29 มิถุนายน 2564 “โลกร้อน” วิบัติภัยใกล้แค่เอื้อม

ที่มา: https://www.matichon.co.th/foreign/news_2798653

สำนักข่าวเอเอฟพีได้รับร่างรายงานว่าด้วยผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศต่อโลกและมนุษย์ ฉบับใหม่ล่าสุดที่กำลังเตรียมการเพื่อนำเสนอต่อสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ซึ่งจัดทำโดยคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ไอพีซีซี) คณะที่ปรึกษาพิเศษของยูเอ็นว่าด้วยภาวะโลกร้อน รายงานหนา 4,000 หน้านี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้เป็นข้อมูลทางวิชาการที่ทรงพลังถึงขนาดสามารถโน้มน้าวให้เกิดการตัดสินใจเชิงนโยบายสำคัญจากบรรดาผู้นำนานาประเทศ มีกำหนดจะเผยแพร่อย่างเป็นทางการในเดือน ก.พ. ปี ค.ศ. 2022 นี้ ล่าช้ากว่ากำหนดการประชุมสุดยอดของสหประชาชาติว่าด้วยภูมิอากาศ ความหลากหลายทางชีวภาพ และระบบอาหาร ซึ่งจะมีขึ้นในสหราชอาณาจักรปลายปีนี้อย่างน่าเสียดาย น่าเสียดายเพราะว่า ในร่างรายงานใหม่นี้แสดงหลักฐาน และความเชื่อมโยงที่ชี้ให้เห็นข้อเท็จจริงสำคัญที่แตกต่างออกไปจากรายงานฉบับก่อนอยู่หลายประการ ที่สำคัญที่สุดคือ การให้หลักฐานและข้อเท็จจริงใหม่ที่แสดงให้เห็นว่า ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศนั้น ไม่ได้จำกัดว่าต้องเกิดขึ้นเมื่อโลกร้อนขึ้น 2 องศาเซลเซียสหรือ 4 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับระดับก่อนหน้ายุคอุตสาหกรรมแต่อย่างใด แค่ร้อนขึ้น 1 องศาเซลเซียส ผลกระทบก็เกิดขึ้นแล้ว และจะยิ่งหนักหนาสาหัสมากขึ้นตามระดับการเพิ่มของอุณหภูมิ กับการเตรียมการเพื่อรองรับและบรรเทาผลกระทบ แบบจำลองใหม่ของไอพีซีซี แสดงให้เห็นว่า ผลกระทบจากภาวะโลกร้อนเกิดขึ้นมาแล้ว และยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นตามลำดับในตอนนี้ และจะหนักหนาสาหัสกว่าที่คิดไว้ เมื่อถึงครึ่งศตวรรษนี้ คือในปี ค.ศ. 2050 ไม่ใช่เริ่มได้เห็นผลกระทบกันในปี ค.ศ. 2100 อย่างที่คิดกันไว้ในตอนแรกแต่อย่างใด สถานการณ์ในปี ค.ศ. 2050 จะเลวร้ายมากเพียงใด ขึ้นอยู่กับเราร่วมมือร่วมใจกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ชะลอภาวะโลกร้อนได้มากเท่าใด แต่แม้จะรักษาระดับให้สูงขึ้นไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส ผลลัพธ์ที่ได้ในปี ค.ศ. 2050 ก็สาหัสสากรรจ์มากและหลีกเลี่ยงไม่ได้แล้ว องค์การอุตุนิยมวิทยาโลกคาดการณ์ไว้เมื่อเดือนพ.ค. ที่ผ่านมาว่า โลกจะเข้าสู่ระดับอุณหภูมิที่สูงกว่าระดับก่อนหน้าการปฏิวัติอุตสาหกรรม 1.5 องศาเซลเซียสภายในปี ค.ศ. 2026 นี้นี่เอง ไอพีซีซีประเมินว่า ภายในไม่ถึง 30 ปีนับจากนี้ โลกจะเผชิญกับสถานการณ์การสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตหลายสปีชีส์ เกิดโรคระบาดแพร่หลายกว้างขวางมากขึ้น เผชิญกับอุณหภูมิร้อนแรงเหลือเชื่อ ระบบนิเวศล่มสลาย เมืองใหญ่ริมชายฝั่งต้องรับมือกับระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นมาก สภาพภูมิอากาศสุดโต่ง ไม่เพียงทำลายชีวิตอย่างเฉียบพลัน ยังก่อให้เกิดปัญหาเรื้อรังขึ้นในสังคมโลก ผู้คนต้องอพยพ ผลผลิตอาหารเสียหายซ้ำซาก เกิดทุพโภชนาการ และโรคระบาดร้ายแรงตามมา สรุปคือ ไอพีซีซีประเมินว่า ผลกระทบรุนแรงจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศจะเกิดเร็วขึ้น และรุนแรงมากขึ้นกว่าที่คิดกันไว้ในตอนแรกนั่นเอง ความอดอยาก แล้งเข็ญ แล โรคระบาด คือ สิ่งที่ไอพีซีซีเชื่อว่า ผู้คนบนโลกหลายร้อยล้านคนจะเผชิญภายในอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้านี้ โดยเฉพาะกลุ่มคนยากจนในประเทศกำลังพัฒนา ที่มีส่วนน้อยมากในการสร้างสรรค์ความเดือดร้อนให้กับโลก ภายใน 30 ปีข้างหน้าหรือเร็วกว่านั้น ภาวะโลกร้อนจะส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรเสียหายซ้ำซาก พืชอาหารที่ได้มีสารอาหารที่จำเป็นน้อยลง ในขณะที่การขาดแคลนทำให้ราคาถีบตัวสูงขึ้นไอพีซีซีทำนายว่า ผู้คนบนโลกที่มีส่วนหนึ่งตกอยู่ในภาวะอดอยากอยู่แล้วในเวลานี้ จะอดอยากหิวโหยมากขึ้นอีกถึง 80 ล้านคนในปี ค.ศ. 2050 วัฏจักรฝนฟ้าที่แปรปรวน ส่งผลให้ผลผลิตพืชอาหารทั่วทั้งทวีปแอฟริกาที่เพาะปลูกโดยอาศัยน้ำจากฟ้าลดปริมาณลง พื้นที่ทำนาในประเทศอินเดียที่ใช้ทำนากันอยู่ในเวลานี้ จะกลายเป็นพื้นที่ซึ่งไม่เหมาะกับการทำนาไปถึงร้อยละ 40 ผลผลิตข้าวโพดของโลกซึ่งลดลงไปถึงร้อยละ 4  แล้วในเวลานี้เมื่อเทียบกับเมื่อปี ค.ศ. 1981 มีแนวโน้มลดลงไปอีก ผลผลิตข้าวฟ่าง (sorghum) และ มิลเลท (millet ข้าวฟ่างพันธุ์เม็ดเล็ก) ในพื้นที่แอฟริกาตะวันตกจะลดลงร้อยละ 15 และ 20 ตามลำดับ การสูญเสียแปลงเพาะปลูกพืชอาหารแบบเฉียบพลัน จากน้ำท่วมหรือความแห้งแล้ง เกิดถี่ขึ้นต่อเนื่องในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา และจะทวีขึ้นเรื่อย ๆ โลกร้อนทำให้ได้ผลผลิตพืชอาหารน้อยลง ในเวลาเดียวกันก็ทำให้ผลผลิตที่ได้มีสารอาหารที่จำเป็น มีคุณค่าทางโภชนาการลดน้อยลงตามไปด้วย พืชโปรตีนอย่างข้าว ข้าวสาลี บาร์เลย์ และมันฝรั่ง สารอาหารจะลดลงระหว่างร้อยละ 4-6 ทำให้คนอีกราว 150 ล้านคนเสี่ยงต่อการเกิดภาวะขาดโปรตีน ในขณะที่ราคาธัญพืชจะถีบตัวสูงขึ้นราว 1 ใน 3 ในปี ค.ศ. 2050 ส่งผลให้มีผู้ที่ตกอยู่ใกล้ภาวะอดอยากเรื้อรังเพิ่มขึ้นอีก 183 ล้านคน เด็กที่ตกอยู่ในสภาพทุพโภชนาการในทวีปเอเชียและแอฟริกาจะเพิ่มขึ้นอีก 10 ล้านคน ร้อยละ 80 ของคนที่เสี่ยงต่อการเผชิญภาวะอดอยากหิวโหยเหล่านี้ อยู่ในแอฟริกาและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พื้นที่ที่เคยเป็นแหล่งอาหารของโลก แต่ถูกดิสรัปต์อย่างรุนแรงเพราะการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลกนั่นเอง ไม่เพียงจะเกิดวิกฤตอาหารโลกขึ้นเท่านั้น การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่เกิดขึ้นมาแล้วจะส่งผลให้เกิดวิกฤตน้ำขึ้นอีกด้วย ผู้คนเป็นเรือนล้านที่เคยเข้าถึงน้ำที่สะอาดปลอดภัยจะเปลี่ยนไปอยู่ในสภาพผันผวน ไม่แน่นอน เพราะภาวะโลกร้อน ทีมวิจัยของไอพีซีซีพบว่า ประชากรราวครึ่งหนึ่งของโลกในเวลานี้ตกอยู่ในสภาวะไม่มีความมั่นคงของน้ำซึ่งจะยิ่งเลวร้ายมากขึ้นไปอีกจากภาวะโลกที่ร้อนขึ้นทุกขณะ ผลคือ ภายในปี ค.ศ. 2050 ระหว่าง 30 ล้านคนถึง 140 ล้านคน ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แอฟริกา และละตินอเมริกา จะกลายเป็นผู้พลัดถิ่นภายในประเทศเพื่อแสวงหาแหล่งน้ำ แหล่งทำเกษตรกรรมใหม่ และเพราะพื้นที่อยู่อาศัยแต่เดิมถูกน้ำท่วมเมื่อระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น แหล่งน้ำใต้ดิน ซึ่งผู้คนราว 2,500 ล้านคนพึ่งพาใช้อุปโภคบริโภคอยู่ในเวลานี้ จะผันผวนอย่างหนักในปี ค.ศ. 2050 ในขณะที่ธารหิมะ ธารน้ำแข็งบนยอดเขาสูงซึ่งละลายหายไปเรื่อย ๆ จะส่งผลกระทบต่อวัฏจักรน้ำอย่างรุนแรง ส่งผลให้เกิดภาวะตึงเครียดขึ้นกับคนอีกราว 2,000 ล้านคนหรือไม่ก็ทำให้ความตึงเครียดที่เกิดจากการแย่งแหล่งน้ำกันแต่เดิม ทวีความรุนแรงมากขึ้น เมื่อถึงปี ค.ศ. 2050 วิกฤตน้ำจะทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมของโลก หายไปถึงร้อยละ 0.50 เมื่อขาดน้ำ ขาดอาหาร โรคร้ายและการเจ็บไข้ได้ป่วย ก็จะเกิดขึ้นตามมา ในรายงานชิ้นนี้ ไอพีซีซีแสดงให้เห็นว่า ภาวะโลกร้อนทำให้พื้นที่ที่เหมาะสมกับความเป็นอยู่ของยุงและสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคอื่น ๆ ขยายวงเพิ่มมากขึ้น เมื่อถึงกลางศตวรรษนี้ ประชากรราวครึ่งหนึ่งของโลก จะเผชิญกับโรคติดต่อที่ผ่านสัตว์พาหะเหล่านี้ อย่างเช่น ไข้เด็งกี ไข้เหลือง และไข้ซิกา เช่นเดียวกับโรคมาลาเรีย และโรคไลม์ อัตราการเสียชีวิตของเด็ก ๆ จากอาการท้องร่วงจากโรคอหิวาต์ จะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องไม่หยุดจนกว่าจะถึงปี ค.ศ. 2050 ความร้อนกับคุณภาพอากาศที่ย่ำแย่ รวมไปถึงปัญหาของชั้นโอโซน จะส่งผลให้โรคที่ไม่ติดต่อ อย่างเช่น โรคปอดและโรคหัวใจเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเช่นเดียวกันกับความเสี่ยงต่อโรคที่เกิดจาก อาหารและน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรคในน้ำหรือไม่สะอาดเพียงพอ สุดท้ายก็คือ ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอุบัติใหม่ที่จะกลายเป็นโรคระบาดใหญ่ (pandemic) ของโลกก็จะเพิ่มสูงขึ้น กดดันต่อแนวหน้าของระบบสาธารณสุขเพิ่มมากขึ้นมหาศาล และในช่วงระยะเวลาที่ยาวนานมากขึ้นมหาศาลอีกด้วยโควิด-19 คืออุทธาหรณ์ที่ดีที่สุดในกรณีนี้

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content