ความมืดมิดที่ควรรักษา: เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืด

หากความมืดยังไม่มาเยือน ดวงดาวก็มิอาจส่องแสง -D.H. Sidebottom-
ที่มาภาพ : https://darksky.narit.or.th

เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืด คืออะไร?
เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืด (Dark Sky Park) คือ พื้นที่สาธารณะ หรือพื้นที่ส่วนบุคคลที่มีความมืดของท้องฟ้าในเวลากลางคืนอยู่ในระดับที่สามารถสังเกตเห็นวัตถุบนท้องฟ้า เช่น ดาวเคราะห์ ดาวฤกษ์ กลุ่มดาว หรือทางช้างเผือกได้ด้วยตาเปล่า โดยการใช้แสงสว่างอย่างเหมาะสม ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางแสง (Light Pollution) ที่ส่งผลต่อระบบนิเวศ และการสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์

มลภาวะทางแสง (Light Pollution) คืออะไร?
มลภาวะทางแสง (Light Pollution) เป็นแสงสว่างที่ปรากฏให้เห็นในเวลากลางคืนซึ่งเป็นผลจากการติดตั้งแหล่งกำเนิดแสงโดยไม่ได้ควบคุมปริมาณ และทิศทางให้เหมาะสมกับการใช้งาน แสงเหล่านี้จึงส่องไปบนท้องฟ้าแทนที่จะเจาะจงไปยังบริเวณที่ต้องการ ทำให้ท้องฟ้ายามค่ำคืนไม่มืดสนิทอย่างที่ควรจะเป็น เกิดความสิ้นเปลืองพลังงาน และการเปลี่ยนแปลงของการดำรงชีวิต ในช่วงแรกมลภาวะทางแสงสร้างความเดือดร้อนกับนักดาราศาสตร์ เนื่องจากทำให้การดูดาวเป็นไปด้วยความยากลำบาก แต่เมื่อมีการขยายตัวของเมืองมากขึ้น ทำให้มลภาวะทางแสงเพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบต่อหลายชีวิตบนโลกทั้งมนุษย์ และสัตว์ เช่น พฤติกรรมการหากิน อพยพ และผสมพันธุ์ของสัตว์เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงทำให้นาฬิกาชีวิตของมนุษย์คลาดเคลื่อนไปจากปกติ ส่งผลต่อระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย

แสงเรืองบนท้องฟ้า (Sky Glow) เป็นแสงจากพื้นดินที่ส่องขึ้นไปบนท้องฟ้า
แสงเรืองบนท้องฟ้า (Sky Glow) เป็นแสงจากพื้นดินที่ส่องขึ้นไปบนท้องฟ้า
ที่มาภาพ : https://sites.psu.edu/rcl2jacobsciosciaissues/2016/02/03/light-pollution

เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในประเทศไทย
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รณรงค์ให้ประชาชนใช้แสงสว่างให้เกิดประโยชน์สูงสุดและส่งผลเสียน้อยที่สุด เพื่ออนุรักษ์ท้องฟ้ายามค่ำคืนภายใต้ชื่อ “Dark Sky in Thailand” หรือ “เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในประเทศไทย” โดยมีเงื่อนไขว่าสถานที่นั้นต้องสามารถสังเกตเห็นดวงดาวในเวลากลางคืนได้อย่างชัดเจน ซึ่งในประเทศไทยมีทั้งอุทยานท้องฟ้ามืด ชุมชนอนุรักษ์ท้องฟ้ามืด เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในพื้นที่ส่วนบุคคล เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในพื้นที่ชานเมือง โดยสามารถจัดบริการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ กิจกรรมดาราศาสตร์ และการให้ความรู้ด้านการอนุรักษ์ท้องฟ้ามืด ทำให้เกิดการจ้างงาน และเพิ่มรายได้ให้กับคนในชุมชน

อุทยานแห่งชาติภูแลนคา จ.ชัยภูมิ
อุทยานแห่งชาติภูแลนคา จ.ชัยภูมิ
ที่มาภาพ : http://www.koksaat.ac.th

การอนุรักษ์ความมืดของท้องฟ้าอาจจะยังไม่เป็นกระแสมากนัก เนื่องจากผลกระทบจากการมีแสงสว่างมากเกินไปยังไม่มีผลกระทบที่ให้เห็นชัดเจนหรือสร้างแรงสั่นสะเทือนต่อสังคม ดังนั้นสิ่งที่เราจะทำได้เพื่อลดมลภาวะของแสง และอนุรักษ์ความมืดของท้องฟ้าเป็นเรื่องง่าย ๆ ที่เริ่มต้นด้วยตัวเอง คือ การเลือกติดตั้งอุปกรณ์ที่สามารถควบคุมปริมาณ หรือเวลาเปิดปิดแสงสว่างได้ ปิดไฟดวงที่ไม่จำเป็น ทั้งช่วยประหยัดพลังงาน และช่วยอนุรักษ์ความมืด เพื่อไม่ให้มลภาวะทางแสงทวีความรุนแรงไปมากกว่าเดิม

จัดทำบทความโดย
นางสาววริษฐา จงวิสุทธิ์ เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน
กลุ่มงานติดตามประเมินสถานการณ์ กองติดตามประเมินผลสิ่งแวดล้อม

อ้างอิง
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน). “เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืด (Dark Sky)”. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2565 จาก https://darksky.narit.or.th

Harun Mehmedinovic & Gavin Heffernan. “Sky Glow”. [online]. Retrieved October 12, 2022. from https://skyglowproject.com/main#new-page

National Geographic. “Light Pollution”. [online]. Retrieved October 12, 2022. From https://education.nationalgeographic.org/resource/light-pollution


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content