3 กรกฎาคม 2564 ฮือฮา! พบนาก-สัตว์ใกล้สูญพันธุ์ในป่าชุ่มน้ำแม่น้ำอิง ผลักดันเป็นพื้นที่อนุรักษ์

ที่มา : https://www.naewna.com/local/584809

นายสมเกียรติ เขื่อนเชียงสา นายกสมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต กล่าวว่า การค้นพบนากในลุ่มน้ำโขงบริเวณแม่น้ำอิงสะท้อนให้เห็นว่าพื้นที่ราบลุ่มน้ำอิงตอนล่างมีความอุดมสมบูรณ์และความหลากหลายทางชีวภาค เป็นการค้นพบครั้งสำคัญของพื้นที่ลุ่มน้ำโขง โดยสมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต และตัวแทนชาวบ้านจะร่วมมือกันในการที่จะดูแลรักษาหาพื้นที่ปลอดภัยให้กับนาก โดยปัจจุบันมีความร่วมมือกับสำนักทรัพยากรธรรมชาติฯ พยายามผลักดันให้ขึ้นทะเบียนพื้นที่ชุ่มน้ำ

นายพิษณุกร ดีแก้ว เจ้าหน้าที่สมาคมฯในฐานะผู้ช่วยนักวิจัยกล่าวว่า จากการสำรวจสองจุดที่ป่าบุญเรืองและป่าชุ่มน้ำบ้านม่วงชุม โดยใช้กล้องดักจับ camera tab จำนวน 25ตัว เป็นเวลา1 เดือน  โดยพบนากใหญ่ธรรมดา และยังพบอีเห็น แมวดาว กระต่ายป่าและนกต่างๆ ซึ่งจากการบอกเล่าของชาวบ้านบอกว่าเคยเห็นแต่ไม่เคยเห็นภาพชัดเจนเราจึงได้ตั้งกล้องไว้ 1 เดือนเพื่อดักถ่ายสัตว์

นายพิชเญศพงษ์ คุรุปรัชญามรรค ผู้ประสานงานสภาประชาชนลุ่มน้ำอิงตอนล่างและชาวบ้านบุญเรือง กล่าวว่า นากในประเทศไทยที่ค้นพบคือ นากใหญ่ธรรมดา นาคใหญ่ขนเรียบ นากจมูกขนและนากเล็กเล็บสั้น ทุกชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง แต่ที่พบคือนากใหญ่ธรรมดา  เมื่อเอาไปศึกษาร่วมกับนักวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี พบว่า ลุ่มแม่น้ำอิงอาจมีนากอยู่ 2 ชนิด คือ นากใหญ่ธรรมดา และนากใหญ่ขนเรียบ นอกจากนี้ ยังพบสัตว์หายากขนาดเล็ก คือ แมวดาวมีความสำคัญเหมือนกันเสือปลาซึ่งเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ยังพบสัตว์กลุ่มชะมด กระต่าย ไก่ป่าและนกทั้งประจำถิ่นและนกอพยพตามฤดูกาล สะท้อนว่าลุ่มน้ำอิงยังอุดมสมบูรณ์

“เดิมนากเป็นข้อพิพาทกับเครื่องมือทำมาหากินกับชาวบ้าน พื้นที่พบนากส่วนใหญ่เชื่อมต่อกับเขตอนุรักษ์พันธุ์ปลา ก้าวต่อไปของคนบุญเรืองคือเราจะอยู่ร่วมกับสัตว์อย่างไรโดยไม่เบียดเบียนกัน แบ่งพื้นที่ใช้ประโยชน์กันอย่างไร”นายพิชเญศพงษ์ กล่าว

นายสายัณน์ ข้ามหนึ่ง รองผู้อำนวยการสมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิตกล่าวว่า เราต้องพิสูจน์ให้ได้ว่านากที่พบในป่าชุ่มน้ำบ้านม่วงชุม มีแนวโน้มเป็นไปได้ที่จะเป็นนากใหญ่ขนเรียบ เนื่องจากชาวบ้านพบเจอแต่ละครั้งกว่า 10 ตัว ซึ่งลักษณะหางไม่เหมือนกัน จากผลการตรวจ DNA เป็นนากใหญ่ธรรมดา ซึ่งมีนิสัยชอบอยู่แบบสันโดด ภารกิจต่อไปคือเก็บตัวอย่างเพื่อส่งตรวจดีเอ็นเอ และมีตัวอย่างโครงกระดูกนากที่บุญเรือง เราคาดว่ามี 2 ชนิด ในลุ่มน้ำอิง และสายพันธุ์กรรมไม่ตรงกับที่อื่นเลย แสดงว่าเป็นสายพันธุ์ที่นี่ “1 ใน 8 เกณฑ์ของการขึ้นทะเบียนแรมซ่า คือ พิสูจน์ได้ว่ามีสัตว์ใกล้สูญพันธุ์และมีเอกลักษณ์ในพื้นที่ชุ่มน้ำให้สัตว์เหล่านี้อยู่ได้ เป็นการพิสูจน์ได้ว่าเรามีพื้นที่ชุ่มน้ำสำคัญระหว่างประเทศ ตรงนี้หากเราจัดการความขัดแย้งระหว่างคนกับนากในมิติความสัทพันธุ์ทางสังคม จะทำให้พื้นที่นี้เป็นแห่งแรกๆ ของเอเชีย เพราะยังไม่มีที่ไหนทำได้” นายสายัณน์ กล่าว

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content