ความเข้าใจเกี่ยวกับลุ่มน้ำและชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ

แม่น้ำแม่กลอง-ท่าจีน
ที่มา: https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG210828172027340

หลายคนคงเคยสงสัย หรือสับสนกับคำว่า ลุ่มน้ำและชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ มันหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจกับสองคำนี้ ในเบื้องต้นมารู้จักความหมายของสองคำนี้

ลุ่มน้ำ หมายถึง หน่วยของพื้นที่หนึ่ง ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการน้ำโดยเฉพาะ มีขนาดตามความต้องการของแต่ละบุคคลและประเภทของการศึกษา (เกษม จันทร์แก้ว, 2551) โดยที่หน่วยพื้นที่หนึ่งที่ประกอบด้วยทรัพยากรกายภาพ ทรัพยากรชีวภาพ ทรัพยากรที่มนุษย์สร้างขึ้นเน้นคุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ และทรัพยากรคุณภาพชีวิต ด้านสังคมสิ่งแวดล้อม ประเทศไทยมีการแบ่งขอบเขตลุ่มน้ำจากลักษณะภูมิประเทศที่แตกต่างกันเป็น 22 ลุ่มน้ำ ตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกากำหนดลุ่มน้ำ พ.ศ. 2564 (1. ลุ่มน้ำสาละวิน 2. ลุ่มน้ำโขงเหนือ 3. ลุ่มน้ำโขงตะวันออก
เฉียงเหนือ 4. ลุ่มน้ำชี 5. ลุ่มน้ำมูล 6. ลุ่มน้ำปิง 7. ลุ่มน้ำวัง 8. ลุ่มน้ำยม 9. ลุ่มน้ำน่าน 10. ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 11. ลุ่มน้ำสะแกกรัง 12. ลุ่มน้ำป่าสัก 13. ลุ่มน้ำท่าจีน 14. ลุ่มน้ำแม่กลอง 15. ลุ่มน้ำบางปะกง
16. ลุ่มน้ำโตนเลสาบ 17. ลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออก 18. ลุ่มน้ำเพชรบุรี – ประจวบคีรีขันธ์ 19. ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนบน 20. ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา 21. ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่าง และ 22. ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก)

ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ หมายถึง การแบ่งเขตที่ดินในพื้นที่ลุ่มน้ำตามลักษณะกายภาพและศักยภาพทางอุทกวิทยาและทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อประโยชน์ในการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพในลุ่มน้ำนั้น ๆ (สามัคคี บุณยะวัฒน์, 2535) โดยมุ่งเน้นที่คุณสมบัติของพื้นที่ต่อการพังทลายของดิน และความเปราะบางทางสิ่งแวดล้อมเป็นหลักปฏิบัติในการกำหนดขอบเขต พื้นที่ใดที่มีดินและสิ่งแวดล้อมเปราะบางง่ายต่อการชะล้างพังทลายจะต้องเก็บรักษาไว้เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร ส่วนพื้นที่ใดมีความคงทนต่อการพังทลายของดินก็สามารถนำไปใช้ในกิจกรรมอื่น ๆ ที่เหมาะสมตามลำดับต่อไป

การกำหนดชั้นคุณภาพลุ่มน้ำของประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528-2538 โดยจำแนกพื้นที่ลุ่มน้ำออกเป็น 5 ระดับชั้นคุณภาพตามความสำคัญในการควบคุมระบบนิเวศและความอ่อนไหว
ต่อการพัฒนาของลุ่มน้ำหลัก พร้อมกำหนดมาตรการการใช้ที่ดินในแต่ละชั้น ให้ถูกต้องเหมาะสมตามหลักวิชาการและศักยภาพของพื้นที่ โดยให้ความสำคัญกับการควบคุมดูและการใช้ประโยชน์พื้นที่ลุ่มน้ำ และใช้เป็นกรอบสำหรับการปฏิบัติงานของหน่วยงานและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เป็นพื้นที่ภูเขา ตอนบนที่มีความลาดชันมาก (very steep slope) ดินมีสมรรถนะการพังทลายสูง ควรสงวนไว้เป็นป่าอนุรักษ์ (conservation forest) พื้นที่ต้นน้ำลำธาร
อุทยานแห่งชาติ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโดยเฉพาะ เนื่องจากว่าอาจมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินได้ง่ายและรุนแรง โดยมีการแบ่งออกเป็น 2 ระดับชั้นย่อย คือ พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1A ได้แก่ พื้นที่ต้นน้ำลำธารที่ยังมีสภาพป่าสมบูรณ์ และพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1B เป็นพื้นที่ที่สภาพป่าส่วนใหญ่ได้ถูกทำลาย ดัดแปลง หรือเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนาหรือการใช้ที่ดินรูปแบบอื่นก่อน พ.ศ.2525

พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 2 เป็นพื้นที่บริเวณไหล่เขาบนที่สูงมีความลาดชันสูง (steep slope) ถึงสูงมาก (very steep slope) ดินมีสมรรถนะการพังทลายน้อยกว่าชั้นที่ 1 เป็นพื้นที่ที่ควรเก็บรักษาไว้ใช้ประโยชน์เพื่อเป็นป่าเศรษฐกิจ (commercial forest)  และพื้นที่ดังกล่าวเหมาะต่อการเป็นต้นน้ำลำธารในระดับรองจากลุ่มน้ำชั้นที่ 1 สามารถนำพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นนี้ไปใช้เพื่อประโยชน์ที่สำคัญอย่างอื่นได้ เช่น การทำเหมืองแร่ เป็นต้น

พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 3 เป็นพื้นที่บริเวณเชิงเขามีความลาดชันปานกลาง (gentle slope) ดินมีสมรรถนะการพังทลายปานกลางเป็นพื้นที่ที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งการทำไม้ เหมืองแร่
ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ และเหมาะแก่การปลูกพืชกสิกรรมประเภทไม้ยืนต้น (horticulture) แต่ต้องมีมาตรการทางด้านอนุรักษ์ดินและน้ำควบคู่ไปอย่างเข้มงวด

พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 4 เป็นพื้นที่เนินราบ มีความลาดชันน้อยเหมาะสำหรับการปลูกพืชไร่ ไม้ผล ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ แต่ต้องมีมาตรการการป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน โดยสภาพป่าของลุ่มน้ำชั้นนี้ได้ถูกบุกรุกแผ้วถางเป็นที่ใช้ประโยชน์ เพื่อกิจการพืชไร่ (agronomy) เป็นส่วนใหญ่

พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 5 พื้นที่นี้โดยทั่วไปเป็นที่ราบหรือเนินลาดเอียงเล็กน้อย หรือที่ลุ่มเหมาะสมหรับการทำนา (paddy filed) โดยไม่จำเป็นต้องมีมาตรการการป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน พื้นที่บริเวณนี้ส่วนใหญ่ป่าไม้ได้ถูกแผ้วถางเพื่อประโยชน์ด้านเกษตรกรรม โดยเฉพาะการทำนาและกิจการอื่นไปแล้ว

ภาพวาดจำลองของลักษณะชั้นลุ่มน้ำตามการกำหนดชั้นคุณภาพลุ่มน้ำของประเทศไทย
ภาพวาดจำลองของลักษณะชั้นลุ่มน้ำตามการกำหนดชั้นคุณภาพลุ่มน้ำของประเทศไทย

สรุปความแตกต่างของลุ่มน้ำและชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ คือ ลุ่มน้ำ เป็นการกำหนดขอบเขตเพื่อใช้ทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง ส่วนชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ คือ การจำแนกที่ดินตามศักยภาพทาง
สิ่งแวดล้อมเพื่อการวางแผนการใช้ที่ดินเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

บทความโดย นายวิรุฬห์ สัมลีราช นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำนาญการ กองยุทธศาสตร์และแผนงาน (กยผ.)

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ KM for Journey to be the writers

อ้างอิง

เกษม จันทร์แก้ว. 2551. หลักการจัดการลุ่มน้ำ. สำนักพิมพ์มหาวิทยาเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

สามัคคี บุณยะวัฒน์. 2535. หลักการจัดการลุ่มน้ำประยุกต์. ม.ป.พ.

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content