การจัดการมูลฝอยติดเชื้อจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019: กรณีศึกษา เทศบาลเมืองศรีราชา

ประเทศไทยเผชิญการระบาดของโรคโควิด 19 อย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ พ.ศ. 2563 โดยในเดือนเมษายน พ.ศ. 2564 พบการระบาดระลอกใหม่ที่เร็วกว่าและรุนแรงกว่าระลอกแรก และรูปแบบการระบาดเปลี่ยนแปลงไป จากเดิมที่ระบาดเป็นกลุ่มก้อนเป็นการติดเชื้อในครัวเรือนหรือผู้สัมผัสใกล้ชิด ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการสัมผัสผู้ป่วยติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการ

รูปแบบการระบาดที่เปลี่ยนแปลงทำให้ต้องมีวิธีการรับมือที่แตกต่างออกไป การจัดการของเทศบาลเมืองศรีราชา จังหวัดชลบุรี เป็นอีกหนึ่งกรณีศึกษาที่น่าสนใจของการจัดการมูลฝอยติดเชื้อจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กับการระบาดระลอกใหม่นี้

เกี่ยวกับเทศบาลเมืองศรีราชา

เทศบาลเมืืองศรีีราชาตั้งอยู่ในภาคตะวันออก มีแรงงานทั้งไทยและต่างประเทศเข้ามาทำงานจำนวนมาก เนื่องจากเป็นพื้นที่เศรษฐกิจจากภาคอุตสาหกรรม การค้า และการท่องเที่ยว ทำให้ในช่วงการแพร่ระบาดระลอกที่สอง จังหวัดชลบุรี โดยเฉพาะในพื้นที่เทศบาลเมืองศรีราชา พบผู้ติดเชื้อมากที่สุด แม้จะอยู่ในบริบทที่ท้าทายเช่นนี้ แต่เทศบาลเมืองศรีราชสามารถควบคุมการระบาดของโรคได้ และยังมีระบบการจัดการมูลฝอยติดเชื้อที่ดี โดยเกิดจากความร่วมมือกันของหน่วยงานกำกับดูแลในพื้นที่ สถานพยาบาลในพื้นที่ และชุมชน

การจัดการที่เกิดจากความร่วมมือของทุกฝ่าย

โดยปกติแล้วมูลฝอยติดเชื้อเป็นประเภทของขยะที่ต้องมีระบบจัดการอย่างรัดกุม โดยเฉพาะมูลฝอยติดเชื้อจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ต้องจัดการอย่างรัดกุมเป็นพิเศษ โดยการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในพื้นที่เทศบาลเมืองศรีราชาจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่

1) หน่วยงานกำกับดูแลในพื้นที่

ส่วนของหน่วยงานกำกับดูแลในพื้นที่เป็นการทำงานร่วมกันของสาธารณสุขอำเภอศรีราชาและเทศบาลเมืองศรีราชา สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูงและต้องกักตัว มูลฝอยติดเชื้อซึ่งได้แก่หน้ากากอนามัยและขยะที่เกิดจากผู้มีความเสี่ยงสูงจะถูกกำหนดให้รวบรวมใส่ถุงให้มิดชิดและทิ้งแยกกับบุคคลอื่น ในกรณีที่ผลตรวจเป็นลบ เมื่อพ้นระยะกักตัวแล้ว สาธารสุขอำเภอศรีราชาจะประสานรถเก็บขนขยะของเทศบาลรับไปกำจัด สำหรับผู้ที่ผลตรวจเป็นบวก โรงพยาบาลตามสิทธิประกันสุขภาพจะรับไปเข้ารับการรักษาพยาบาล โดยมูลฝอยติดเชื้อที่เกิดขึ้นจะถูกรวบรวมไปกำจัดตามระบบของสถานพยาบาลนั้น ๆ ต่อไป นอกจากนี้ ทางเทศบาลเองยังประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในพื้นที่มีความเข้าใจในวิธีการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในหลายๆ ช่องทาง  อาทิ เว็บไซต์ รถประชาสัมพันธ์ ป้ายประชาสัมพันธ์ เดินรณรงค์ประชาสัมพันธ์ ตามย่่านธุุรกิิจ ตลาดสด ตลาดนััด หรืือหน่่วยงานภายในเทศบาลที่่ประชาชนมาติิดต่่อใช้้บริิการ และจัดอบรมเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในภาคสนามเกี่ยวกับการป้องกันตนเองเบื้องต้น

2) หน่วยงานด้านการรักษาพยาบาล

โรงพยาบาลสมเด็จ ณ ศรีราชา รับผิดชอบดูแลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่เทศบาลเมองศรีราชา ให้บริการทั้งผู้ป่วยทั่วไป ผู้ป่วยประกันสังคม และผู้ป่วยตามสิทธิของโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้าของรัฐบาล โรงพยาบาลจัดการมูลฝอยที่เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบ ร่วมกับบริษัทเอกชนที่มีเอกสารรับรองคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและมีใบอนุญาตประกอบกิจการสำหรับจัดเก็บและขนสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย มีการแยกมูลฝอยติดเชื้อทั่วไปและมูลฝอยติดเชื้อโควิด 19 ออกจากกันอย่างชัดเจน โดยจะใส่ถุงแดง 2 ชั้น และเขียนคำว่า “โควิด” และจะมีบริษัทรับจ้างรับไปกำจัดโดยขนส่งไปยังเตาเผาโดยตรง ก่อนเผาทำลาย จะมีการชั่งน้ำหนักเพื่อตรวจสอบและสรุปน้ำหนักมูลฝอยติดเชื้อกับโรงพยาบาลอีกครั้ง และเมื่อนำมูลฝอยติดเชื้อลงจากรถแล้วต้องทำความสะอาดรถทันที

3) ชุมชนเทศบาลเมืองศรีราชา

ผู้นำชุมชนและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เป็นอีกหนึ่งกำลังสำคัญในการจัดการโควิด 19 ในพื้นที่ โดยทำงานร่วมกับเทศบาลเมืองศรีราชาเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดในเขตเทศบาลในการเฝ้าระวังการปฏิบัติตามมาตรการการกักตัว ณ ที่พักอาศัย อาทิ การแยกของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น การแยกขยะที่เกิดจากผู้ป่วย รวมถึงการให้ความรู้ด้านการปฏิบัติตระหว่างกักตัว และชุมชนเองยังร่วมมือกับเทศบาลในการรวบรวมหน้าการอนามัยบรรจุใส่ขวดหรือภาชนะและฉีดยาฆ่าเชื้อแล้วปิดให้สนิท จากนั้นนำไปทิ้งรวมกับมูลฝอยทั่วไปเพื่อรอการกำจัดต่อไป

ถอดบทเรียนแห่งความสำเร็จ

การจัดการมูลฝอยติดเชื้อโควิด 19 คือการประสานงานระหว่างหน่วยงานที่รับผิดชอบและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่องในทุก ๆ ประเด็น และความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งการให้ความรู้กับประชาชนในพื้นที่ทุก ๆ ช่องทาง โดยเฉพาะการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ เพื่อให้ประชาชนมีความตระหนักในการจัดการมูลฝอยติดเชื้ออย่างถูกต้อง และลำพังการประชาสัมพันธ์ที่ดีเพียงอย่างเดียวจะไม่เกิดผลสำเร็จได้เลยหากไม่ได้รับความร่วมมือจากชุมชนและภาคส่วนที่รับผิดชอบ ซึ่งชุมชนเทศบาลเมืองศรีราชาและภาคส่วนที่รับผิดชอบต่างให้ความร่วมมือตั้งแต่ขั้นตอนการคัดแยกขยะไปจนถึงการรับขยะไปกำจัด นอกจากนี้ การสนัับสนุุนงบประมาณจากทางเทศบาลเมืืองศรีีราชาเพื่่อลงทุุนเพิ่มประสิิทธิิภาพการรวบรวมมููลฝอยติดเชื้อให้้ครอบคลุุมทั้งพื้นที่เองก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้การดำเนินงานทั้งหมดเป็นไปได้อย่างราบรื่น เมื่อรวมการประสานงานที่มีประสิทธิภาพ ความร่วมมือจากทุกภาคส่วน และงบประมาณที่เพียงพอเข้าด้วยกัน ทำให้พื้นที่เทศบาลเมืองศรีราชาประสบความสำเร็จในการควบคุมและจัดการมูลฝอยติดเชื้อโควิด 19

จัดทำบทความโดย         นางสาวทัศนธร ภูมิยุทธิ์ นักวิชาการสิ่งแวดล้อมปฏิบัติการ
กลุ่มงานติดตามประเมินสถานการณ์

เอกสารอ้างอิง

เทศบาลเมืองศรีราชา. (2564). ข้อมูลพื้นฐานเทศบาลเมืองศรีราชา. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2565. เว็บไซต์: https://www.srirachacity.go.th/condition.php

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี. (2564). รายงานยอดผู้ติดเชื้อ COVID-19. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2565. เว็บไซต์: http://www.chonburi.go.th/website/project/view37

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2565). รายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2564. กรุงเทพมหานคร.

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content