การใช้ประโยชน์พื้นที่ที่ผ่านการทำเหมืองแร่

การทำเหมืองแร่ เป็นกิจกรรมที่มีการนำเอาทรัพยากรแร่ที่มีอยู่ในธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ซึ่งก่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม เช่น รายได้จากการขายแร่ และผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ การจ้างงาน เป็นต้น แต่ก็อาจก่อให้เกิดผลกระทบในเชิงลบ ต่อทั้งทรัพยากรธรรมชาติ คุณภาพสิ่งแวดล้อม คุณภาพชีวิต  และสุขภาพของประชาชนได้  ดังตัวอย่างที่เป็นข่าวในสื่อต่าง ๆ เช่น กรณีปัญหาฝุ่นละอองในพื้นที่หน้าพระลาน จังหวัดสระบุรี การปนเปื้อนของแคดเมียมในพื้นที่แม่ตาว จังหวัดตาก เป็นต้น ดังนั้น การทำเหมืองแร่ตามกฎหมายว่าด้วยแร่ทุกขนาด จึงถูกกำหนดให้ต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

การจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม( EIA : Environmental Impact Assessment)  มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการศึกษาและประเมินผลที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อกำหนดมาตรการป้องกันแก้ไขผลกระทบดังกล่าว (ที่มา : พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2561)

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติ (สผ.) ได้จัดทำแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการเหมืองแร่ ซึ่งผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้  ในแนวทางฯ ดังกล่าว ระบุให้มีการประเมินผลกระทบจากการทำเหมืองแร่ทั้งในระยะเตรียมการ และระยะดำเนินการ ส่วนใหญ่แล้วแร่มักอยู่ใต้ดินหรือภูเขา การนำแร่ออกมาใช้ประโยชน์ จึงต้องมีการขุดชั้นดิน การระเบิดหิน จึงมีการใช้พื้นที่จำนวนมาก การทำลายพื้นที่ป่าไม้ และส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่ ทัศนียภาพและสภาพภูมิประเทศไปอย่างสิ้นเชิงไม่สามารถกลับมาเหมือนเดิมได้อีก เช่น การเปลี่ยนจากพื้นที่ทำไร่/ พื้นที่เกษตรกรรม เป็นบ่อขนาดใหญ่ การเปลี่ยนสภาพจากภูเขาหินปูน เป็นพื้นที่ที่ราบหรือบ่อ การหายไปของป่าไม้ เป็นต้น จึงเป็นที่มาของการกำหนดให้มีแผนการปิดเหมืองและการฟื้นฟูพื้นที่จากการทำเหมืองแร่ (Mine Closure and Rehabilitation) ไว้ใน EIA เพื่อให้เกิดการพัฒนาเหมืองแร่อย่างยั่งยืน มีการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ให้คุ้มค่าที่สุด และเกิดสภาพแวดล้อมที่ดีต่อประชาชน ชุมชนที่อยู่ข้างเคียงด้วย

การกำหนดแผนการปิดเหมืองและการฟื้นฟูพื้นที่จากการทำเหมืองแร่ ต้องมีการกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายในการใช้ประโยชน์พื้นที่ภายหลังการสิ้นสุดการทำเหมืองแร่ โดยมีปัจจัยหลายประการที่ต้องคำนึงถึง เช่น ความสอดคล้องกับสภาพพื้นที่ ภูมิประเทศ ความเหมาะสมตามหลักภูมิสถาปัตยกรรม ความเหมาะสมกับข้อมูลทางธรณีวิทยา ชนิดแร่ แหล่งแร่ แผนผังโครงการทำเหมือง วิธีการทำเหมือง และขอบเขตสุดท้ายของบ่อเหมือง ความปลอดภัยตามหลักวิศวกรรม ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน และที่สำคัญ คือ ความสอดคล้องกับความต้องการใช้ประโยชน์พื้นที่ของประชาชนและผู้ที่มีส่วนได้เสีย โดยในรายงาน EIA ต้องมีการเสนอแนวทางและรูปแบบการใช้ประโยชน์พื้นที่ภายหลังสิ้นสุดการทำเหมืองแร่อย่างชัดเจน ทั้งแผนการดำเนินงานและระยะเวลา ผู้รับผิดชอบ และงบประมาณ ซึ่งมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมและแผนการปิดเหมืองเหล่านี้ จะต้องนำไปกำหนดเป็นเงื่อนไขตามกฎหมายในการอนุญาตของหน่วยงานอนุญาตด้วย

รูปแบบของการใช้ประโยชน์พื้นที่ภายหลังการปิดเหมืองแร่ในประเทศไทย โดยทั่วไปจะกำหนดให้มีการปรับปรุงสภาพพื้นที่ให้มีความใกล้เคียงกับสภาพก่อนการทำเหมืองแร่โดยการนำดินที่ขุดออกไปมาถมกลับในพื้นที่ทำเหมืองเดิมแล้วทำการปลูกพืชและต้นไม้ยืนต้น โดยให้ใช้ชนิดพันธ์ไม้ท้องถิ่นเป็นหลักเพื่อให้สามารถเจริญเติบโตมีอัตราการอยู่รอดสูงตามพื้นที่รอบขอบบ่อเหมือง สำหรับในส่วนที่เป็นบ่อเหมืองเดิมส่วนใหญ่เป็นการพัฒนาให้เป็นแหล่งกักเก็บน้ำของชุมชน  และบางส่วนมีการกำหนดให้พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว หรือการพัฒนาเป็นสวนสาธารณะด้วย

ปัจจุบัน มีโครงการทำเหมืองแร่ที่ยังคงมีการดำเนินการทำเหมืองแร่ไปพร้อมกับการปรับปรุงพื้นที่ไปด้วยกัน เช่น เหมืองถ่านหินแม่เมาะ ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) ซึ่งเริ่มดำเนินการทำเหมืองแร่ ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2497 มีกำหนดการปิดเหมืองในปี พ.ศ. 2592  ซึ่งการทำเหมืองถ่านหินเป็นการนำถ่านหินลิกไนต์ที่อยู่ใต้ผิวดินมาใช้ประโยชน์ ส่งผลให้สภาพภูมิประเทศ และการใช้ประโยชน์ที่ดินมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง บริเวณที่ผ่านการทำเหมืองจะมีลักษณะเป็นบ่อเหมืองลึก และกองดินขนาดใหญ่ จึงมีความจำเป็นที่ต้องมีการฟื้นฟูสภาพเหมืองเพื่อให้พื้นที่กลับคืนสู่สภาพที่ใกล้เคียงกับสภาพแวดล้อมเดิมให้มากที่สุด ซึ่งในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการเหมืองแม่เมาะ ได้กำหนดให้มีแนวทางการฟื้นฟูสภาพเหมือง ดังนี้

  1. การฟื้นฟูพื้นที่ชั่วคราว (Intermediate area) การฟื้นฟูบริเวณพื้นที่เหมืองที่ทิ้งไว้เป็นเวลาชั่วคราวเกิน 1 ปี ขึ้นไป จะดำเนินการปลูกพืชคลุมดินเพื่อป้องกันและลดการชะล้างพังทลายของหน้าดิน
  2. การพื้นฟูพื้นที่ถาวร (Final area) พื้นที่ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอีกต่อไป จะจัดเตรียมพื้นที่สำหรับการใช้ประโยชน์สุดท้าย

สำหรับพื้นที่ที่ผ่านการทำเหมืองแล้ว จะดำเนินการปลูกต้นไม้และปลูกพืชคลุมดินเพื่อช่วยลดการชะล้างพังทลายของดินบริเวณพื้นที่ลาดชันบริเวณ  ขอบบ่อเหมือง การรักษาสภาพป่าไม้ในบริเวณแนวกั้นเขตไม่ทำเหมืองโดยรอบพื้นที่โครงการ ให้เจริญเติบโตเป็นปกติ และปลูกซ่อมแซมในบริเวณที่เบาบาง เพื่อใช้เป็นแนวเขตตามธรรมชาติ ในการป้องกันการฟุ้งกระจายของฝุ่นละอองออกสู่สิ่งแวดล้อมภายนอก สงวนพื้นที่ป่าไม้และพื้นที่ชุ่มน้ำที่อยู่ใกล้เคียงพื้นที่โครงการให้เป็นแหล่งหากิน และที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า เพื่อรักษาสมดุลทางนิเวศวิทยาและสภาพแวดล้อม

แผนการใช้ประโยชน์สุดท้ายของพื้นที่เหมืองแม่เมาะจำนวน (ไร่)ผลการดำเนินงานสะสม (ไร่)
พื้นที่ปลูกป่าทดแทน     38,700   (93%)12,308
พื้นที่กักเก็บน้ำ               1,300    (3%)
พื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ       1,700    (4%)831
รวม   41,700 (100%)13,139
ปรับปรุงจาก: เอกสารประกอบการอบรมโครงการเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษาเหมืองถ่านหินแม่เมาะ ของ กฟผ., ธันวาคม 2565

ในการดำเนินการฟื้นฟูสภาพพื้นที่เหมืองแม่เมาะ ได้ส่งเสริมให้ชุมชนโดยรอบเข้ามามีส่วนร่วมทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยการให้ชุมชนเป็นผู้รับจ้างปลูกต้นไม้และพืชคลุมดิน การรับซื้อเมล็ดพันธ์ุ กล้าไม้ และปุ๋ยหมักจากชุมชน การอนุญาตให้ชุมชนเข้ามาหาของป่าและผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ในพื้นที่ฟื้นฟูสภาพเหมือง รวมถึงการอนุญาตให้ประชาชนเข้ามาใช้ประโยชน์ด้านการท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ และศึกษาหาความรู้ในพื้นที่สันทนาการในเหมืองแม่เมาะ โดยการปรับปรุงสภาพพื้นที่ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทำเหมืองแร่แล้ว โดยจัดทำเป็นแหล่งชมวิวทุ่งดอกบัวตอง สวนเฉลิมพระเกียรติฯ พิพิธภัณฑ์ศูนย์ถ่านหินลิกไนต์ศึกษา สวนพฤกษชาติ และสนามกอล์ฟ ซึ่งมีการเปิดให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าเยี่ยมชม และเข้ามาใช้เป็นสถานที่พักผ่อนโดยไม่มีค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ กฟผ. ได้ว่าจ้างให้ศูนย์บริการทางวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินการศึกษาแนวทางการพัฒนาพื้นที่ภายหลังการปิดเหมืองแม่เมาะที่มีความเหมาะสมและเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน และภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้แนวทางและแผนงานการใช้ประโยชน์สุดท้ายของพื้นที่ที่ผ่านการทำเหมืองแร่แม่เมาะ ที่เกิดประโยชน์สูงสุด สอดคล้องกับความต้องการของทุกภาคส่วน มีความเหมาะสม และเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน

พิพิธภัณฑ์ศูนย์ถ่านหินลิกไนต์ศึกษา พื้นที่ส่วนหนึ่งของการฟื้นฟูพื้นที่จากการทำเหมืองแร่ โครงการเหมืองแร่ถ่านหินแม่เมาะ

ดังนั้น เราจึงสามารถสรุปได้ว่า กระบวนการการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการกำหนดทิศทางการในพัฒนาใด ๆ รวมถึงแผนการพัฒนาแนวทางและรูปแบบการใช้ประโยชน์พื้นที่ภายหลังสิ้นสุดการทำเหมืองแร่ เพื่อให้ประชาชนที่อยู่โดยรอบสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทาง และเกิดการใช้ประโยชน์พื้นที่ รวมถึงทรัพยากรต่าง ๆ ได้อย่างยั่งยืน อย่างไรก็ตาม ในการกำหนดแนวทางและรูปแบบการใช้ประโยชน์พื้นที่ภายหลังสิ้นสุดการทำเหมืองแร่ยังต้องคำนึงถึงข้อกำหนดด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องอีกด้วย

บทความโดย นางสาวศิริลักษณ์ จันทร์โพธิ์ นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำนาญการพิเศษ กองประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (กปผ.)

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ KM for Journey to be the writer

เอกสารอ้างอิง

1. พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2561)

2. แนวทางการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการเหมืองแร่,สำนักงานนโยบายและ
แผนทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม, 2563

3. คู่มือการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อการฟื้นฟูพื้นที่เหมืองแร่,กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่, 2548

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content