กองทุนสิ่งแวดล้อม แรงจูงใจเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

  “กองทุนสิ่งแวดล้อม”ได้ถูกจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 เพื่อเป็นกลไกทางการเงินที่สร้างแรงจูงใจให้ทุกภาคส่วน ทั้งส่วนราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน และองค์กรเอกชนด้านสิ่งแวดล้อม เข้ามามีส่วนร่วมเพื่อการป้องกันและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ

แนวคิดของกองทุนฯ เป็นไปตามหลักการ ผู้ก่อให้เกิดมลพิษเป็นผู้จ่าย (Polluter Pays Principle : PPP) ซึ่งให้การสนับสนุนเงินทั้งในลักษณะเงินอุดหนุนและเงินกู้ รวมถึงส่งเสริมและสนับสนุนทางการเงิน เพื่อให้มีการดำเนินกิจกรรมด้านการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ตามนโยบายและยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศ ที่มีจุดมุ่งหมายไปสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs)

ที่ผ่านมา กองทุนสิ่งแวดล้อมได้ขับเคลื่อนกลไกทางการเงินที่สร้างแรงจูงใจให้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติของประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยได้สนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำเป็นพิเศษ ร้อยละ 2-3 ต่อปี ให้กับภาคเอกชนเพื่อดำเนินโครงการด้านการจัดการน้ำเสีย อากาศเสีย และของเสีย รวมจำนวน 51 โครงการ ในวงเงินกว่า 2,400 ล้านบาท และจัดสรรเงินอุดหนุนเพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้กับภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อดำเนินโครงการด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง รวมจำนวนกว่า 1,600 โครงการ
ในวงเงินกว่า 13,700 ล้านบาท (ข้อมูลปีงบประมาณ พ.ศ. 2563)

สนับสนุนเงินกู้ให้แก่ภาคเอกชนในการจัดการเชื้อเพลิงชีวมวลและมลภาวะทางอากาศ ของบริษัท เอเบิล อิสเทิร์น พาเลท จำกัด เพื่อลดกากของเสียหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว เช่น เศษไม้ เศษฟืน ขี้กบ ขี้เลื่อย และฝุ่นละออง ที่มีผลกระทบต่อมลภาวะทางอากาศและชุมชนโดยรอบ อีกทั้งยังช่วยให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงานในโรงงาน จนกลายเป็นส่วนหนึ่งในกลไกจัดการสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนของจังหวัดชลบุรี

ขณะเดียวกัน ได้สนับสนุนเงินอุดหนุนให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อจูงใจให้ชุมชนเข้ามาร่วมดำเนินโครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนคัดแยกขยะที่ต้นทาง ชุดที่ 1 จำนวน 566 แห่ง ชุดที่ 2 จำนวน 65 แห่ง และ ชุดที่ 3 จำนวน 645 แห่ง เพื่อขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาการจัดการขยะที่เป็นวาระแห่งชาติ และสร้างวินัยของคนในชาติ ด้วยการสร้างความตระหนักให้ประชาชนในการคัดแยกและจัดการขยะอินทรีย์ ขยะรีไซเคิล ขยะอันตราย และขยะทั่วไป ตั้งแต่ในระดับครัวเรือน

นอกจากนี้ ยังให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน รวม 69 โครงการ ประกอบด้วย การสนับสนุนเงินอุดหนุนให้สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด 17 จังหวัดภาคเหนือ และ 3 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อดำเนินโครงการบริหารจัดการเชื้อเพลิง “ชิงเก็บ ลดเผา” ในวงเงิน 42 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 1 ปี (ระหว่าง พ.ศ. 2564 – 2565) ในการจัดเก็บเชื้อเพลิงในพื้นที่ป่าให้ได้ไม่น้อยกว่า 1,300 ตัน พร้อมทั้งหาแนวทางในการนำเชื้อเพลิงไปใช้ประโยชน์ให้กับชุมชน และการผลิตปุ๋ยหมัก โดยตั้งเป้าหมายไว้ที่ 100 ตันต่อปี

ที่ผ่านมา กองทุนสิ่งแวดล้อมได้สร้างสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังไฟป่าประมาณ 180 เครือข่าย เพื่อช่วยลดจุดความร้อน (Hot Spot) ลงได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 รวมถึงสนับสนุนเงินอุดหนุนให้แก่ เครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน (ทสม.) 49 แห่ง ในพื้นที่ 16 จังหวัดภาคเหนือ ในการดำเนินโครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเครือข่าย ทสม. ในการจัดการปัญหาไฟป่าและหมอกควัน วงเงินรวม 24 ล้านบาท ภายในระยะเวลาดำเนินการ 1 ปี 6 เดือน (ระหว่าง พ.ศ. 2564 – 2565)
เพื่อเสริมสร้างศักยภาพและความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน ในการสร้างเครือข่ายในการเฝ้าระวังไฟป่าและดูแลป่า ไม่น้อยกว่า190 เครือข่าย การร่วมกันกำหนดแผน กฎ กติกา ในการบริหารจัดการไฟป่า ไม่น้อยกว่า 130 ฉบับ และดูแลเฝ้าระวังไฟป่าในพื้นที่กว่า 300,000 ไร่ การทำฝายชะลอน้ำกว่า 323 ฝาย จัดทำแนวกันชนกว่า 600 กิโลเมตร รวมทั้งการเพิ่มพื้นที่สีเขียวและความชุ่มชื้นให้แก่ผืนป่า ด้วยการปลูกต้นไม้เพิ่มกว่า 70,000 ต้น

นอกจากนั้น ยังได้สนับสนุนโครงการด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ ในพื้นที่รอบป่ามรดกโลกดงพญาเย็น – เขาใหญ่ ฝั่งตะวันออก ที่ดำเนินการโดย มูลนิธิพัฒนาอีสาน โดยส่งเสริมให้กำหนดแนวทางในการบริหารจัดการทรัพยากรป่าอย่างยั่งยืน การใช้พลังงานทางเลือก การทำเกษตรกรรมยั่งยืน และการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ในพื้นที่ 18 หมู่บ้าน ของจังหวัดบุรีรัมย์ และจังหวัดสระแก้ว ในวงเงิน 5 ล้านบาท ระยะเวลา 3 ปี (พ.ศ. 2563 – 2566) และสนับสนุนให้สมาคมลุ่มน้ำสายบุรี ดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพองค์กรชุมชนและเครือข่ายเพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูพรุลานควายอย่างยั่งยืนใน 7 ชุมชน 3 ตำบล 2 อำเภอ ในจังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในสถานการณ์ปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ในวงเงิน 4.37 ล้านบาท ระยะเวลา 2 ปี (พ.ศ. 2564 – 2566)

ผลสำเร็จจากการสนับสนุนของกองทุนสิ่งแวดล้อมมีรางวัลสำคัญ ๆ หลายด้าน การันตี เช่น รางวัลทุนหมุนเวียน จากกรมบัญชีกลาง โดยได้รับรางวัลทุนหมุนเวียนดีเด่น พ.ศ. 2560 ประเภททุนหมุนเวียนที่มีผลการดำเนินงานดีเด่น และรางวัลทุนหมุนเวียนดีเด่น พ.ศ.2563 ประเภททุนหมุนเวียนที่มีการพัฒนาดีเด่น ได้รับรางวัลเลิศรัฐ จากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ สาขาบริการภาครัฐ ประเภทเปิดใจ ใกล้ชิดประชาชน ประจำปี พ.ศ. 2561 และ รางวัลเลิศรัฐ ระดับดี สาขาคุณภาพการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ประจำปี พ.ศ. 2563 รวมทั้งได้รับรางวัลเลิศรัฐ ระดับดี สาขาบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ประจำปี
พ.ศ. 2563 และประจำปี พ.ศ. 2564 ต่อเนื่อง 2 ปีซ้อน

กองทุนสิ่งแวดล้อม ได้ตั้งเป้าที่จะขับเคลื่อนกลไกทางการเงินที่สร้างแรงจูงใจในการพัฒนาที่ยั่งยืน ในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมเร่งด่วนระดับพื้นที่ และสร้างเครือข่ายความร่วมมือและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้กับองค์กร ทั้งในและระหว่างประเทศ เพื่อการดำเนินโครงการด้านการปรับตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอีกด้วย

จัดทำและเผยแพร่โดย

กลุ่มงานอำนวยการและประชาสัมพันธ์ / สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content