แหล่งมรดกโลก

แหล่งมรดกโลก (World Heritage Site) คือ พื้นที่หรือจุดหลัก (Landmark) ที่ได้รับคัดเลือกจากยูเนสโก เพราะมีลักษณะสำคัญทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือด้านอื่น และได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายตามสนธิสัญญา สถานที่เหล่านี้ถือว่าสำคัญต่อประโยชน์โดยรวมของมนุษยชาติ

ในปัจจุบัน (กรกฎาคม 2562) มีมรดกโลกทั้งหมด 1,121 แห่ง ใน 167 ประเทศทั่วโลก แบ่งเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม 869 แห่ง มรดกโลกทางธรรมชาติ 213 แห่ง และอีก 39 แห่งเป็นแบบผสมทั้งสองประเภท โดยอิตาลีและจีนเป็นประเทศที่มีจำนวนแหล่งมรดกโลกมากที่สุด คือ 55 แห่ง รองลงมาคือสเปน (48 แห่ง) เยอรมนี (46 แห่ง) และฝรั่งเศส (45 แห่ง) แม้ว่ายูเนสโกจะอ้างอิงถึงมรดกโลกแต่ละแห่งด้วยหมายเลข แต่การขึ้นทะเบียนในหลายครั้งก็จะผนวกเอามรดกโลกที่ได้ขึ้นทะเบียนไปแล้วเข้าเป็นส่วนหนึ่งของมรดกโลกที่มีพื้นที่มากขึ้น ดังนั้นจึงมีหมายเลขมรดกโลกเกิน 1,200 แม้ว่าจะมีจำนวนมรดกโลกน้อยกว่าก็ตาม

ในส่วนแหล่งมรดกโลกของประเทศไทยนั้น มีสถานที่ที่ได้ขึ้นทะเบียนแล้วทั้งสิ้น 5 แห่ง ประกอบด้วยแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม 3 แห่ง และทางธรรมชาติอีก 2 แห่ง

แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม

แหล่งที่ตั้งพื้นที่ (แฮกตาร์)ปีขึ้นทะเบียน (พ.ศ./ค.ศ.)รายละเอียด
นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาพระนครศรีอยุธยา
14°20′52″N 100°33′38″E
2892534/1991กรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองหลวงแห่งที่สองของชาวสยามต่อจากสุโขทัย ถูกทำลายโดยกองทัพพม่าในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซากปรักหักพังสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ อาทิ ปรางค์ และอารามขนาดใหญ่แสดงถึงความงดงามและความเจริญรุ่งเรืองในอดีต
เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวารสุโขทัยและกำแพงเพชร
17°0′26″N 99°47′23″E
11,8522534/1991สุโขทัยเป็นเมืองหลวงแห่งแรกของชาวสยามในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 13 และ 14 สิ่งก่อสร้างจำนวนมากแสดงถึงจุดเริ่มต้นของสถาปัตยกรรมไทย ประกอบด้วยอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย และกำแพงเพชร
แหล่งโบราณคดีบ้านเชียงอุดรธานี
17°32′55″N 103°47′23″E
642535/1992เป็นที่ตั้งถิ่นฐานยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แสดงให้เห็นถึงก้าวสำคัญของวิวัฒนาการทางวัฒนธรรมสังคมและเทคโนโลยีของมนุษย์ อาทิ การเกษตร การผลิต และการใช้โลหะ

แหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ

แหล่งที่ตั้งพื้นที่ (แฮกตาร์)ปีขึ้นทะเบียน (พ.ศ./ค.ศ.)รายละเอียด
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้งกาญจนบุรี ตาก และอุทัยธานี
15°20′N 98°55′E
622,2002534/1991ประกอบด้วยผืนป่าเกือบทุกประเภทที่มีในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นบ้านของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ 77% (โดยเฉพาะช้างและเสือ) 50% ของนกขนาดใหญ่ และ 33% ของสัตว์มีกระดูกสันหลังบกที่พบในภูมิภาคนี้
ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่สระบุรี นครราชสีมา นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว และบุรีรัมย์
14°20′N 102°3′E
615,5002548/2005
เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์กว่า 800 ชนิด ได้แก่ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำนวน 112 สายพันธุ์ (รวมทั้งสัตว์น้ำสองสายพันธุ์) สัตว์ชนิดนก 392 สายพันธุ์ และสัตว์เลื้อยคลานกว่า 200 สายพันธุ์ มีระบบนิเวศป่าเขตร้อนที่สำคัญซึ่งสามารถเป็นที่อยู่อาศัยเพื่อการอยู่รอดในระยะยาวของสัตว์สายพันธุ์เหล่านี้

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy