การเข้าร่วมการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ ๒๖ (COP 26)

นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมว.ทส.) แถลงข่าวการเข้าร่วมการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ ๒๖ (COP 26) การประชุมรัฐภาคีพิธีสารเกียวโต สมัยที่ ๑๖ (CMP 16) การประชุมรัฐภาคีความตกลงปารีส สมัยที่ ๓ (CMA 3) ของประเทศไทย ซึ่งมีกำหนดจัดขึ้น ระหว่างวันที่ ๓๑ ตุลาคม – ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ ณ เมืองกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้สาธารณชนให้เกิดความเข้าใจและความตระหนักรู้ในวงกว้างต่อบทบาท ภารกิจและการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในเวทีโลก และเพื่อให้ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับการประชุมฯและ กรอบท่าทีเจรจาของไทยในการประชุมดังกล่าว

เป้าหมายสำคัญของการประชุมเพื่อหารือรายละเอียดความร่วมมือและกำหนดทิศทางการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประชาคมโลกภายใต้กรอบอนุสัญญาฯ พิธีสารเกียวโต และความตกลงปารีส ครอบคลุมประเด็นด้านเทคนิค และประเด็นด้านการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายของกรอบอนุสัญญาฯ โดยมีประเด็นสำคัญที่ต้องหารือในการประชุมครั้งนี้ อาทิ การกำหนดกลไกความร่วมมือสำหรับการถ่ายโอนคาร์บอนเครดิตระหว่างประเทศ การกำหนดกรอบเวลาในการดำเนินงานตามเป้าหมายที่ประเทศกำหนด การกำหนดเป้าหมายทางการเงินที่ประเทศพัฒนาแล้วต้องให้การสนับสนุนแก่ประเทศกำลังพัฒนาเพื่อดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการกำหนดรูปแบบการจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจก และการรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานของการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด เป็นต้น

การประชุมครั้งนี้มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมระดับผู้นำในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ ๒๖ (COP26 World Leaders Summit) ระหว่างวันที่ ๑ – ๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ โดยมีผู้แทนระดับสูง ทส. เข้าร่วมการประชุม ประกอบด้วย รมว.ทส. ปกท.ทส. และ ลสผ. ทั้งนี้ ประเทศไทยมีความตั้งใจจะประกาศและจัดส่งยุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ (Long-term low greenhouse gas emission development strategies: LT-LEDS) รวมถึงประกาศเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน Carbon Neutrality เพื่อแสดงถึงการร่วมเป็นส่วนหนึ่งต่อความรับผิดชอบในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก ในฐานะประเทศกำลังพัฒนาที่ได้รับผลกระทบสูงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งไทยจะเป็นประเทศแรกๆ ของโลกที่สามารถดำเนินการดังกล่าว รวมทั้งเป็นประเทศแรกในอาเซียนที่มีกรอบมาตรการที่ชัดเจน (ปัจจุบันมีประเทศที่จัดส่งยุทธศาสตร์ระยะยาว ๓๓ ประเทศ โดยในจำนวนนี้ มีจากประเทศสมาชิกอาเซียน ๒ ประเทศ คือ สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย)

จัดทำและเผยแพร่โดย กลุ่มงานอำนวยการและประชาสัมพันธ์ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content