โครงสร้าง กลไก การจัดการเชิงยุทธศาสตร์ ผลการดำเนินงานของกองทุนสิ่งแวดล้อม

กองทุนสิ่งแวดล้อม จัดตั้งขึ้นในกระทรวงการคลัง ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 และดำเนินงานภายใต้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2535 เพื่อเป็นกลไกทางการเงินสำหรับให้การสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการป้องกันและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ ตามหลักการผู้ก่อให้เกิดมลพิษเป็นผู้จ่าย โดยให้การสนับสนุนเงิน ทั้งในรูปของเงินอุดหนุน และเงินกู้ ในแต่ละปี กองทุนสิ่งแวดล้อม มีรายได้จากดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารดอกเบี้ยเงินกู้ยืม และเงินที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหักส่งคืนกองทุนสิ่งแวดล้อมจากการเก็บค่าบริการหรือค่าปรับที่จัดเก็บได้จากการดําเนินการระบบนํ้าเสียรวม หรือระบบกําจัดของเสียรวมที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้รับการสนับสนุนจากกองทุนสิ่งแวดล้อม รวมถึงงบประมาณแผ่นดินที่ได้รับเป็นครั้งคราว

โครงสร้างการบริหารงานกองทุนสิ่งแวดล้อม การบริหารกองทุนสิ่งแวดล้อม ดําเนินการด้วยความรอบคอบและโปร่งใส ซึ่งตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ได้กำหนดองค์กรและกลไกการบริหารจัดการกองทุนสิ่งแวดล้อม อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการบริหารจํานวน 2 คณะ ดังนี้

1) คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เป็นกรรมการในระดับนโยบายที่มีหน้าที่กำกับการบริหารงานกองทุนสิ่งแวดล้อมของคณะกรรมการกองทุนสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นกรรมการและเลขานุการ คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติมีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาแนวทางการจัดหาแหล่งรายได้จากภาษีค่าธรรมเนียมและมาตรการทางการเงินเข้าสู่กองทุนสิ่งแวดล้อม เพื่อศึกษาแนวทางความเป็นไปได้และข้อกฎหมายในการจัดเก็บภาษีหรือค่าธรรมเนียมและสิ่งแวดล้อมเพื่อเป็นรายได้เข้าสู่กองทุนสิ่งแวดล้อมตามหลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย (Polluter Pays Principle : PPP)

2) คณะกรรมการกองทุนสิ่งแวดล้อม เป็นกรรมการระดับการบริหารและจัดการกองทุนสิ่งแวดล้อม ซึ่งแต่งตั้งขึ้นตามมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เลขาธิการคณะ กรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ อธิบดีกรมการปกครอง อธิบดีกรมบัญชีกลาง อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ อธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิไม่เกินห้าคน ซึ่งคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติแต่งตั้งเป็นกรรมการ และเลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นกรรมการและเลขานุการ
นอกจากนี้ คณะกรรมการกองทุนสิ่งแวดล้อม ยังได้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อทําหน้าที่กลั่นกรองโครงการที่เสนอขอรับการสนับสนุนเงินจากกองทุนสิ่งแวดล้อมรวม 2 คณะ คือ คณะอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการด้านทรัพยากรธรรมชาติ และคณะ อนุกรรมการกลั่นกรองโครงการด้านมลพิษ

  • แผนแม่บทกองทุนสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2560 – 2564
    ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ คือ
    1) การพัฒนาศักยภาพทางการเงินของกองทุนสิ่งแวดล้อม
    2) การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพและมีธรรมาภิบาล
    3) การส่งเสริมเพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามนโยบายและยุทธศาสตร์ของประเทศ
    4) การเตรียมความพร้อมปฏิรูปกองทุนสิ่งแวดล้อมให้มีความเป็นอิสระคล่องตัว
  • การสนับสนุนเงินกองทุนสิ่งแวดล้อม จําแนกตามประเภทโครงการกองทุนสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่ พ.ศ. 2535 ถึง พ.ศ. 2562 (ณ วันที่ 30 กันยายน 2562)ได้ให้การสนับสนุนแก่กลุ่มเป้าหมายไปแล้ว จํานวน 1,667 โครงการ วงเงินรวม 16,026.85 ล้านบาท โดยมีสัดส่วนการให้เงินสนับสนุน ดังนี้
    1) เงินอุดหนุน ระบบบําบัดนํ้าเสีย ระบบกําจัดของเสียรวม 61.89 %
    2) เงินอุดหนุน เพื่อส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม 23.07 %
    3) เงินกู้ภาคเอกชนเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อม 15.04 %
  • โครงการที่กองทุนสิ่งแวดล้อมให้การสนับสนุน ตัวอย่างเช่น
    1) การจัดการขยะ
    -เพิ่มประสิทธิภาพศูนย์ควบคุมคุณภาพมูลฝอย
    -ก่อสร้างระบบกําจัดมูลฝอย
    2) การจัดการมลพิษทางนํ้า
    -ปรับปรุงซ่อมแซมระบบรวบรวมและบําบัดนํ้าเสีย รวมที่ได้รับความเสียหาย
    – ก่อสร้างระบบรวบรวมและบําบัดนํ้าเสีย
    3) การจัดการสิ่งแวดล้อมโดยโครงการภาคเอกชน
    – ก่อสร้างระบบบําบัดนํ้าเสียเพื่อผลิตก๊าซชีวภาพ
    – ออกแบบและก่อสร้างระบบบําบัดนํ้าเสีย
    – ก่อสร้างโรงกรองฝุ่นใหม่
    – จัดการมูลไก่จากฟาร์มไก่ไข่
    – ปรับปรุงระบบบําบัดนํ้าเสียฟาร์มสุกรด้วยระบบบ่อหมักก๊าซชีวภาพ
    4) การจัดการมลพิษทางอากาศและเสียง
    – จัดการคุณภาพอากาศและเสียง
    – จัดตั้งระบบตรวจสอบคุณภาพอากาศและเสียง
    5) การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    – พัฒนาศักยภาพเครือข่ายทรัพยากรลุ่มนํ้าแม่แตงตอนบน
    – ฟื้นฟูระบบนิเวศน์เกษตร และความหลากหลายทางชีวภาพของพันธุ์ข้าวพื้นบ้าน
    – ยกระดับการเรียนรู้สู่การจัดการพื้นที่ชุ่มนํ้าอย่างยั่งยืน
    – สร้างเสริมพลังชุมชนเพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟู
    – ความหลากหลายทางชีวภาพ ในพื้นที่ป่าใหญ่ โคกจิก – ตาลอก
    6) การจัดการขยะชุมชนที่ต้นทาง
    – ชุดที่ 1 (อปท. 531 แห่ง 76 จังหวัด)
    – ชุดที่ 2 (อปท. 64 แห่ง 22 จังหวัด)
    – ชุดที่ 3 (อปท. 645 แห่ง 75 จังหวัด)

แหล่งรายได้ของกองทุนสิ่งแวดล้อม

  • ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์กรระหว่างประเทศ เช่น GIZ และโครงการภายใต้แผนงาน IKI ร่วมกันพัฒนาความร่วมมือในการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

การจัดสรรเงินกองทุน

  • การจัดทำหลักเกณฑ์และวิธีการสนับสนุนโครงการขนาดเล็ก เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าถึงกองทุนสิ่งแวดล้อมได้มากขึ้น ลดระยะเวลาในการจัดทำข้อเสนอโครงการ และระยะเวลาในการพิจารณาโครงการ เพื่อขับเคลื่อนนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนของประเทศ

การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารเงินกองทุนสิ่งแวดล้อม เพื่อให้การดำเนินงานของกองทุนสิ่งแวดล้อมสอดคล้องกับเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ.2561 – 2580) และแผนหรือนโยบายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง รวมถึงกรอบทิศทางการสนับสนุนเงินกองทุนสิ่งแวดล้อมตามมาตรา 23 (4) แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 ซึ่งเป็นการลดขั้นตอน กระบวนการ และระยะเวลาการจัดทำข้อเสนอโครงการ ระยะเวลาการพิจารณาโครงการของ สผ. จึงได้จัดทำหลักเกณฑ์การให้การสนับสนุนเงินอุดหนุนสำหรับโครงการขนาดเล็ก ตามมาตรา 23 (4) แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัญหาพื้นที่ เป้าหมายและศักยภาพของชุมชน และความสามารถของกลุ่มเป้าหมายในการดำเนินกิจกรรมของโครงการ โดยในเบื้องต้น กำหนดประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่จะให้การสนับสนุน 5 ประเด็น ได้แก่ การจัดการขยะในโรงเรียน การจัดการขยะทะเล การจัดการน้ำเสียริมคลอง การจัดการป่าชุมชน และความหลากหลายทางชีวภาพ ทั้งนี้ สผ. จะได้พัฒนาหลักเกณฑ์การให้การสนับสนุนและประชุมหารือร่วมกับกลุ่มเป้าหมายต่อไป

  • การพัฒนากองทุนสิ่งแวดล้อม
    1) ศึกษาความเป็นไปได้ในการปฏิรูปกองทุนสิ่งแวดล้อมตามแผนการปฏิรูปประเทศ
    2) ปรับแก้ไข พรบ.สิ่งแวดล้อม หมวดกองทุน เพิ่มเติมแหล่งรายได้ การจัดสรรเงินให้รวดเร็ว และปรับการบริหารงานให้มีความคล่องตัวมีความสอดคล้องกับแผนปฏิรูปประเทศ ซึ่งขณะนี้ร่างกฎหมายดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content