ปลา คน โขง

“ปลายี่สก” หรือ ปลาเอิน ตามภาษาท้องถิ่นภาคอีสาน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Probarbus jullieni เป็นปลาขนาดใหญ่ รูปร่างทรงกระบอก มีแถบสีคล้ำตามแนวยาว 7-8 แถบบนตัว ขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่พบมีความยาว 1 เมตร และมีน้ำหนักถึง 40 กิโลกรัม เคยพบกระจายตั้งแต่ลุ่มแม่น้ำแม่กลอง เจ้าพระยาถึงลุ่มน้ำแม่โขง และแม่น้ำปาหังของมาเลเซีย ปัจจุบันพบแค่ในลุ่มแม่น้ำโขง เนื้อปลายี่สกมีรสชาติที่ดีสามารถนำไปทำอาหารได้หลากหลายรูปแบบ ส่งผลให้ราคาตลาดของเนื้อปลาอยู่ที่กิโลกรัมละ 200-400 บาท เป็นแหล่งรายได้ของชาวประมงริมแม่น้ำโขงมาเนิ่นนาน แต่ใครจะรู้ว่าการประมงที่เกินขนาดและสภาพถิ่นอาศัยที่ถูกเปลี่ยนแปลง มีผลคุกคามทำให้ปลาตัวนี้มีชื่อปรากฎอยู่ในทะเบียนชนิดพันธุ์สัตว์ที่ถูกคุกคามของประเทศไทย สถานภาพใกล้สูญพันธุ์ (Endangered-EN) และขึ้นบัญชี CITES หรืออนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้จะสูญพันธ์ บัญชีที่ 1 ที่ดูแลชนิดพันธุ์ที่ใกล้สูญพันธุ์ ห้ามค้าโดยเด็ดขาด ยกเว้นแต่ได้รับอนุญาตเฉพาะเป็นบางกรณีเท่านั้น โดยคำนึงถึงความอยู่รอดของชนิดพันธุ์นั้นเป็นหลัก

แม่น้ำโขง

แหล่งไหนที่ปลาชอบ คุ้งน้ำ วังน้ำ กระแสน้ำแบบไหน เหมาะสมสำหรับวางไข่ ระดับความลึกที่จะพบปลา การผสมพันธุ์วางไข่ ฟักจากไข่แล้วลูกปลาจะไปอยู่ที่ไหน รวมฝูงเมื่อไร กระจายตัวตอนไหน วัฏจักรวงจรชีวิตปลาเป็นอย่างไร สำหรับพรานปลาเอิน (ยี่สก) ชาวประมงริมน้ำที่จับปลาเป็นอาชีพ ผู้ที่ใช้ชีวิตบนเรือมากกว่าบนบก เป็นเรื่องง่าย ๆ ที่เล่าให้ฟังได้เหมือนเป็นนิทาน การเรียนรู้จากประสบการณ์ที่สั่งสม สั่งสอนกันมารุ่นต่อรุ่น จนนำมาพัฒนาเป็นวิธีการเฉพาะในการล่า ดัก จับ จนสร้างเป็นอาชีพ เมื่อก่อนนั้นข้อมูลพวกนี้ใช้สำหรับการล่า แต่ปัจจุบันถูกนำมาใช้เป็นข้อมูลเพื่ออนุรักษ์ และเพิ่มจำนวนให้มากพอที่จะกลับมาล่าได้อีกครั้ง

แม่น้ำโขงทุกวันนี้ ไม่เหมือนเดิม ปลายี่สกที่เคยเป็นแหล่งรายได้หล่อเลี้ยงชีวิตน้อยใหญ่ของชุมชนริมน้ำโขงไม่มีอีกแล้ว คนในพื้นที่รู้ดี พื้นที่ที่ปลาต้องการนั้นไม่มีอยู่ในลำน้ำโขง ทั้งท้องน้ำที่มีลักษณะเป็นกรวดทราย วังน้ำกว้าง กระแสน้ำไหลวน ห้วยวังที่มีน้ำลึก กระแสน้ำที่ไหลคดเคี้ยว แม้แต่ระดับน้ำก็ยังไม่สามารถคาดเดาได้ แม่น้ำโขงซึ่งเป็นแม่น้ำสากล/แม่น้ำนานาชาติ มีทั้งเขื่อนในแม่น้ำสายหลัก เขื่อนในแม่น้ำสายรอง การทำเหมืองระเบิดภูเขา การดูดทรายพื้นท้องน้ำ การสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง และการประมงที่ไม่มีการควบคุม แล้วเราจะมีช่วยให้แม่น้ำโขงรอดพ้นจากโศกนาฏกรรมนี้ได้อย่างไร เป็นคำถามที่ยากจะหาคำตอบ ในเมื่อผลประโยชน์ตามแนวคิดที่ว่า “หากเราไม่ใช่คนทำ คนอื่นเขาก็ทำอยู่ดี” การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการพัฒนาโดยไม่สนใจถึงส่วนรวม สุดท้ายแล้วใครกันที่ได้รับผลกระทบ ชุมชนที่ไม่สามารถหาปลาได้อีก หรือ “ปลายี่สก” ที่เคยเรียกแม่น้ำแห่งนี้ว่าบ้าน

บทความโดย นายชิณวัฒน์ วันจิตร นักวิชาการสิ่งแวดล้อมปฏิบัติการ
กองจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ (กลช.)
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ KM for Journey to be the writers

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content