ปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แนวทางที่ต้องเข้าถึงปัญหาเชิงพื้นที่

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ถือเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมระดับโลก ที่มีผลพวงมาจากกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ ทั่วโลกมีส่วนในการสร้างปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะจากก๊าซเรือนกระจก แนวทางสำคัญในการแก้ปัญหานี้ จึงจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกประเทศทั่วโลก

การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 21
ที่จัดขึ้นที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อปี พ.ศ.2558 ได้มีมติที่ประชุม รับรอง “ความตกลงปารีส” ซึ่งเป็นข้อตกลงที่ประเทศผู้ลงนามต้องช่วยกันหาแนวทางรักษาระดับอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 2 องศาเซลเซียส และ เพิ่มศักยภาพในการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภายใต้การสร้างระบบเงินทุนหมุนเวียนสนับสนุนการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

ในปีพ.ศ. 2561 ประเทศไทยถูกจัดให้อยู่ในอันดับ 9 ของประเทศที่มีความเสี่ยงสูงที่สุดในโลก
ที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระยะยาว ทั้งจากอุณหภูมิเฉลี่ยที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อากาศแปรปรวน และภัยธรรมชาติในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งจะสร้างผลกระทบและความเสียหายต่อภาคเศรษฐกิจ ภาคสังคมทั้งในส่วนของการพัฒนา ความหลากหลายทางชีวภาพ รวมถึงปัญหา
การแพร่กระจายจากโรคอุบัติใหม่

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ไม่เพียงแต่เป็นหน่วยงานหลัก ในการขับเคลื่อนแนวทางในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้นเท่านั้น แต่ยังเป็นหน่วยงานหลักที่ผลักดันแผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ.2558-2593 โดยมี การปรับตัวต่อผลกระทบ การลดก๊าซเรือนกระจก และการสร้างขีดความสามารถการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นกรอบในการดำเนินงาน

โดยการดำเนินงานระยะที่ 1 ได้ศึกษาและประเมินความเปราะบางจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ(Vulnerability assessment) ด้านต่างๆ ของประเทศในเชิงพื้นที่ ทั้งรายภูมิภาคและรายจังหวัด และในรายสาขาทั้ง 6 สาขา ตามแผนแม่บทฯ และในแต่ละพื้นที่ พร้อมทั้งจัดทำแผนที่พื้นที่เสี่ยง/พื้นที่เปราะบางของประเทศจัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศและภูมิสารสนเทศด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศ

ระยะที่ 2 ได้รวบรวมและจัดทำฐานข้อมูลองค์ความรู้เกี่ยวกับวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best practices) ด้านการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีอยู่ในประเทศ ตั้งแต่ระดับท้องถิ่น ไปจนถึงระดับประเทศ รวมทั้งปรับใช้ประโยชน์จากผลการศึกษาของโครงการในระยะที่ 1 โดยวิเคราะห์จุดอ่อน ช่องว่างและความต้องการ (Gaps and needs)เพื่อประกอบการจัดทำแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ ในรายสาขา และเชิงพื้นที่ทั่วประเทศ ซึ่งกระบวนการจัดทำได้ผ่านการประชุม
รับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากคณะทำงานกำกับด้านวิชาการโครงการฯ จากผู้เชี่ยวชาญ และผู้เกี่ยวข้อง ทั้งภาคประชาชน ภาคเอกชน และภาครัฐ ทั้งระดับภูมิภาค และระดับประเทศ

แผนแม่บทที่ได้ มีเป้าหมายสำคัญในการสร้างภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในการพัฒนาประเทศ โดยผลักดันให้เกิดการบูรณาการแนวทางและมาตรการในการปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในทุกภาคส่วนและทุกระดับ เสริมสร้างศักยภาพและความตระหนักรู้ของภาคีการพัฒนาในทุกระดับ เพื่อสร้างความพร้อมในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ด้วยองค์ความรู้ ฐานข้อมูล งานศึกษาวิจัย และเทคโนโลยี ที่สนับสนุนการรองรับและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น การตรวจวัดและเฝ้าระวังผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อคุณภาพแหล่งน้ำ ได้วางแผนติดตามและตรวจสอบคุณภาพแหล่งน้ำเป็นระยะๆ โดยเฉพาะช่วงการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล หรือในช่วงวิกฤตอุทกภัยหรือภัยแล้ง พัฒนาเทคโนโลยีทางเลือกเชิงวิศวกรรมและวางแผนปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับสถานการณ์ ประเมินสมดุลของน้ำในลุ่มน้ำต่าง ๆ โดยข้อมูลที่ได้ อาจจะถูกนำไปใช้เป็นตัวชี้วัดความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีต่อทรัพยากรน้ำ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เพื่อหาแนวทางในการลดผลกระทบจากการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำในรูปแบบต่าง ๆ รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคมแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่อย่างเหมาะสม

จัดทำและเผยแพร่โดย

กลุ่มงานอำนวยการและประชาสัมพันธ์ / สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content