26 กรกฎาคม 2564 ถอดบทเรียน ญี่ปุ่นทำได้จริง “ป่าหมุนเวียน” สมดุล “เศรษฐกิจ-อนุรักษ์”

ที่มา : https://www.naewna.com/local/590284

ผศ.ดร.ชนินทร เพ็ญสูตร อาจารย์สำนักวิชาการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวในการบรรยายเรื่อง “Policy and Innovation in Chiang Mai” ในเวทีประกวดนโยบายและนวัตกรรมทางสังคมของคนรุ่นใหม่เพื่อแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ PM2.5 เมื่อเร็วๆ นี้ ว่าที่เมืองชิโมคาวะ (Shimokawa) จังหวัดฮอกไกโด ประเทศญี่ปุ่น ที่นี่ประชากรประมาณ 3,000 คน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพที่เกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรป่าไม้ เนื่องจากพื้นที่กว่าร้อยละ 90 เป็นป่า

ซึ่งพื้นที่ป่าอยู่ในความรับผิดชอบหรือเป็นเจ้าของ แบ่งเป็น 3 ส่วนคือ รัฐบาลกลาง เอกชน และรัฐบาลท้องถิ่น โดยรัฐบาลท้องถิ่นนำเงินที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลกลางมาซื้อพื้นที่ป่าเพิ่ม และเพื่อแก้ปัญหาคนย้ายออกจากเมืองโดยเฉพาะประชากรวัยหนุ่ม-สาวที่มักออกไปหางานทำที่อื่น จึงมีการสอดแทรกเรื่องกิจการป่าไม้ลงในหลักสูตรการศึกษา ซึ่งรวมถึง “คาร์บอนเครดิต (Carbon Credit)” กติกาสากลว่าด้วยใครที่ไม่สามารถลดการปล่อยคาร์บอนได้ ให้นำเงินไปจ่ายให้กับผู้ที่สามารถเพิ่มคาร์บอนได้ หรือก็คือผู้ที่ส่งเสริมการปลูกป่านั่นเอง

“เมืองนี้เป็นขั้นท็อปของ SDGs (เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน) ผู้นำญี่ปุ่น ผู้นำต่างประเทศ ไปมอบรางวัลและดูงาน ชอบในประเด็นป่าไม้มาก ป่าไม้ของเขาอย่างที่บอกรัฐบาลท้องถิ่นซื้อที่ดินเก็บไว้ กระบวนการตัดป่าใช้ระบบหมุนเวียน คือพื้นที่ที่ซื้อให้ลองนึกสภาพเหมือนพื้นที่วงกลม อย่างญี่ปุ่นเวลาจะอธิบายเขาเรียกเป็นเฮกตาร์ ซึ่งจะต่างจากไร่ ต้องมีการคูณอีกรูปแบบหนึ่ง

นึกถึงพื้นที่ที่เป็นวงกลม เราก็ตัดอีกเป็นชิ้นๆ (cut piece by piece) ทีพอซื้อที่เราจะปลูกต้นไม้ แล้วพอถึงเวลาได้ที่ เขาไม่ตัดทั้งหมด เขาตัดทีละขยัก นึกถึงเข็มนาฬิกา พอพื้นที่นี้ตัดปีหน้าก็จะปลูก แล้วอีกปีก็มาตัดพื้นที่ที่สองวนเป็นเข็มนาฬิกา พอตัดจนหมดที่ปลูกอันแรกจะโตเต็มวัยพอดี เขาเลยบอกป่าหมุนเวียน เราไม่เสียเลยเพราะเขาตัดทีละ Zone (เขต) สมมุติแบ่งเป็น 60 ตัดทีละ 5 สินค้าส่งออกเขาคือไม้คุณภาพชั้นสูง คือทั้งเมืองก็จะทำ โรงเรียนก็จะมีไม้จากผลิตภัณฑ์เมืองเอง” ผศ.ดร.ชนินทร กล่าว

ผศ.ดร.ชนินทร กล่าวต่อไปว่า กรณีของเมืองชิโมคาวะ ถือว่ามีความเป็นนวัตกรรมเพราะกระบวนการผลิตนั้นมีของเหลือทิ้งน้อยมาก เช่น เศษไม้เหลือก็นำไปทำถ่าน หากเป็นเศษชิ้นเล็กๆ ก็รวบรวมนำไปทำที่นอนสัตว์ในช่วงฤดูหนาว ส่วนใบไม้จากต้นสนที่ปลูกไว้ก็นำไปทำน้ำมันหอมระเหยจึงสรุปได้ว่า นวัตกรรมจะสร้างได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับผู้นำของเมืองและประชาชนชาวเมือง

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content