การขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

“การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” สร้างผลกระทบ สร้างความเสียหายในขอบเขตที่กว้างขึ้นและทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นทุกปี และยังได้ลุกลามไปถึงความหลากหลายทางชีวภาพ ระบบนิเวศ และส่องผลต่อเนื่องเป็นระบบลูกโซ่ไปถึงการพัฒนาทางเศรษฐกิจของทั้งโลก ความเสี่ยงต่อความเป็นอยู่ อาหาร และความมั่นคงของมนุษย์ อีกด้วย

ความตระหนักถึงความเร่งด่วนในการมีส่วนร่วมแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่งผลให้หลายประเทศเร่งหามาตรการในการจัดการกับปัญหานี้ร่วมกัน นำไปสู่การร่วมลงนามในข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) เมื่อ ปี พ.ศ. 2559 โดยมีเป้าหมายร่วมกันในการจำกัดอุณหภูมิไม่ให้เพิ่มสูงขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ 13 ปฏิบัติการอย่างเร่งด่วนเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้น รวมถึงเป็นหน่วยประสานงานกลางของประเทศภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ และได้ขับเคลื่อนประเด็นด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเข้าสู่ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ.2561-2580)    ผลักดันให้นำแผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ.2558-2593 มาใช้เป็นกรอบในการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศใน 3 เรื่องหลัก ได้แก่ การปรับตัวต่อผลกระทบ การลดก๊าซเรือนกระจก และการสร้างขีดความสามารถการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ที่ผ่านมา สผ. ได้จัดทำแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ แผนที่นำทางการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ปี พ.ศ. 2564-2573 และแผนปฏิบัติการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ปี พ.ศ. 2564-2573 รายสาขา เพื่อให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องใช้เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้  และมีการขับเคลื่อนการดำเนินการในด้านต่างๆ เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

ทั้งนี้ ได้ดำเนินการเพื่อการบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจก ผ่านแผนการดำเนินงานลดก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะสมของประเทศ (Nationally Appropriate Mitigation Action: NAMA) ร้อยละ 7-20 ภายในปี พ.ศ. 2563  และจากผลการลดก๊าซเรือนกระจกภาคพลังงานของประเทศ ปี พ.ศ. 2561 มีปริมาณ 57.84  ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (MtCO2) คิดเป็นร้อยละ15.76 สูงกว่าเป้าหมายที่กำหนด

รวมถึงขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (Nationally Determined Contribution : NDC) ภายหลัง ปีพ.ศ. 2563 กำหนดเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงร้อยละ 20 – 25 จากกรณีปกติ ณ ปี พ.ศ. 2573 จากสาขาพลังงานและขนส่ง กระบวนการทางอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ และการจัดการของเสีย ซึ่งขณะนี้ อยู่ระหว่างการจัดทำ NDC ฉบับปรับปรุง (Updated NDC) ของประเทศไทย เพื่อให้สอดคล้องกับแนวปฏิบัติของความตกลงปารีส

ที่ผ่านมา สผ.ได้สื่อสารการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยไปสู่ระดับนานาชาติ โดยประเทศไทยได้รับการจัดให้อยู่ในกลุ่มประเทศภาคีสมาชิกนอกภาคผนวกที่ 1 (Non-Annex I) ของ UNFCCC และได้จัดส่งรายงานแห่งชาติ (National Communication: NC) แล้ว 3 ฉบับ และรายงานความก้าวหน้ารายสองปี ฉบับที่ 3 (Third Biennial Update Report: TBUR) ต่อสำนักเลขาธิการอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เมื่อเดือนธันวาคม ปี 2563

และได้จัดทำระบบสารสนเทศการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย (Thailand Greenhouse Gas Emissions Inventory System: TGEIS) โดยการสนับสนุนจากรัฐบาลออสเตรเลีย เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศ เป็นการยกระดับการจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกโดยใช้วิธีการคำนวณตามคู่มือ IPCC 2006 ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการนำเข้าข้อมูลกิจกรรมสำหรับสาขาที่มีการพัฒนาเรียบร้อยแล้ว และพัฒนาวิธีการจัดเก็บข้อมูลของประเทศ ได้แก่ สาขากระบวนการผลิตอุตสาหกรรมในด้าน F-gas สาขาการใช้ประโยชน์ที่ดิน และสาขาอื่นที่สำคัญ

นอกจากนี้ ยังได้ร่วมกับองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (German International Cooperation: GIZ) สนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไปสู่การดำเนินงานในพื้นที่ หรือการจัดทำแผนในระดับจังหวัด/แผนพัฒนาในระดับท้องถิ่นให้บุคลากรในพื้นที่นำร่อง (สสภ. ทสจ. และเทศบาล) โดยคำนึงถึงความเชื่อมโยงกับบริบทของพื้นที่ ทั้งนี้ โครงการระยะที่ 1 (พ.ศ. 2557-2560) ดำเนินการใน 17 จังหวัด 32 เทศบาล และโครงการระยะที่ 2 (พ.ศ. 2561-2564) ขยายพื้นที่ดำเนินการไปอีก 60 จังหวัด

ร่วมขับเคลื่อนการดำเนินงานการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้านการเงิน โดยเป็นหน่วยประสานงานหลักของกองทุนภูมิอากาศสีเขียว (Green Climate Fund: GCF) ทำหน้าที่ขอรับเงินสนับสนุนจากกองทุน เพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของประเทศ ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐ เอกชน ธุรกิจ และสถาบันการเงินการธนาคาร

ขณะเดียวกัน ยังได้ผลักดันร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. …. เพื่อกำหนดเป้าหมายการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และดำเนินมาตรการเพื่อลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกภายในประเทศให้ได้ตามเป้าหมายที่กำหนด รวมถึงกำหนดนโยบายและเเผนเพื่อยกระดับความสามารถในการปรับตัวและฟื้นตัวจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และส่งเสริมความร่วมมือกับต่างประเทศในการลดปริมาณการสะสมของก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศโลกอีกด้วย

จัดทำและเผยแพร่โดย : กลุ่มงานอำนวยการและประชาสัมพันธ์ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content