สผ. ร่วมกับสมาชิกอาเซียนแสดงเจตนารมณ์กับประเทศมุ่งสู่เป้าหมายกรอบงานความหลากหลายทางชีวภาพของโลกหลังปี ค.ศ. 2020

สผ. ร่วมกับสมาชิกอาเซียนแสดงเจตนารมณ์กับประเทศมุ่งสู่เป้าหมายกรอบงานความหลากหลายทางชีวภาพของโลกหลังปี ค.ศ. 2020

เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2565 ณ นครมอนทรีออล ประเทศแคนาดา สผ. โดยกองจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ ในฐานะหน่วยประสานงานกลางคณะทำงานอาเซียนด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ ร่วมแสดงเจตนารมณ์กับประเทศสมาชิกอาเซียน ในการดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าประสงค์และเป้าหมายของกรอบงานความหลากหลายทางชีวภาพของโลกหลังปี ค.ศ. 2020 ในการประชุม อาเซียนมุ่งสู่เป้าหมายกรอบงานความหลากหลายทางชีวภาพของโลกหลังปี ค.ศ. 2020 ซึ่งศูนย์อาเซียนว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นระหว่างการประชุม CBD COP15 โดยได้รับเกียรติจากรองเลขาธิการอาเซียนด้านสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนกล่าวเปิดและเป็นประธานการประชุมฯ และมีผู้แทนจากประเทศสมาชิกอาเซียนและ Pew Charitable Trusts เข้าร่วมการประชุมฯ ในการนี้ ประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ได้นำเสนอการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพในภูมิภาค พร้อมทั้งแสดงจุดยืนของอาเซียนเกี่ยวกับการบรรลุเป้าหมายกรอบงานความหลากหลายทางชีวภาพของโลกหลังปี ค.ศ. 2020 โดยมุ่งเน้นความสำคัญของการเพิ่มพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงทั้งในรูปแบบพื้นที่คุ้มครองและพื้นที่ที่มีการบริหารจัดการด้านความหลากหลายทางชีวภาพอย่างมีประสิทธิภาพ อาทิ อุทยานมรดกอาเซียน การจัดการระบบนิเวศเมืองเพื่อให้ความหลากหลายทางชีวภาพสามารถส่งเสริมคุณภาพชีวิตของชุมชนเมือง และการจัดการระบบนิเวศเกษตรเพื่อให้เกษตรกรสามารถอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพควบคู่กับการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน พร้อมกันนี้ ประเทศสมาชิกอาเซียนยังเห็นว่า ความร่วมมือของประชาคมโลกในรูปแบบไร้พรมแดนเป็นปัจจัยสำคัญที่สามารถหยุดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพได้ตามเป้าหมายของกรอบงานความหลากหลายทางชีวภาพของโลกหลังปี ค.ศ. 2020 ในการนี้ ประเทศสมาชิกอาเซียนจึงแสวงหาความร่วมมือกับประชาคมโลกในการดำเนินงานดังกล่าว อาทิ ความร่วมมือ High Ambition Coalition for Nature and People (HAC) ซึ่งมุ่งเน้นการเพิ่มพื้นที่คุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเล ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของโลก แต่อัตราส่วนของพื้นที่ที่ได้รับการดูแลด้านความหลากหลายทางชีวภาพน้อย โดยปัจจุบันมีประเทศสมาชิกอาเซียนเข้าร่วม HAC แล้ว 3 ประเทศได้แก่ กัมพูชา ฟิลิปปินส์ และไทย ส่วนประเทศที่เหลืออยู่ระหว่างการพิจารณา

#ForNature #COP15
#Biodiversity
#EcologicalCivilization
#ThailandForNature

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy