23 ธันวาคม 2562 อุโมงค์ผันน้ำพระราชา ศาสตร์แก้ปัญหาแล้งซ้ำซาก

ที่มา: https://www.thairath.co.th/news/local/1731876

อุโมงค์ผันน้ำลำพะยังภูมิพัฒน์ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ต. สงเปลือย อ. เขาวง จ. กาฬสินธุ์ ที่ดำเนินการแล้วเสร็จมาตั้งแต่ปี 2549 เป็นอีก “ศาสตร์พระราชา” ที่กรมชลประทานได้สืบสาน ต่อยอด และขยายผลใช้แก้ปัญหาขาดแคลนน้ำในพื้นที่ต่างๆ “โครงการอุโมงค์ผันน้ำลำพะยังภูมิพัฒน์ เป็นศาสตร์การบริหารจัดการน้ำจากพื้นที่น้ำมากไปยังพื้นที่ขาดน้ำ ด้วยการผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่ อ. ดงหลวง จ. มุกดาหาร ซึ่งมีปริมาณน้ำมาก มายังอ่างเก็บน้ำลำพะยังฯตอนบน ซึ่งมีน้ำน้อย สามารถสร้างประโยชน์กับพื้นที่กว่า 12,000 ไร่ และทำให้ชาวนาได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น 2-3 เท่าตัว” ดร.ทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า ผลจากความสำเร็จนี้ กรมชลประทานได้นำมาต่อยอดขยายผลเป็น “โครงการเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา” แก้ปัญหาในพื้นที่ จ. เชียงใหม่ และใกล้เคียง ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินงานก่อสร้าง ด้วยการเจาะอุโมงค์ส่งน้ำจากลำน้ำแม่แตง ที่มีมากเกินความต้องการในช่วงฤดูฝนประมาณปีละ 113 ล้าน ลบ.ม. ไปยังอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล และผันน้ำส่วนเกินของอ่างแม่งัดสมบูรณ์ชลปีละ 47 ล้าน ลบ.ม. ส่งต่อไปยังอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา รวมปริมาณน้ำที่ผันไปปีละ 160 ล้าน ลบ.ม. “จะสามารถเพิ่มปริมาณน้ำใช้ในการเกษตร อุปโภคบริโภค อุตสาหกรรม และรักษาระบบนิเวศ ช่วยเพิ่มเสถียรภาพการส่งน้ำของพื้นที่ชลประทานจำนวน 175,000 ไร่ และช่วยสนับสนุนน้ำเพื่อการท่องเที่ยว และภาคอุตสาหกรรม ในเชียงใหม่และลำพูน” ลุ่มน้ำเจ้าพระยา เป็นอีกลุ่มน้ำที่กรมชลประทานมีแผนที่จะนำศาสตร์พระราชามาดำเนิน “โครงการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้เขื่อนภูมิพล” เพื่อแก้ไขและบรรเทาปัญหาขาดแคลนน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โดยการผันน้ำจากแม่น้ำยวม จ. แม่ฮ่องสอน ที่มีน้ำส่วนเกินอยู่ประมาณปีละ 1,800 ล้าน ลบ.ม. มาเก็บไว้ที่เขื่อนภูมิพล โดยการสร้างอุโมงค์ผันน้ำความยาวประมาณ 60-68 กม. มาลงแม่น้ำปิงบริเวณบ้านแม่งูด อ. ฮอด จ. เชียงใหม่ ก่อนจะไหลลงสู่เขื่อนภูมิพล “โครงการนี้จะสร้างความมั่นคงเรื่องน้ำให้กับลุ่มเจ้าพระยา ทำให้สามารถเปิดพื้นที่นาในเขตลุ่มเจ้าพระยาได้อีก 1.6 ล้านไร่ สนับสนุนน้ำในฤดูแล้งได้เพิ่มขึ้น 160,000 ไร่ และช่วยเพิ่มกำลังผลิตกระแสไฟฟ้าให้โรงไฟฟ้าท้ายเขื่อนภูมิพล ได้ประมาณ 417 ล้านหน่วยต่อปี” อีกโครงการ ผันน้ำจากเขื่อนศรีนครินทร์ บรรเทาปัญหาแล้งพื้นที่ 5 อำเภอ จ. กาญจนบุรี ที่ได้ถูกขนานนามว่า “อีสานแห่งกาญจนบุรี” หากโครงการนี้สำเร็จ แดนถิ่นนี้อาจได้ชื่อใหม่ อีสานกาญจนบุรีเขียวได้ด้วยศาสตร์พระราชา.

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content