การประชุมสัมมนาเผยแพร่สรุปผลการประชุม COP25 CMP15 CMA2

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ร่วมกับองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) จัดการประชุมสัมมนาเผยแพร่สรุปผลการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ ๒๕ (COP 25) การประชุมรัฐภาคีพิธีสารเกียวโต สมัยที่ ๑๕ (CMP 15) และการประชุมรัฐภาคีความตกลงปารีส สมัยที่ ๒ (CMA 2) เมื่อวันอังคารที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๖๓ เวลา ๐๙.๐๐ น. ณ ห้องแกรนด์บอลรูม ชั้น ๓ โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค กรุงเทพฯ โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ และภาคประชาสังคม เข้าร่วมการประชุมจำนวน ๑๕๐ คน สำหรับการประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่สรุปผลการประชุม COP25 CMP15 CMA2 แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ตลอดจนเพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อประเด็นที่มีการหารือภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พิธีสารเกียวโต และความตกลงปารีส รวมถึงการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องของไทย ซึ่งได้รับเกียรติจาก ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช รองเลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานเปิดการประชุม โดยมี มร.ทิม มาเลอร์ ผู้อำนวยการองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจำประเทศไทยและมาเลเซีย กล่าวรายงาน และ ดร.ณัฏฐนิช อัศวภูษิตกุล ผู้อำนวยการกองประสานการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุม ต่อจากนั้นเป็นการปาฐกถาพิเศษ จาก ดร.อนุสนธิ์ ชินวรรโณ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในคณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติเรื่อง “COP 25: ความก้าวหน้าหรือการย่ำอยู่กับที่ และอนาคตของความตกลงปารีส” รวมไปถึงการนำเสนอสรุปผลการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ ๒๕ (COP 25) และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในหัวข้อเรื่อง “จากเวทีเจรจาสู่ความก้าวหน้าในการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย” โดยมีประเด็นต่างๆ ดังนี้ ๑. การมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (Nationally Determined Contributions) ๒. การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการสูญเสียและความเสียหาย (Adaptation and Loss & Damage) ๓.แนวทางและกลไกความร่วมมือตามข้อ ๖ ของความตกลงปารีส (Cooperative Approaches and Mechanism Under Article 6 of the Paris Agreement) ๔. กรอบความโปร่งใสภายใต้ความตกลงปารีส (Transparency) ๕. การเงินด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Finance) ๖. มุมมองของภาคเอกชนต่อการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามความตกลงปารีส
และ ๗. มุมมองเชิงการเมือง ประเด็นที่ควรจับตามอง และความเชื่อมโยงกับกรอบความร่วมมืออื่น จากผู้แทนหน่วยงานที่เข้าร่วมการประชุม COP25 โดยความเห็นจากการประชุมฯ สผ. จะนำไปพิจารณาประกอบการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยต่อไป

จัดทำและเผยแพร่โดย

กลุ่มงานอำนวยการและประชาสัมพันธ์ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content