30 ธันวาคม 2565 ภาษีลดโลกร้อน…เปลี่ยนอากาศเป็นรายได้

ที่มา : https://www.salika.co/2022/12/28/global-warming-tax/)

        ปัจจุบัน กฎระเบียบโลกใหม่บีบบังคับให้หลายกลุ่มธุรกิจ ต้องปล่อยคาร์บอนไม่เกินตามเพดานตามที่กฎหมายได้กำหนดเอาไว้ ทำให้กลุ่มธุรกิจที่จะส่งสินค้าไปขายในตลาดโลกต้องหลีกเลี่ยงการปล่อยคาร์บอน หากไม่สามารถปฏิบัติได้ก็ต้องขอซื้อคาร์บอนเครดิตจากผู้ประกอบการรายอื่นที่มีเครดิตเหลือมากพอที่จะขายต่อได้
ในราคาที่ถูกกว่าที่ทำได้เอง หรือถูกกว่าการเสียค่าปรับจำนวนมาก ขณะที่การขาย “คาร์บอนเครดิต” นอกจาก
จะสร้างรายได้แล้ว ยังได้รับการยกเว้นภาษีจากรัฐบาลอีกด้วย

         โดยประเทศไทยมีมาตรการ “ภาษีลดโลกร้อน” ทั้งนิติบุคคล-ประชาชน เพื่อสร้างแรงจูงใจ มุ่งเป้าสู่
การเป็นกลางทางคาร์บอน เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2565 คณะรัฐมนตรี (ครม.) ก็ได้อนุมัติหลักการ
ร่างพระราชกฤษฎีกา รวม 2 ฉบับ ซึ่งเป็นการขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย

         ฉบับแรก ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร
(ฉบับที่…) พ.ศ. …. มีสาระสำคัญเป็นการขยายระยะเวลามาตรการภาษี เพื่อส่งเสริมโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจ (T-VER) โดยยกเว้นภาษีให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับกำไรสุทธิที่เกิดจากการจำหน่ายคาร์บอนเครดิตในประเทศ ตามโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจที่ได้ขึ้นทะเบียนกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกามีผลบังคับใช้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2570 (จากเดิมที่สิ้นสุดไปแล้วเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2563)
เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจให้ภาคเอกชนดำเนินโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้มีจำนวนมากขึ้น นำไปสู่การลงทุน การใช้จ่าย และการนำรายได้เข้าประเทศ และส่งเสริมการพัฒนาตลาดคาร์บอนเครดิต
ในประเทศไทย อันเป็นเครื่องมือสำคัญในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยต้นทุนต่ำให้เป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจนี้ คาดว่าจะทำให้รัฐสูญเสียรายได้รวม 210 ล้านบาท แต่จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการแก้ไขปัญหา
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและช่วยให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายในการมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี 2593 (ค.ศ. 2050) และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ภายในปี 2608 (ค.ศ. 2065) ได้สำเร็จ

          ฉบับที่สอง ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่…) พ.ศ. ….    มีสาระสำคัญเป็นการขยายระยะเวลามาตรการภาษี เพื่อส่งเสริมการดำเนินโครงการภาคีสนับสนุนป่าชุมชนลดโลกร้อน ที่บริจาคผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ของกรมสรรพากร ประกอบด้วย ๑) ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล 2) เพิ่มเติมการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับบุคคลธรรมดา (จากเดิมที่ไม่ให้สิทธิบุคคลธรรมดา) มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการดำเนินโครงการภาคีสนับสนุนป่าชุมชนลดโลกร้อนนี้ คาดว่าจะมีป่าชุมชนได้รับการสนับสนุน 10,246 แห่ง ทำให้รัฐสูญเสียรายได้รวม 184 ล้านบาท
แต่จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการส่งเสริมให้ประชาชนและภาคธุรกิจมีส่วนร่วมในการสนับสนุนป่าชุมชน อันเป็นการเพิ่มศักยภาพการดำเนินงานของป่าชุมชนในการดูดซับก๊าซเรือนกระจก รวมทั้งส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของชุมชนอย่างยั่งยืน

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content