เดินหน้าขับเคลื่อนแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน

หลายประเทศทั่วโลก กำลังเผชิญปัญหาสิ่งแวดล้อมรอบด้านในระดับที่เกินขีดความสามารถที่จะรับมือได้ บางพื้นที่กำลังสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ปัญหาระบบนิเวศ วิกฤตภูมิอากาศ ฯลฯ ปัญหาที่เกิดขึ้น มาจากหลากหลายสาเหตุปัจจัย และยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นเมื่อประกอบกับในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่จำนวนประชากรโลกเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ความต้องการใช้ทรัพยากรเพิ่มขึ้นตามไปด้วย โดยเฉพาะปัจจัยบริโภคขั้นพื้นฐาน อาหาร แหล่งน้ำ ที่อยู่อาศัย ที่ดินทำกินสำหรับประกอบอาชีพ

เพื่อรับมือกับปัญหาในระยะยาว ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 70  (The 70th session of the United Nations General Assembly) ณ สำนักงานใหญ่ องค์การสหประชาชาติ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ได้รับรองวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 (The 2030 Agenda for Sustainable Development) โดยกำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 เป้าหมาย  และมุ่งหวังให้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ถูกกำหนดให้เป็นวาระการพัฒนาใหม่ของโลกในช่วงระยะเวลา 15 ปีข้างหน้า (พ.ศ. 2559-2573)

สำหรับประเทศไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นหน่วยงานรับผิดชอบ 4 เป้าหมายหลัก ภายใต้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ได้แก่ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ 12 สร้างหลักประกันให้มีรูปแบบการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน  เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ 13 ปฏิบัติการอย่างเร่งด่วนเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้น  เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ 14 การอนุรักษ์ ใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร ทะเล และทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ 15  ปกป้อง ฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน จัดการป่าไม้ที่ยั่งยืน ต่อสู้การกลายสภาพเป็นทะเลทราย หยุดการเสื่อมโทรมของที่ดินและฟื้นสภาพกลับมาใหม่ และหยุดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เป็นหน่วยงานขับเคลื่อนการดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ 12 และ 13

สผ. ได้ขับเคลื่อนการทำงาน โดยจัดทำนโยบาย แผน และมาตรการแบบบูรณาการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม การรักษาสภาพแวดล้อม สร้างความร่วมมือกับเครือข่ายชุมชน หน่วยงานภาครัฐ เอกชน ในการนำนโยบาย แผน และมาตรการสู่การปฏิบัติ ติดตามประเมิน เสนอแนะและรายงานผลบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สร้างความรู้ความเข้าใจทุกภาคส่วนและสื่อสารเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน สร้างกลไกขับเคลื่อนและสนับสนุนการดำเนินงานของประเทศที่สอดคล้องกับอนุสัญญาระหว่างประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

นอกจากนี้ การดำเนินงานของ สผ. เพื่อสนับสนุนให้เกิดการบรรลุเป้าหมายในการสร้างหลักประกันให้มีรูปแบบการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน ยังได้ร่วมกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง จัดทำแผนขับเคลื่อนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน พ.ศ.2560-2580 เพื่อเป็นกรอบการดำเนินงานด้านการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืนของประเทศไทยให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน สามารถนำไปพิจารณากำหนดแนวทางขับเคลื่อนและสนับสนุนภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยขับเคลื่อนผ่าน 6 ภาคส่วนหลัก ได้แก่ (1) ภาคอุตสาหกรรมการผลิต (2) ภาคเกษตรกรรมและอาหาร (3) ภาคบริการและการท่องเที่ยว (4) ภาคเมืองและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (5) ภาคการจัดซื้อจัดจ้างยั่งยืน และ (6) ภาคการสร้างความตระหนักรู้และการศึกษา รวมถึงได้ติดตามผลการดำเนินงานเป็นประจำทุกปี

ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 มีการดำเนินงานด้านต่าง ๆ อาทิ การส่งเสริมเทคโนโลยีในการลดปริมาณน้ำใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม การหมุนเวียนน้ำและการนำน้ำทิ้งที่ผ่านการบำบัดแล้วมาใช้ใหม่ และพัฒนาบุคลากรภาคอุตสาหกรรมให้มีความรู้ความเข้าใจในการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ การขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืน พื้นที่เกษตรอินทรีย์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของประเทศไทย การประเมินความสูญเสียอาหารผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหารระดับชาติ การเสริมสร้างขีดความสามารถและการสนับสนุนมาตรการลดก๊าซเรือนกระจกภาคอุตสาหกรรม การกำหนดมาตรฐานการระบายมลพิษทางอากาศ โดยคำนึงถึงความสามารถหรือศักยภาพในการรองรับมลพิษภายในนิคมอุตสาหกรรม การจัดการมูลฝอยติดเชื้ออย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ การจัดการของเสียอันตรายตามมาตรฐาน GREEN&CLEAN Hospital การยกระดับผู้ประกอบการจัดการของเสีย และการพัฒนาศักยภาพการใช้ประโยชน์กากของเสียของโรงงานอุตสาหกรรม การรับรองอุตสาหกรรมสีเขียว การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ การรับรองฉลากเขียว ฉลากลดคาร์บอน การประเมิน Green Hotel โครงการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการดำเนินโครงการเพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

ขณะเดียวกัน ยังได้ผลักดันให้มีการเตรียมการจัดเก็บข้อมูลด้านการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพให้เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบ ตามวิธีการที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล โดยร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และผู้เชี่ยวชาญจาก UNEP-IRP-CSIRO ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเพิ่มศักยภาพของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำข้อมูลการบริโภคพื้นฐานต่อการใช้ทรัพยากร (Material Footprint: MF) และข้อมูลการบริโภควัตถุดิบในประเทศ (Domestic Material Consumption: DMC) เพื่อสร้างบุคลากรของประเทศไทยให้เป็นที่ยอมรับในระดับโลก ขณะเดียวกัน ยังได้พัฒนาแนวทางการประเมินค่าการบริโภคพื้นฐานต่อการใช้ทรัพยากร และการบริโภควัตถุดิบในประเทศ สำหรับนำไปวางแผนเพื่อปรับปรุงการใช้ทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่ามากขึ้น

        นอกจากนั้นยังได้ศึกษาแนวทางการจัดการการสูญเสียอาหารเพื่อการบริโภคที่ยั่งยืน ลดขยะเศษอาหารในระดับค้าปลีกและผู้บริโภค ลดการสูญเสียอาหารจากกระบวนการผลิตและห่วงโซ่อุปทาน โดยศึกษาหาแนวทางที่เหมาะสมให้กับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง อาทิ โรงแรม ห้างสรรพสินค้า ร้านอาหารขนาดใหญ่-กลาง-เล็ก ตลาด วัด บ้านเรือน และผู้ที่อาศัยในห้องชุด

รวมถึงส่งเสริมและสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ให้ถอดบทเรียนที่ดีในพื้นที่ ผ่านโครงการลดปริมาณขยะมูลฝอยตั้งแต่ต้นทางให้เหลือศูนย์โดยการมีส่วนร่วม และจัดทำเอกสารเผยแพร่ในเรื่องดังกล่าว สำหรับใช้ประกอบการเรียนรู้และใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติในอนาคต

   และปัจจุบันยังได้ศึกษามาตรการที่เหมาะสมในการใช้มาตรการทางเศรษฐศาสตร์ มาตรการจูงใจ สำหรับสนับสนุนและขับเคลื่อนการบริโภคที่ยั่งยืนที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทยอีกด้วย

จัดทำและเผยแพร่โดย : กลุ่มงานอำนวยการและประชาสัมพันธ์ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content