“ไลเคน” นักทำนายมลพิษ


ไลเคนบนเปลือกไม้
ไลเคนบนเปลือกไม้
ที่มาภาพ : https://today.line.me

จากรายงานสถานการณ์สิ่งแวดล้อมปี 2564 ค่าเฉลี่ยฝุ่นละออง PM2.5 รายปี 2563 ทั้งประเทศส่วนใหญ่มีค่าลดลง แต่ในบางพื้นที่โดยเฉพาะกรุงเทพมหานครและปริมณฑลยังมีค่าเกินมาตรฐาน โดยค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงสูงสุดอยู่ในช่วง 63 – 131 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (ค่ามาตรฐานเท่ากับ 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) ซึ่งสาเหตุหลักมาจากการจราจรที่หนาแน่น และโรงงานอุตสาหกรรม อย่างที่ทราบกันดีว่าฝุ่นละออง PM2.5 ที่เกินค่ามาตรฐาน ส่งผลต่อสุขภาพประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง จากฐานข้อมูลโรคที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศ คลังข้อมูลสุขภาพ (Health Data Center) กระทรวงสาธารณสุข ปี 2563 มีจำนวนผู้ป่วยสะสมด้วยโรคที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศจำนวน 6.8 ล้านราย ซึ่งเป็นผู้ป่วยในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลมากถึง 8 แสนราย

นอกจากมาตรการภาครัฐที่มีการติดตาม ตรวจสอบ เฝ้าระวัง และเตือนภัย คุณภาพอากาศแล้วนั้น เรายังมีวิธีการสังเกตคุณภาพอากาศบริเวณที่เราอยู่อาศัยง่าย ๆ และแทบไม่เสียค่าใช้จ่ายจากสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า “ไลเคน” อีกด้วย

ไลเคน คือ อะไร?
ไลเคน (Lichen) มีลักษณะเป็นรอยคราบบนเปลือกไม้ จัดเป็นสิ่งมีชีวิตโบราณที่ถือกำเนิดขึ้นมาก่อนพืชชั้นสูงหรือพืชดอก เกิดจากการรวมตัวของ “รา (Fungi)” ผู้ย่อยสลาย และ “สาหร่าย (Algae)” ผู้ผลิต อยู่ร่วมกันแบบเอื้อประโยชน์ต่อกันทั้งสองฝ่าย (Mutualism) สาหร่ายจะสังเคราะห์แสง สร้างอาหารให้รา และราเป็นผู้สร้างบ้าน และปกป้องสาหร่ายจากแสง UV ที่มากเกินไป ซึมซับความชื้น และช่วยพาไปเกาะยังพื้นที่ต่าง ๆ สาหร่ายในธรรมชาติมีประมาณ 16 – 18 ชนิดเท่านั้นที่สามารถอยู่ร่วมกับราได้ ความหลากหลายของไลเคนนั้นมาจากรา เนื่องจากรามีจำนวนชนิดมากกว่าสาหร่าย และสิ่งที่เป็นตัวทำลายไลเคนก็คือมลภาวะทางอากาศ เนื่องจากไลเคนไม่มีชั้นผิวป้องกันตัวจากมลพิษ มลพิษจึงเข้าไปทำลายสาหร่ายได้โดยตรง และตายลงในที่สุด ไลเคนจึงสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการตรวจสอบคุณภาพอากาศได้ เพราะไลเคนไม่สามารถเจริญเติบโตในที่ที่มีมลพิษสูง ยืนยันได้จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Ecological Indicators ในปี 2018 นักวิจัยทำการศึกษาความหลากหลายของไลเคนในเขตเมืองของประเทศชิลี และพบว่าความหลากหลายของไลเคนจะลดลงในเขตที่มีมลพิษสูง

ไลเคนบนก้อนหิน
ไลเคนบนก้อนหิน
ที่มาภาพ : https://www.allforgardening.com

จะสังเกตเห็นไลเคนได้อย่างไร ?
จุดสังเกตของไลเคนจะเห็นเป็นปื้นสีขาวเขียว หรือเหลือง หากใช้น้ำพรมหรือเล็บขูดจะเห็นเป็นสีเขียวชัดเจน ไลเคนมักยึดติดอยู่ตามเปลือกของต้นไม้ หรืออาจจะอยู่บนวัสดุแข็งอื่น ๆ ได้ เช่น ก้อนหิน คอนกรีต แผ่นโลหะ

แล้วในเขตเมืองที่เต็มไปด้วยมลภาวะจะพบไลเคนแบบไหนบ้าง ?
จากคู่มือนักสืบสายลมของมูลนิธิโลกสีเขียว ได้แบ่งไลเคนที่ใช้วัดคุณภาพอากาศในกรุงเทพฯ เป็นกลุ่มใหญ่ ๆ 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทนทานมลพิษสูง กลุ่มทนทานมลพิษ และกลุ่มอากาศดี ยิ่งอากาศมีมลพิษน้อยมากเท่าไร ไลเคนในบริเวณนั้นก็จะมีลักษณะภายนอกที่ละเอียดอ่อนมากเท่านั้น

ตัวอย่างไลเคนกลุ่มทนทานมลพิษสูง
ตัวอย่างไลเคนกลุ่มทนทานมลพิษสูง
ที่มาภาพ : https://greenworld.or.th
ตัวอย่างไลเคนกลุ่มอากาศดี
ตัวอย่างไลเคนกลุ่มอากาศดี
ที่มาภาพ : https://greenworld.or.th

ในปัจจุบันเรามีเครื่องมือตรวจวัดคุณภาพอากาศมากมาย แต่ก็มีข้อจำกัดคือสามารถวัดได้เพียงคุณภาพอากาศในขณะที่ทำการวัดค่าเท่านั้น แต่ไลเคนสามารถวัดผลกระทบทางชีวภาพในบริเวณนั้นไปอีกนาน และยังบอกคุณภาพอากาศที่ผ่านมาในบริเวณนั้นได้ด้วย ลองสังเกตต้นไม้ใหญ่รอบ ๆ ที่พักของคุณ คุณอาจจะเจอไลเคนนักทำนายมลพิษซ่อนอยู่ก็เป็นได้

จัดทำบทความโดย นางสาววริษฐา จงวิสุทธิ์ เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน
กลุ่มงานติดตามประเมินสถานการณ์ กองติดตามประเมินผลสิ่งแวดล้อม

อ้างอิง
ชมรมนักนิยมธรรมชาติ (Nature conservacy club). “สำรวจไลเคนเมืองกรุง กับ นักสืบสายลม มหกรรมกรุงเทพเมืองอากาศสะอาด”. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2565 จาก http://www.oknation.net/blog/naturethai/2009/12/09/entry-1/comment

มูลนิธิโลกสีเขียว. “นักสืบสายลม”. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2565 จาก https://greenworld.or.th
มูลนิธิสืบนาคาเสถียร. “ไลเคน”. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2565 จาก https://www.seub.or.th/bloging/knowledge

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “รายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2564”. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2565 จาก https://www.onep.go.th/publication-soe

หน่วยวิจัยไลเคน (Lichen Research Unit) ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
“การดำรงชีวิตของไลเคน”. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2565 จาก http://www.lichen.ru.ac.th/index.php/lichen/survival

The Cloud. “จักรวาลจิ๋ว”. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2565 จาก https://readthecloud.co/microorganisms-benjakitti-park/

Z. Varela, G. López-Sáncheza, M. Yáñeza,…J.R. Aboalb. (2018). Changes in epiphytic lichen diversity are associated with air particulate matter levels: The case study of urban areas in Chile. Ecological Indicators. Volume 91, August 2018, Pages 307-314. Retrieved from https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S1470160X18302760

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content