เส้นทางฟื้นเศรษฐกิจ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

การมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ โดยกำหนดทิศทางและปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ ทั้งการผลิต การใช้ปัจจัยการผลิตด้านแรงงาน ทุน และทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงโครงสร้างตลาด จึงเป็นแนวทางที่จะนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน ควบคู่กับการคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และโอกาสที่จะสร้างความเท่าเทียมในสังคม ตลอดจนเปิดโอกาสในการมีส่วนร่วมในประโยชน์จากการเติบโตของเศรษฐกิจ

กังหันลมและโซล่าเซลล์
ที่มา: https://thestatestimes.com/post/2021032932

ในช่วง 2 – 3 ปี ที่ผ่านมา สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โรคโควิด 19 ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อเศรษฐกิจ สังคมสุขภาพของคน และสิ่งแวดล้อมทั่วทุก
มุมโลก รวมทั้งประเทศไทย ทำให้เกิดภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ สูญเสียขีดความสามารถในการแข่งขันและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว ควบคู่กับวิกฤตด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สภาพภูมิอากาศ ความไม่เท่าเทียมทางสังคม ประชาชนเจ็บป่วยและต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาตนเอง อัตราการว่างงานมากขึ้นและรายได้ลดลง ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดเริ่มคลี่คลาย คำถามที่เกิดขึ้น คือ “เราควรพลิกฟื้นและพัฒนาเศรษฐกิจไปในทิศทางใด ที่จะสร้างความสมดุลของกระบวนการพัฒนา ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม” การมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ โดยกำหนดทิศทางและปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ ทั้งการผลิต การใช้ปัจจัยการผลิตด้านแรงงาน ทุน และทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงโครงสร้างตลาด จึงเป็นแนวทางที่จะนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน ควบคู่กับการคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และโอกาสที่จะสร้างความเท่าเทียมในสังคม ตลอดจนเปิดโอกาสในการมีส่วนร่วมในประโยชน์จากการเติบโตของเศรษฐกิจ ภายหลังการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 แต่ละประเทศต้องเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจพร้อมปกป้องสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปด้วย จึงขอหยิบยก 2 แนวคิดที่สอดคล้องกับเศรษฐกิจสีเขียวที่มีการพูดถึงกันมากขึ้นและนำมาใช้เป็นแนวทางการพลิกฟื้นและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในลักษณะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและเติบโตแบบยั่งยืน คือ

  1.  การฟื้นฟูเศรษฐกิจสีเขียว หรือ “Green Recovery” เป็นแนวทางการพลิกฟื้นและพัฒนาเศรษฐกิจบนหลักการ “ความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” โดยมีหลักสำคัญที่ต้องดำเนินการร่วมกัน คือ การสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจให้กับคนในสังคม การสร้างงานและรายได้ ยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ การเพิ่มภูมิคุ้มกันและลดความเสี่ยงให้กับธุรกิจจากผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งหลายประเทศใช้แนวคิดการฟื้นฟูเศรษฐกิจสีเขียวมาพัฒนาเศรษฐกิจหลังการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 และเริ่มต้นดำเนินการลดก๊าซเรือนกระจกควบคู่ไปด้วยอย่างจริงจัง โดยแนวคิดนี้เป็นกลไกหนึ่งที่จะช่วยป้องกันโรคระบาด หรือโรคอุบัติใหม่ในอนาคตที่มีความเกี่ยวข้องกับสุขภาพของมนุษย์ สร้างความสามารถในการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และเสริมสร้างความแข็งแกร่งและความสามารถในการแข่งขันของภูมิภาคในระยะยาว จึงน่าจะเป็นทางเลือกหนึ่งในการสร้างเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมให้มีความยั่งยืนและเข้มแข็ง เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการวางโครงสร้างการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมใหม่ที่มีภูมิคุ้มกันทางสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน รวมทั้งเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบาย แผน และมาตรการของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน อันนำไปสู่เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่สมดุลและมั่นคง ตลอดจนสามารถหวังผลในระยะยาวได้อย่างยั่งยืนต่อไป
  2.  การกระตุ้นเศรษฐกิจสีเขียว หรือ “Green Stimulus” เป็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจพร้อมกับการปกป้องสิ่งแวดล้อม ไม่เน้นที่ตัวเลขของการเติบโตทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว แต่คำนึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในระยะยาว ลดความเหลื่อมล้ำ แนวโน้มพฤติกรรมของผู้บริโภคและธุรกิจที่เน้นสินค้าและบริการที่สร้างผลกระทบน้อยที่สุด มีทิศทางอุตสาหกรรมมุ่งสู่การใช้พลังงานสะอาดและพลังงานทดแทนมากขึ้น และการเตรียมความพร้อมในการรับมือกับภัยพิบัติจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แนวคิดนี้มีหลักสำคัญ คือ ทำให้เกิดการจ้างงานอย่างรวดเร็ว เกิดการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แก้ปัญหาสภาวะโลกร้อน และเกิดผลด้านบวกต่อระบบนิเวศ หรือลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้านอื่น ๆ

ในบริบทของประเทศไทย พบว่า การพัฒนาเศรษฐกิจช่วงก่อนการแพร่ระบาดของโควิด 19 ให้ความสำคัญกับการปรับเปลี่ยนไปสู่โมเดลการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม หรือ BCG Model ที่มุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจ 3 ด้าน ไปพร้อมกัน คือ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) มุ่งสร้างมูลค่าเพิ่มของทรัพยากรชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) คำนึงถึงการใช้ทรัพยากรให้เกิดความคุ้มค่าหรือยาวนานที่สุด และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) คำนึงถึงความยั่งยืนของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม จึงเป็นโอกาสที่ดีที่ประเทศไทยจะขับเคลื่อนการพัฒนาและฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังวิกฤตโควิด 19 โดยนำหลักการของแนวคิด Green Recovery และ Green Stimulus ที่สอดรับกับแนวคิดของ BCG Model มาเป็นแนวทางในการผลักดันให้เกิดการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศ สร้างความตระหนักรู้และปรับความคิด รวมทั้งเพิ่มศักยภาพของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมทุกขนาด ในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่าตามหลักคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม สำหรับภาคประชาชนควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการบริโภค สนับสนุนสินค้าและบริการที่ผลิตด้วยกระบวนการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น สนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงานและอนุรักษ์พลังงาน ในภาคครัวเรือนสามารถเพิ่มรายได้และสร้างงานใหม่ โดยเพิ่มทักษะใหม่ๆ หรือพัฒนาทักษะให้สอดรับกับความต้องการในตลาดแรงงานที่มีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสมัยใหม่และเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

จัดทำบทความโดย  นางสาวศิริวรรณ  ลาภทับทิมทอง  นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำนาญการ
                         กลุ่มงานติดตามประเมินสถานการณ์  กองติดตามประเมินผลสิ่งแวดล้อม

เอกสารอ้างอิง

ชัยสิทธิ์ อนุชิตวรวงศ์ และอติเดช พงศ์หว่าน. Research Note Green Recovery เส้นทางและโอกาสสู่การเติบโตที่ยั่งยืน. สืบค้นเมื่อวันที่ 1๗ มกราคม 2๕๖๖. จากเว็บไซต์:  https://krungthai.com/Download/economyresources/ EconomyResourcesDownload_ 620Research_Note_10_11_63.pdf.

ประชาชาติธุรกิจ (2๕๖3). ปลุกเศรษฐกิจสีเขียว หนุนการพัฒนาที่ยั่งยืนหลังโควิด-19. สืบค้นเมื่อวันที่ 1๗ มกราคม 2๕๖๖. จากเว็บไซต์:  https://today.line.me/th/v2/article/Pz6my8.

เพชร มโนปวิตร. (2๕๖3). ฟื้นเศรษฐกิจด้วยการปกป้องสิ่งแวดล้อม (Green Stimulus) ทางรอด ของโลกยุคหลัง COVID-19. สืบค้นเมื่อวันที่ 1๗ มกราคม 2๕๖๖. จากเว็บไซต์:https://www.the101.world/green-stimulus/

สุภาสินี ตันติศรีสุข (2๕๕๕). การพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน วารสารเศรษฐศาสตร์สุโขทัยธรรมาธิราช ปีที่ ๖. สืบค้นเมื่อวันที่ 2๕ มกราคม 2๕๖๖. จากเว็บไซต์: https://www.stou.ac.th/schools/sec/ejournal6-2/file/1-2-1.pdf.

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content