแทนของปีล่าสุด

          ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของไมโครพลาสติกยังไม่เป็นที่เข้าใจอย่างถ่องแท้ แม้ว่าจะมีการพิสูจน์แล้วว่าพลาสติกชิ้นเล็กๆ สามารถปนเปื้อนทั้งอาหารและน้ำได้

          ทั้งนี้การวิจัยก่อนหน้านี้ประเมินว่ามีไมโครพลาสติกมากถึง 14 ล้านตันอยู่บนพื้นทะเล โดยมลพิษพลาสติกจะไปถึงน้ำแข็งในทะเลรอบแอนตาร์กติกาและแม้แต่บริเวณร่องลึกก้นสมุทรมาเรียนา (Mariana Trench) ที่ลึกที่สุดในโลก

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content