19 ตุลาคม 2564 เปิดภารกิจสำรวจ-ซ่อมแซมโพรงรังนกเงือก

ที่มา:

https://www.nationtv.tv/news/378847136

สถานีวิจัยสัตว์ป่าป่าพรุ ป่าฮาลา-บาลา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ให้ข้อมูลว่า นกเงือกไม่สามารถเจาะโพรงรังเองได้ นกเงือกจึงอาศัยโพรงที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ปัจจัยจำกัดในการเพิ่มประชากรนกเงือก จึงมีสาเหตุหลักมาจากการขาดแคลนโพรงรังที่เหมาะสมต่อการใช้งาน โพรงรังที่มีขนาดเหมาะกับนกเงือกก็พอมี แต่ก็ไม่เพียงพอกับประชากรนกเงือกที่มีในพื้นที่นี้ ลักษณะของโพรงรังที่เหมาะสมกับนกเงือกจะต้องมีทางเข้า-ออกเป็นรูปรี ปากโพรงสูง และกว้างเพียงพอที่นกเงือกตัวเมียจะสอดตัวเข้าไปได้ นกเงือกขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ต้องการโพรงรังที่มีความกว้างของปากโพรงประมาณ 10-15 ซม. สูง 20-30 ซม. ภายในโพรงควรมีเพดานสูงมากกว่า 1 ม. เพื่อการไหลเวียนของอากาศภายในโพรง พื้นโพรงไม่ลึกจากขอบโพรงด้านล่างมาก  ขนาดไม่ลึกกว่า 15-20 ซม. รัศมีภายในโพรงพอสำหรับแม่และลูกนกเงือก  กว้างหรือยาวประมาณ 40-50 ซม. โพรงธรรมชาติที่มีลักษณะแบบนี้เกิดขึ้นไม่ง่ายเลย ยากที่ธรรมชาติจะสร้างโพรงรังที่พอเหมาะได้อย่างทั่วถึง แม้แต่ป่าที่มีความชื้นและฝนมากอย่างป่าบูโด หรือป่าบาลาก็ยังไม่เพียงพอ จากข้อจำกัดดังกล่าวในเรื่องลักษณะโพรงรัง และโพรงรังมีความทรุดโทรมลงตามกาลเวลา จึงเป็นปัจจัยจำกัดของนกเงือก ทำให้เป็นอุปสรรคในการทำรังวางไข่ จึงต้องมีการซ่อมแซมโพรงรังให้แก่นกเงือก 
ในระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา (ปี พ.ศ. 2561-2563)  สถานีวิจัยสัตว์ป่าป่าพรุ-ป่าฮาลาบาลา ซ่อมแซมโพรงรังในพื้นที่ป่าบาลาแล้ว 12 โพรง มีนกเงือกเข้าใช้หลังซ่อมแซม 4 โพรง ในจำนวนนี้ 2 โพรง  เป็นโพรงของนกเงือกหัวแรด ที่นกตัวเมียออกจากรังในระหว่างฤดูทำรัง หลังจากที่เห็นว่านกเงือกตัวเมียออกจากโพรงกลางคันปีนต้นไม้ไปสำรวจพบว่า พื้นโพรงทรุดลงไปมาก จึงถมดินให้พื้นโพรงเสมอปากโพรง และขยายช่องภายในโพรงรังให้กว้างขึ้น และเมื่อฤดูกาลทำรังในปีถัดมา นกเงือกหัวแรดคู่เดิมทั้ง 2 โพรงรังก็เข้ามาใช้ตามเดิม ในปี พ.ศ. 2561 เราพบโพรงรังเก่าที่ไม่มีนกเข้าไปใช้ประโยชน์ เมื่อประเมินแล้วคาดว่า หากซ่อมอาจจะเพิ่มโอกาสที่นกเงือกจะเลือกใช้ เพราะโพรงรังยังสภาพดีอยู่ จึงซ่อมแซมในฤดูกาลที่นกยังรวมฝูงอยู่ก่อนจับคู่ในเดือน ต.ค. หลังจากนั้นในฤดูสืบพันธุ์เดือน เม.ย. 2562 พบว่า นกเงือกปากดำเข้ามาใช้โพรงรังดังกล่าว โพรงหนึ่งเป็นโพรงเก่าของนกชนหิน สำรวจพบในปี พ.ศ. 2557 โพรงนี้นกชนหินเข้าใช้ปีเดียว แล้วก็ไม่มีนกเงือกเข้าใช้อีกเลยในหลายปีต่อมา ปีที่แล้ว พ.ศ. 2563  เมื่อมีอุปกรณ์การปีนต้นไม้พร้อม จึงปีนขึ้นไปซ่อมโพรงนี้ในเดือน  ม.ค. หลังจากซ่อมเพียง 2 เดือน เดือน มี.ค. 2563 มีนกกกเข้ามาใช้ทำรังในฤดูกาลนั้น ทั้งที่หวังให้นกชนหินเข้า แต่ก็ดีใจมาก ๆ แล้ว ยังไงก็ได้ขอให้มีนกเงือกเข้ามาใช้หลังจากขึ้นไปซ่อม นกเงือกที่ยังไม่มีโพรงรังของตัวเองจะสำรวจหาโพรงรังอยู่เสมอ แล้วรอโอกาสที่โพรงจะมีลักษณะที่เหมาะสมกับการทำรัง เมื่อเห็นว่ามีโพรงที่เหมาะ จึงเข้าใช้ประโยชน์ ส่วนนกเงือกที่มีโพรงรังเป็นของตัวเองอยู่แล้ว ก็จะเฝ้าระวังโพรงของตัวเองและพยายามที่จะไม่ให้ใครมาแย่งไปได้ เมื่อโพรงทรุดโทรมไปก็ยังหวงโพรงและรอโอกาสให้โพรงกลับมาเหมือนเดิม การซ่อมแซมโพรงรังจึงช่วยให้นกเงือกมีโพรง และเพิ่มโอกาสในการเพิ่มประชากรเท่าที่จะเป็นไปได้

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content