พื้นที่สีเขียว
พื้นที่สีเขียว หมายถึง พื้นที่ธรรมชาติ หรือพื้นที่ที่มนุษย์สร้างขึ้นหรือกําหนดขึ้นในเมืองหรือชุมชนปกคลุมด้วยพืชพรรณเป็นองค์ประกอบหลัก มีประโยชน์เพื่อสิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศการดํารงชีวิต และคุณภาพชีวิตของประชาชน
พื้นที่สีเขียวยั่งยืน หมายถึง พื้นที่สีเขียวที่มีพืชพรรณที่มีความหลากหลาย ทั้งชนิดและปริมาณ โดยมีไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ เป็นองค์ประกอบหลักและได้รับการดูแลบํารุงรักษาให้คงอยู่ อย่างยั่งยืน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสมดุลทางระบบนิเวศ เกิดสภาพแวดล้อมที่ ดี สวยงาม ร่มเย็น น่าอยู่ และเพิ่มองค์ประกอบของการใช้ประโยชน์ที่ดินทั้งทางตรงและทางอ้อม แก่การยกระดับคุณภาพชีวิตของประชากรในเมืองและชุมชน ผู้มาเยือน ตลอดจนเสริมสร้างเศรษฐกิจของชุมชน
พื้นที่สีเขียว แบ่งออกเป็น 6 ประเภท ตามคุณลักษณะและการใช้ประโยชน์ ได้แก่
- พื้นที่สีเขียวสาธารณะเช่น สวนสาธารณะ สวนพฤกษศาสตร์ สนามเด็กเล่น
- พื้นที่สีเขียวอรรถประโยชน์ ประกอบด้วย
- พื้นที่สีเขียวส่วนบุคคล เช่น สวนในโครงการพัฒนาของเอกชน สวนในบ้านและอาคารพักอาศัย
- พื้นที่สีเขียวในสถาบัน เช่น แหล่งประวัติศาสตร์ สถาบันการศึกษา สถาบันราชการ
- พื้นที่สีเขียวในพื้นที่สาธารณูปการ เช่น พื้นที่ฝังกลบขยะ พื้นที่รอบบ่อบําบัดน้ําเสีย เขตท่าอากาศยาน
- พื้นที่สีเขียวที่เป็นริ้วยาวตามแนวสาธารณูปการ เช่น พื้นที่ริมทางสัญจรทางบกบริเวณริมทาง เกาะกลางถนน เขตทางรถไฟ และพื้นที่ริมทางสัญจรทางน้ํา บริเวณริมแม่น้ํา คลองชลประทาน
- พื้นที่สีเขียวเพื่อเศรษฐกิจของชุมชน เช่น พื้นที่สีเขียวที่เป็นแหล่งผลิตอาหารแก่ชุมชน ประเภท ไร่นา สวนผลไม้ พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
- พื้นที่สีเขียวธรรมชาติ เช่น พื้นที่สีเขียวบนเนินเขา พรุ แหล่งน้ำ พื้นที่ชุ่มน้ำ
- พื้นที่สีเขียวที่ยังไม่มีการใช้ประโยชน์ หรือรอการพัฒนา เช่น พื้นที่สีเขียวที่ปล่อยรกร้าง
อนึ่ง พื้นที่สีเขียวประเภทดังกล่าวข้างต้น ไม่ได้ถูกจํากัดด้วย “สี” การใช้ประโยชน์ ที่ดินตามการผังเมือง กล่าวคือ สามารถตั้งอยู่ในบริเวณทั่วไป ทั้งนี้ ในมาตรฐานสัญลักษณ์ การใช้ประโยชน์ที่ดินของกรมโยธาธิการและผังเมือง พ.ศ. 2549 ได้กําหนดนิยาม “เขตสีเขียว” ประเภทต่าง ๆ ดังนี้
- เขตสีเขียวกําหนดเป็นที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม
- เขตสีขาวและมีกรอบเส้นทแยงสีเขียว กําหนดเป็นที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม
- เขตสีเขียวและมีกรอบเส้นทแยงสีน้ําตาล กําหนดเป็นที่ดินประเภทปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
- เขตสีเขียวมีกรอบและเส้นทแยงสีขาว กําหนดเป็นที่ดินประเภทอนุรักษ์สภาพแวดล้อมเพื่อการท่องเที่ยว
- เขตสีเขียวอ่อน กําหนดเป็นที่ดินประเภทที่โล่งเพื่อนันทนาการและการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
- เขตสีเขียวอ่อนมีกรอบและเส้นทแยงสีขาว กําหนดเป็นที่ดินประเภทที่โล่งเพื่อนันทนาการการเลี้ยงสัตว์ และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
- เขตสีเขียวอ่อนมีกรอบและเส้นทแยงสีเขียว กําหนดเป็นที่ดินประเภทสงวนเพื่อนันทนาการและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
- เขตสีเขียวอ่อนมีเส้นทแยงสีขาว กําหนดเป็นที่ดินประเภทอนุรักษ์ป่าไม้
- เขตสีเขียวมะกอก กําหนดเป็นที่ดินประเภทสถาบันการศึกษา
เว็บไซต์ กองสิ่งแวดล้อมชุมชนและพื้นที่เฉพาะ