กรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า

                กรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า เป็นสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมอีกประเภท ที่ สผ. ได้ดำเนินงานขับเคลื่อนมาอย่างต่อเนื่อง ในฐานะสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ และเมืองเก่า ภายใต้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ และเมืองเก่า พ.ศ. ๒๕๔๖  ที่รัฐบาลให้ความสำคัญ โดยกำหนดนโยบาย แผนงาน มาตรการ และแนวทางเกี่ยวกับการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ และเมืองเก่า อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งส่งเสริมให้ภาคเอกชนและประชาชนได้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ และเมืองเก่า เพื่อให้กรุงรัตนโกสินทร์ และเมืองเก่าเป็นมรดกด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติตลอดไป รวมทั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของประเทศ 

                   การดำเนินงานเริ่มแรก ในบริเวณกรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๑ โดยมีการกำหนดมาตรการ แนวนโยบายการใช้ที่ดินบริเวณกรุงรัตนโกสินทร์ชั้นใน และบริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งธนบุรี ตรงข้ามบริเวณกรุงรัตนโกสินทร์ชั้นใน ที่มุ่งเน้นการส่งเสริมให้มีพื้นที่โล่งว่างสีเขียว การอนุรักษ์โบราณสถานและสถาปัตยกรรมที่มีคุณค่า และการลดความหนาแน่นแออัดของอาคาร สถานที่ และการจราจร ตลอดจนการกำหนดมาตรการควบคุมการก่อสร้างอาคารของภาครัฐบาล รัฐวิสาหกิจฯ ภายในบริเวณกรุงรัตนโกสินทร์ และในส่วนของภาคเอกชน กรุงเทพมหานครได้นำไปออกเป็นข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ๓ ฉบับ เรื่อง กำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง ใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภท ภายในบริเวณกรุงรัตนโกสินทร์ชั้นใน ชั้นนอก และบริเวณฝั่งธนบุรีตรงข้ามบริเวณกรุงรัตนโกสินทร์ฯ นอกจากนี้ ได้มีการจัดทำแผนอนุรักษ์และปรับปรุงสิ่งก่อสร้างภายในบริเวณกรุงรัตนโกสินทร์ แยกเป็นสิ่งก่อสร้างที่ควรอนุรักษ์ และปรับปรุง ๑๑ ประเภท (ได้แก่ ประเภทพระบรมมหาราชวัง พระราชวัง วัง และวัดในเขตพระราชวัง ประเภทศาสนสถาน ประเภทศาล  ประเภทอนุสาวรีย์ ประเภทป้อมและกำแพงเมือง ประเภทอาคารของทางราชการ ประเภทสวนสาธารณะ ประเภทอาคารร้านค้า และประเภทคลอง) การจัดทำแผนแม่บทเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ แผนแม่บทและแผนปฏิบัติการอนุรักษ์และพัฒนาบริเวณฝั่งธนบุรีตรงข้ามบริเวณกรุงรัตนโกสินทร์ (โดยคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ เมื่อวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๔๐ และ ๒ พฤษภาคม ๒๕๔๓) ตราบถึงปัจจุบันได้มีการทบทวนแผนแม่บทฯ ที่ผ่านมา และ สผ. ได้จัดทำแผนผังแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ เพื่อให้หน่วยงานและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมกันบูรณาการดำเนินงานอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ โดยมีเป้าหมายระยะเวลาดำเนินงานของแผนผังแม่บทฯ ถึงปี พ.ศ. ๒๕๗๕ ซึ่งเป็นปีที่กรุงรัตนโกสินทร์ครบรอบ ๒๕๐ ปี  โดย สผ. ยังคงสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

                   นอกจากพื้นที่กรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นต้นแบบการอนุรักษ์เมืองเก่าที่เป็นเมืองหลวงของประเทศไทยแล้ว คณะกรรมการฯ ได้ให้ความสำคัญกับพื้นที่เมืองเก่าที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมสำคัญของประเทศ ซึ่งได้มีการประกาศเขตพื้นที่เมืองเก่า โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีแล้ว ๓๖ เมือง และมีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่า รายเมือง ซึ่งประกอบด้วยภาคส่วนต่างๆ  เพื่อเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนดำเนินงานอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าในพื้นที่  การดำเนินการกำหนดขอบเขตพื้นที่เมืองเก่าโดยกระบวนการมีส่วนร่วมและการยอมรับของจังหวัดและประชาชนในพื้นที่ เพื่อประกาศเขตพื้นที่เมืองเก่าตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ รวมทั้งได้ขับเคลื่อนการดำเนินงานให้สอดคล้องกับบริบทของเมืองเก่าแต่ละเมือง ได้แก่ การจัดทำแผนแม่บทและผังแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนาบริเวณเมืองเก่า การสร้างมาตรการและแรงจูงใจในการอนุรักษ์อาคาร สถานที่สำคัญ การเสริมสร้างการรับรู้และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างคณะอนุกรรมการฯ เมืองเก่า รายเมือง และเครือข่ายภาคีที่เกี่ยวข้อง การให้ความเห็นและกลั่นกรองโครงการก่อสร้างหรือการพัฒนาที่จะดำเนินการในพื้นที่เมืองเก่า ทั้งนี้ สผ. มุ่งเน้นสนับสนุนการดำเนินงานและพัฒนากลไก เครื่องมือ ทั้งระดับนโยบายและระดับพื้นที่ ที่สอดคล้องบริบทกับเมืองเก่าที่มีชีวิต ตามหลักการอนุรักษ์และพัฒนามรดกทางวัฒนธรรมในระดับสากล โดยมีเป้าหมายร่วมกันเพื่อให้เกิดความยั่งยืน สืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมของพื้นที่เมืองเก่าต่อไปยังรุ่นลูกหลาน และสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้คน ควบคู่ไปกับการใช้ประโยชน์ที่สอดคล้องกับยุคสมัย ตัวอย่างที่น่าภาคภูมิใจ ในหลายพื้นที่ได้มีการสร้างเครือข่ายต่างๆ ในการดำเนินงานอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่า เกิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การบูรณาการดำเนินงานระหว่างหน่วยงาน การฟื้นคืนวิถีชีวิต วัฒนธรรมและเศรษฐกิจชุมชน โดยคนรุ่นใหม่ให้ความใส่ใจกลับมาพัฒนาอาคารที่อยู่อาศัยเพื่อประกอบธุรกิจภายในชุมชน และการนำไปสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของประเทศ

(หมายเหตุ : เมืองเก่า ๓๖ เมือง ได้แก่ เมืองเก่าน่าน เมืองเก่าเชียงใหม่ เมืองเก่าลำปาง เมืองเก่ากำแพงเพชร เมืองเก่าลพบุรี เมืองเก่าพิมาย เมืองเก่านครศรีธรรมราช เมืองเก่าสงขลา เมืองเก่าลำพูน เมืองเก่าแพร่ เมืองเก่าเพชรบุรี เมืองเก่าจันทบุรี เมืองเก่าปัตตานี เมืองเก่าเชียงราย เมืองเก่าสุพรรณบุรี เมืองเก่าระยอง เมืองเก่าบุรีรัมย์ เมืองเก่าตะกั่วป่า เมืองเก่าพะเยา เมืองเก่าตาก เมืองเก่านครราชสีมา เมืองเก่าสกลนคร เมืองเก่าสตูล เมืองเก่าสุรินทร์ เมืองเก่าราชบุรี เมืองเก่าภูเก็ต เมืองเก่าระนอง เมืองเก่าแม่ฮ่องสอน เมืองเก่ากาญจนบุรี เมืองเก่ายะลา เมืองเก่านราธิวาส เมืองเก่าพิษณุโลก เมืองเก่าร้อยเอ็ด เมืองเก่าอุทัยธานี เมืองเก่าฉะเชิงเทรา และเมืองเก่าตรัง)

จัดทำและเผยแพร่โดย

กลุ่มงานอำนวยการและประชาสัมพันธ์ / สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content