การบริหารจัดการนำ้

วิกฤตน้ำของประเทศไทย ย้อนไปในฤดูแล้ง ปี พ.ศ. 2565 ทำให้มีน้ำไม่เพียงพอต่อการทำการเกษตร โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลางตอนบน เนื่องจากการใช้น้ำในภาพรวมของทั้งประเทศ เป็นการใช้น้ำเพื่อเกษตรกรรมมากที่สุด 2,293.98 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 63.91 ภาครัฐจึงได้ประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรงดทำนาปรัง เพื่อให้มีน้ำสำหรับการอุปโภค บริโภค และรักษาระบบนิเวศ แต่เกษตรกรได้ทำนาปรังแล้วมากกว่า 2.8 ล้านไร่ โดยเฉพาะเกษตรกรในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ได้แก่ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ทำให้ต้องสูบน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาและคลองชลประทาน ส่งผลให้แหล่งน้ำดิบที่ต้องใช้ผลิตน้ำประปาหลายแห่งไม่เพียงพอ และมีข่าวการแย่งชิงน้ำเกิดขึ้น สืบเนื่องจากปริมาณฝนเฉลี่ยทั่วประเทศลดลง ส่งผลให้แหล่งน้ำต้นทุนมีปริมาณน้อยกว่าความต้องการใช้น้ำ ดังนั้น ปัญหาภัยแล้ง จึงเป็นเรื่องที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกคน ที่ส่งผลต่อวิถีชีวิตและการประกอบอาชีพ และปัญหาน้ำแล้งยังส่งผลกระทบต่อการใช้ทรัพยากรดินในพื้นที่ การเกิดความเสื่อมโทรมของดิน ทำให้ดินขาดความชุ่มชื้น ในหลายพื้นที่มักจะรอความช่วยเหลือจากหน่วยงานของรัฐ เนื่องจากยังไม่มีแนวทางการจัดการที่เหมาะสม

ภูเขาแม่กระทู้
ที่มาภาพ : https://www.youtube.com/watch?v=90pPb-Fv79Q

ในขณะที่บางพื้นที่กลับมีการบริหารจัดการน้ำที่ดี อาทิ บ้านธารมะยม หมู่ที่ 10 บริเวณเชิงเขาภูเขาแม่กระทู้ ตำบลวังซ่าน อำเภอแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์ แม้จะมีทำเลตั้งอยู่บนพื้นที่สูง เป็นแหล่งต้นน้ำสำคัญ ได้เคยประสบปัญหาภัยแล้ง และมีน้ำใช้อุปโภคบริโภคไม่เพียงพอเป็นระยะเวลานาน

ก่อนปี พ.ศ. 2538 เขาแม่กระทู้ ผืนป่าที่คงความอุดมสมบูรณ์ และแหล่งต้นน้ำลำธาร ได้เกิดการบุกรุกป่า สัมปทานทำไม้ และการเผาป่าทำไร่อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาหลายปี จนทำให้สภาพพื้นที่กลายเป็นภูเขาหัวโล้น แห้งแล้ง ขาดแคลนแหล่งน้ำ ทำการเกษตรไม่ได้ ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตดั้งเดิม ชาวบ้านส่วนใหญ่จึงออกไปประกอบอาชีพรับจ้างในต่างถิ่น ต่อมา พ.ศ. 2539 แกนนำชาวบ้าน โดยอาจารย์ณรงค์  แรงกสิกร (ข้าราชการบำนาญ ผู้ริเริ่มแนวคิดการผลิกฟื้นผืนป่า) ได้ร่วมพูดคุย และหารือกับผู้นำชุมชนคนอื่นๆ  เพื่อหาทางแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น จนเกิดแนวคิด “ถ้ามีป่าจะมีน้ำ ถ้ามีน้ำจะมีชีวิต” โดยมีชาวบ้านเข้าร่วมลงแรงปลูกป่า ทำแนวกันไฟ สร้างฝายชะลอน้ำ ตามกระแสพระราชดำรัสของในหลวง รัชกาลที่ 9 เพื่อฟื้นฟูผืนป่าคืนความอุดมสมบูรณ์ และมีแหล่งน้ำเพิ่มขึ้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2542 ชุมชนร่วมลงขันซื้ออุปกรณ์การวางท่อระบบประปาภูเขา และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีง่ายๆ  ไม่ซับซ้อน โดยวิธีกาลักน้ำ ตามแนวโน้มถ่วงของโลก และการศึกษาดูงานเรื่องประปาภูเขาจากชาวเขา ตลอดจนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องความลาดชันของพื้นที่ภูเขา เพื่อนำน้ำที่ไหลผ่านท่อจากฝายกั้นน้ำในลำธารเขาแม่กระทู้ ผ่านเข้าสู่ถังกักเก็บ (ถังดักตะกอน) ที่ตั้งไว้เป็นระยะ ตามแนวภูเขาลำเลียงน้ำสู่หมู่บ้าน กักเก็บไว้ในแท้งก์ ผ่านกระบวนการกรอง ก่อนจะปล่อยลงสู่ชุมชนกว่า 100 หลังคาเรือน ได้นำไปใช้ประโยชน์ โดยจัดการเรียกเก็บค่าใช้น้ำตามหน่วยยูนิต คิดอัตราค่าบริการในราคากันเองที่หน่วยละ 3 บาท สำหรับใช้เป็นค่าบำรุงรักษา และกองทุนของชุมชน เช่น กองทุนการศึกษา สวัสดิการหมู่บ้าน เงินกู้ยืมในกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน และสร้างกลุ่มอาชีพ ทั้งนี้ การซ่อมบำรุงระบบประปาภูเขาที่ชำรุด ชุมชนใช้วิธีรวมพลและลงแรงในช่วงการว่างจากงานประจำของคนในชุมชน พร้อมทั้งได้ก่อตั้งชมรมคนรักษ์ป่าต้นน้ำ “เครือข่ายแม่วงก์ ชุมชนคนรักษ์ป่า” ขึ้นมา ในปี พ.ศ. 2543 – 2544 และเริ่มเป็นผู้นำในการสร้างฝาย ถ่ายทอด และแลกเปลี่ยนความรู้ไปสู่สมาชิกในแต่ละชุมชนที่อยู่โดยรอบเขาแม่กระทู้ 10 หมู่บ้าน และเครือข่ายอนุรักษ์อื่นๆ  จนทำให้เครือข่ายแม่วงก์ ชุมชนคนรักษ์ป่า ในจังหวัดนครสวรรค์ให้การยอมรับ

ฝายชะลอน้ำ
ที่มาภาพ : https://www.youtube.com/watch?v=i0_ZevH2B4E

สิ่งที่กล่าวถึงข้างต้น ทำให้เกิดความสำเร็จของชุมชนจากการบริหารจัดการน้ำของบ้านธารมะยมที่เปลี่ยนแปลงความแห้งแล้ง กลายเป็นผืนป่าที่คงความอุดมสมบูรณ์ มีระบบประปาภูเขาของชุมชนทำให้มีน้ำใช้ มีน้ำเหลือเพียงพอสำหรับการเพาะปลูก นอกจากนี้ ยังมีการต่อยอดแนวคิดเพื่อพัฒนาหมู่บ้านในเรื่องการทำนาอินทรีย์ การก่อตั้งโรงเรียนชาวนา เพื่อคัดเลือกและเก็บเมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นบ้านไว้ใช้เป็นพันธุ์ข้าวปลูก การตั้งโรงสีชุมชน และนำรายได้จากการสีข้าว สำหรับใช้เป็นเงินเข้ากลุ่มออมทรัพย์ สู่กองทุนของชุมชน นอกเหนือจากการเก็บค่าน้ำด้วยอีกทางหนึ่ง รวมไปถึงยุ้งฉางส่วนกลางของชุมชน โดยเก็บข้าวสำรองให้สมาชิกยืมไปใช้ เพื่อพึ่งพากันเองให้ได้ภายในชุมชน และเป็นจุดเด่นสำคัญที่ทำให้บ้านธารมะยมเกิดแนวทางการพัฒนาชุมชนพึ่งตนเองในหลายๆ  ด้านตามมา โดยอาศัยการร่วมแรงร่วมใจและความสามัคคีของคนในชุมชน การไม่คาดหวัง และรอคอยความช่วยเหลือจากภายนอก ดังเช่น โครงการของรัฐ โดยชาวบ้านมีมุมมองร่วมกันว่า “หากไม่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณต่อเนื่อง การมีส่วนร่วมของชาวบ้านในชุมชนก็หายไป และหากมีการบริหารจัดการไม่ดีก็จะกลายเป็นสาเหตุของความขัดแย้ง” ในทางกลับกันการจัดการของบ้านธารมะยม จึงมุ่งเน้นแก้ไขปัญหาและหาทางออกที่เหมาะสมกับชุมชนเอง

ทั้งนี้ ปัจจัยที่ทำให้เกิดความสำเร็จและเห็นผลต่อเนื่องอย่างเป็นรูปธรรมของบ้านธารมะยม ในเรื่องการบริหารจัดการน้ำและการพัฒนาชุมชนพึ่งตนเอง ได้แก่
(1) ศักยภาพของผู้นำชุมชน และสมาชิกในชุมชน
(2) ความสามัคคี ร่วมมือร่วมใจของชุมชน
(3) การแลกเปลี่ยน เรียนรู้ ร่วมคิด และลงมือปฏิบัติ
(4) จิตสำนึกรักษ์ และหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น
(5) การสร้างและพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง เพื่อให้คนในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีรายได้เลี้ยงครอบครัว

จัดทำบทความโดย นางสาวศาลิตา  ทับพุ่ม  นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำนาญการ
                         กลุ่มงานติดตามประเมินสถานการณ์  กองติดตามประเมินผลสิ่งแวดล้อม

เอกสารอ้างอิง

กรุงเทพธุรกิจ. (2556). ‘ธารมะยม’ ไม่นิยมเขื่อน. [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2565. จากเว็บไซต์:
https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/535604

คนธารมะยม สองพี่น้อง. (2564). จับตาสถานการณ์ ข่าว ThaiPBS : ชุมชนอนุรักษ์ป่า แก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำ
จ.นครสวรรค์.
[ออนไลน์] สืบค้นเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕. จากเว็บไซต์: https://www.
facebook.com/watch/?v=259153031083827

ไทยพับลิก้า. (2564). สสน.ชี้ภัยแล้งปี ’๖๔ วิกฤติ ย้ำต้องวางแผนการใช้น้ำ งดสูบน้ำทำนาปรัง. [ออนไลน์]
สืบค้นเมื่อวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕. จากเว็บไซต์: https://thaipublica.org/2021/02/drought-crisis-2564/

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2565). รายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2564. กรุงเทพมหานคร.

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content