สผ. เดินหน้านำคณะผู้แทนไทย และกรรมการมรดกโลก ภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลก เข้าร่วมการประชุมทางไกลแบบเต็มรูปแบบ ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 44

ในการประชุมสมัชชารัฐภาคีแห่งอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 22 ระหว่างวันที่ 27 – 28 พฤศจิกายน 2562 ณ สำนักงานใหญ่องค์การยูเนสโก กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส ราชอาณาจักรไทยได้รับการคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งกรรมการในคณะกรรมการมรดกโลก วาระปี พ.ศ. 2562 – 2566 ซึ่งตามกฎการดำเนินงานของคณะกรรมการมรดกโลก กำหนดให้คณะกรรมการมรดกโลกประชุมสมัยสามัญร่วมกันอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง แต่เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา – 2019 (covid-19) ที่ขยายเป็นวงกว้างจนถึงปัจจุบัน คณะกรรมการมรดกโลกจึงได้เลื่อนการประชุมสมัยสามัญ ครั้งที่ 44 ในปี 2563 มาประชุมในปี 2564 โดยกำหนดให้จัดการประชุมในรูปแบบการประชุมทางไกลแบบเต็มรูปแบบ ในระหว่าง วันที่ 16 – 31 กรกฎาคม 2564 โดยมีนายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม และนายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เข้าร่วมพิธีเปิดการประชุม ในวันที่ 16 กรกฎาคม 2564 ในการนี้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้ นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว อดีตเอกอัคราชทูตไทยประจำกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในคณะกรรมการมรดกโลก ซึ่งคณะผู้แทนไทยที่เข้าร่วมการประชุมประกอบด้วย นายศรัณย์ เจริญสุวรรณ เอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงปารีส และ ดร.รวีวรรณ ภูริเดช เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เป็นรองหัวหน้าคณะผู้แทนไทยพร้อมด้วยผู้เชี่ยวชาญทางด้านมรดกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติพร้อมด้วยผู้แทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้องจากกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ การประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 44 ถือเป็นภารกิจหนึ่งที่สำคัญของราชอาณาจักรไทยในฐานะสมาชิกคณะกรรมการมรดกโลก ในการร่วมพิจารณาและให้ความเห็นต่อวาระการพิจารณาต่าง ๆ เช่น การขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลก การขึ้นหรือถอดแหล่งมรดกโลกในภาวะอันตราย และการถอดแหล่งมรดกโลกออกจากบัญชีรายชื่อ และการพิจารณาแนวทางในการดำเนินงานตามพันธกรณีอนุสัญญาในด้านต่าง ๆ โดย วาระการพิจารณาที่สำคัญของไทย คือ การนำเสนอพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจานเป็นมรดกโลก ซึ่งไทยมีความพยายามในการผลักดันการขึ้นทะเบียนมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เป็นกลไกลหนึ่งในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติของไทยให้คงอยู่สืบไป

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content