25 มกราคม 2566 นักวิจัยพบ ‘แบคทีเรีย’ ช่วยย่อยขยะพลาสติกในทะเล เปลี่ยนเป็นสารชีวภาพที่ปลอดภัย

ที่มา : https://www.dailynews.co.th/news/1925653/

ในแต่ละปีมีขยะพลาสติกที่โดนทิ้งลงสู่มหาสมุทรอย่างน้อย 14 ล้านตัน แต่มีการตรวจพบพลาสติกจากการเก็บตัวอย่างเพียง 1 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ก่อให้เกิดข้อสงสัยว่าขยะพลาสติกในทะเลหายไปไหนบ้าง 

  เมื่อเร็ว ๆ นี้ มีผลการศึกษาจากสถาบันวิจัยทางทะเล โดยสถาบันรอแยลเนเธอร์แลนด์ (NIOZ) ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Marine Pollution Bulletin ระบุว่า สามารถพิสูจน์ได้ว่า แบคทีเรียที่มีอยู่ทั่วไปในท้องทะเลชื่อว่า Rhodococcus ruber เป็นตัวย่อยขยะพลาสติก เปลี่ยนให้เป็นคาร์บอนไดออกไซด์และสารประกอบอื่น ๆ ที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต Maaike Goudriaan นักศึกษาปริญญาเอกของ NIOZ ชี้ว่า กรณีศึกษานี้ นับเป็นครั้งแรกที่มีการพิสูจน์ได้ว่า แบคทีเรียนี้สามารถย่อยพลาสติกได้จริง อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่หนทางแก้ปัญหาขยะพลาสติกที่มีอยู่เกลื่อนมหาสมุทร แต่เป็นเพียงหนึ่งในคำตอบต่อคำถามที่ว่า “พลาสติกหายไปไหนบ้าง” เมื่อมันลงไปอยู่ในมหาสมุทร

  นอกจากนี้ยังพบในระหว่างการทดลองว่า แสงอาทิตย์มีส่วนช่วยอย่างมากในการกำจัดขยะพลาสติก เนื่องจากแสงแดดช่วยย่อยสลายพลาสติกให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย หรือที่เรียกว่าไมโคร
พลาสติก ซึ่งทำให้แบคทีเรียย่อยพลาสติกเหล่านี้ได้ง่ายขึ้น

  แม้ว่าการค้นพบครั้งนี้ จะทำให้มีความหวังและช่องทางใหม่ที่นำไปสู่การกำจัดขยะพลาสติกในทะเล แต่หนทางที่ดีกว่าการ “ทำความสะอาดทะเล” ด้วยแบคทีเรีย ก็คือการป้องกัน
การทิ้งขยะลงทะเล ซึ่งมีเพียงมนุษย์เท่านั้นที่จะทำได้

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content