21 เมษายน 2564 ค้นพบสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมโบราณสายพันธุ์ใหม่ ๒ ชนิด

ที่มา:

https://www.thairath.co.th/news/foreign/2073215

มีสมมติฐานมากมายเกี่ยวกับสาเหตุที่สัตว์ขุดดินและลงไปอาศัยอยู่ใต้ดิน เช่น ป้องกันสัตว์นักล่าอื่นๆ และเพื่อรักษาอุณหภูมิให้คงที่ ล่าสุด นักบรรพชีวินวิทยาจากพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติอเมริกาเผยว่า ซากดึกดำบรรพ์หรือฟอสซิลสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 2 ชนิดที่พบในพื้นที่ระบบนิเวศ เจโฮ ไบโอตา (Jehol Biota) ดินแดนทางตอนเหนือของมณฑลเหอเป่ย และภาคตะวันตกของมณฑลเหลียวหนิง ประเทศจีน และทางตะวันออกเฉียงใต้ของเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน อาจให้คำตอบถึงการพัฒนาเป็นนักขุดดินของสัตว์กลุ่มนี้ นักบรรพชีวินวิทยาพบซากฟอสซิลของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมดังกล่าว เป็นสายพันธุ์โบราณที่พบใหม่ พวกมันเคยอาศัยอยู่เมื่อราว ๑๒๐ ล้านปีก่อนในพื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศจีน ชนิดแรกคือ Tritylodontid Fossiomanus Sinensis ส่วนชนิดที่ ๒ มีชื่อว่า Eutriconodontan Jueconodon Cheni ทั้งนี้ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ๒ ชนิดนี้ปรับตัวให้เข้ากับการขุดโพรงจนมีลักษณะเฉพาะสำหรับการขุด ได้แก่ แขนขาสั้นขึ้น ขาหน้าที่แข็งแกร่งมาพร้อมกับมือและกรงเล็บที่แข็งแรง หางสั้น ทั้งนี้ นักวิจัยระบุว่า นี่เป็นหลักฐานแรกของสัตว์นักขุดโพรงสมัยโบราณ ๒ ชนิดใหม่ที่พบในเจโฮ ไบโอตา ซึ่งเมื่อครั้งดึกดำบรรพ์นั้นเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตที่หลากหลายตั้งแต่ไดโนเสาร์ไปจนถึงแมลงและพืช

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content