การปรับปรุงระบบ EIA

  • ปรับปรุงกฎหมาย
    1) พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2561 ประกาศลงราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2561 และมีผลบังคับใช้แล้วเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2561
    2) กฎหมายลำดับรอง 9 ฉบับ ผ่านความเห็นชอบหลักการจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติแล้ว ทั้ง 9 ฉบับ โดยมีผลใช้บังคับแล้ว 5 ฉบับ และอยู่ระหว่างการดำเนินการตามขั้นตอนการประกาศใช้จำนวน 4 ฉบับ
  • ปรับปรุงกลไก
    1) ส่งเสริมและสนับสนุนการปฏิบัติตามมาตรการในรายงาน EIA
    2) พัฒนาศักยภาพหน่วยงานที่จะได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่พิจารณารายงาน EIA แทน สผ. และเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง
    3) ปรับปรุงและพัฒนาศูนย์ข้อมูลการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และ Mobile Application SMART EIA
    4) สนับสนุนการขับเคลื่อน SEA มาใช้กับการวางแผนพัฒนาของประเทศ
    5) ปรับปรุงและพัฒนาคู่มือ/แนวทางเกี่ยวกับการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
  • การกำหนดประเภทและขนาดโครงการที่ต้องจัดทำรายงาน EIA 35 ประเภท และ EHIA 12 ประเภท
    ซึ่งปัจจุบันอยู่ในระหว่างการปรับประเภทโครงการ กิจการ หรือการดำเนินการใดที่ต้องจัดทำรายงาน EIA/ EHIA เพื่อให้โครงการสามารถดำเนินการได้ในทางปฏิบัติ และเกิดความสอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน รวมทั้งแนวทางการพัฒนาประเทศตามนโยบายของรัฐบาล
  • การกระจายภารกิจการพิจารณารายงาน EIA ด้านอาคาร การจัดสรรที่ดิน และบริการชุมชน ระดับ จังหวัด (เฉพาะช่วงการพิจารณาของคณะกรรมการผู้ชำนาญการ) จำนวน 12 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดในพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม 7 จังหวัด ( ชลบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ภูเก็ต กระบี่ พังงา และสุราษฎร์ธานี) และจังหวัดที่มีความพร้อม 5 จังหวัด (กรุงเทพมหานคร
    นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการและเชียงใหม่) เพื่อให้การพิจารณารายงานมีความสะดวก รวดเร็ว ยิ่งขึ้น
  • การขับเคลื่อนการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA) โดย สผ. เป็นหน่วยงานสนับสนุน สศช. ในการขับเคลื่อน SEA ดังนี้
    1) จัดทำร่างข้อเสนอการจัดทำการประเมิน SEA และแนวทาง (Guideline) การประเมิน SEA
    2) โครงการนำร่องในการพัฒนาเชิงพื้นที่: จังหวัดระยอง โดยความร่วมมือกับธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB)
    3) โครงการขับเคลื่อน SEA ได้แก่ การจัดทำหลักสูตรการอบรม SEA เป็นต้น
  • ปรับปรุงและพัฒนาคู่มือ/แนวทางเกี่ยวกับการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ได้แก่
    แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการจัดทํารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ประกาศลงราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2562 แนวทางการพิจารณารายงานของคณะกรรมการผู้ชำนาญการฯ / แนวทางการจัดทำรายงานฯ แต่ละประเภทโครงการ
  • เป้าหมายของการติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการในรายงาน EIA
    1) การกำหนดหน่วยงานอนุญาตในการนำมาตรการในรายงาน EIA ไปควบคุมกำกับโครงการให้ชัดเจน
    2) การยกระดับผู้จัดทำรายงานให้มีคุณภาพ (การขึ้นทะเบียน/การฝึกอบรม)
    3) การจัดทำคู่มือ/แนวทางการจัดทำรายงาน MONITOR
    4) การจัดทำคู่มือ การปฏิบัติตาม พ.ร.บ. สิ่งแวดล้อม (ฉบับที่ 2) และประกาศ ทส.
    5) การพิจารณารายงาน MONITOR ให้ครบร้อยเปอร์เซ็นต์
    6) การสุ่มตรวจพื้นที่จริงเพื่อประกอบการพิจารณารายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการ การนำประเด็น/ปัญหา จากผลการพิจารณารายงาน MONITOR ไปทบทวนการกำหนดมาตรการในรายงาน EIA และปรับปรุงประกาศการกำหนดโครงการ กิจการ หรือการดำเนินการ ซึ่งต้องจัดทำรายงาน EIA
    7) การให้รางวัลกับสถานประกอบการที่ปฏิบัติตามมาตรการในรายงาน EIA (EIA Monitoring Award)
    8) ผลักดันการให้ Intensive กับสถานประกอบการที่ได้รับรางวัลด้านสิ่งแวดล้อม เช่น รางวัล EIA Monitoring Award หรือ รางวัล PM Award เป็นต้น

กองพัฒนาระบบการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content