พื้นที่ชุ่มน้ำของประเทศไทย

ประเทศไทยมีพื้นที่ชุ่มน้ำกระจายอยู่ทั่วประเทศ รวมพื้นที่ประมาณ 22,885,100 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 7.5 ของพื้นที่ประเทศ โดยประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาแรมซาร์เป็นลำดับที่ 110 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2541  โดยมีพื้นที่ชุ่มน้ำที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นแรมซาร์ไซต์ (Ramsar Site) จำนวน 14 แห่ง  เรียงตามลำดับ ดังนี้

1) พรุควนขี้เสี้ยน ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย จ.พัทลุง
2) เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงโขงหลง จ.หนองคาย
3) ดอนหอยหลอด จ.สมุทรสงคราม
4) ปากแม่น้ำกระบี่ จ.กระบี่
5) เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองบงคาย จ.เชียงราย
6) เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพฯ (พรุโต๊ะแดง) จ.นราธิวาส
7) อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม-หมู่เกาะลิบง-ปากน้ำตรัง จ.ตรัง
8) อุทยานแห่งชาติแหลมสน-ปากแม่น้ำกระบุรี-ปากคลองกะเปอร์ จ.ระนอง
9) อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง จ.สุราษฎร์ธานี
10) อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา จ.พังงา
11) กุดทิง จ.บึงกาฬ
12) อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด จ.ประจวบคีรีขันธ์
13) เกาะกระ จ.นครศรีธรรมราช
14) เกาะระ เกาะพระทอง จ.พังงา
หมายเหตุ มีพื้นที่ที่อยู่ระหว่างการดำเนินงานเสนอเป็นแรมซาร์ไซต์ จำนวน 6 แห่ง

– กฎ ระเบียบที่ใช้ในการบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำโดยตรงของประเทศในปัจจุบัน คือ
1) มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2543 และวันที่ 3 พฤศจิกายน 2552 ซึ่งเห็นชอบทะเบียนรายนามพื้นที่ชุ่มน้ำ แบ่งออกเป็น
   1.1) พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ จำนวน 69 แห่ง
   1.2) พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับชาติ จำนวน 47 แห่ง

2) มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2552 และวันที่ 12 พฤษภาคม 2558 ซึ่งเห็นชอบมาตรการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำ จำนวน 17 ข้อ

– ที่ผ่านมา สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ได้มีการศึกษาทบทวนทะเบียนรายนามพื้นที่ชุ่มน้ำ พร้อมขอบเขต และมาตรการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำ เป็นให้เป็นปัจจุบัน เนื่องจากสถานภาพและการใช้ประโยชน์พื้นที่ชุ่มน้ำแต่ละแห่ง มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ซึ่งจะส่งผลต่อการบังคับใช้กฎระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดย สผ. จะนำผลการศึกษาดังกล่าว มารับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ก่อนเสนอคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาต่อไป นอกจากนี้ ยังมีการพิจารณาให้มีกลไกในการบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำในพื้นที่ โดยมีการจัดตั้งคณะอนุกรรมการการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำจังหวัด เพื่อติดตาม ตรวจสอบ และดำเนินงานในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

กองจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ

(https://colorreflections.com/)

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content