พื้นที่สงวนชีวมณฑล

หัวใจสำคัญของพื้นที่สงวนชีวมณฑล คือ ต้องมี ‘มนุษย์’ อยู่ร่วมกับ ‘ธรรมชาติ’ มีการบริหารจัดการพื้นที่ และการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติอย่างยั่งยืน พื้นที่สงวนชีวมณฑลทั้ง 5 แห่งในประเทศไทย จึงถือเป็นตัวอย่างที่ดีมีการสะท้อนให้เห็นถึงการบริหารจัดการพื้นที่ที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพโดยไม่แยก ‘มนุษย์’ ออกจาก ‘ธรรมชาติ’ ตามหลักสิทธิชุมชนที่มองมิติด้านสังคม วัฒนธรรมของชุมชนท้องถิ่นสัมพันธ์กับป่าอย่างเป็นระบบ

เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2564 ในการประชุมสภาประสานงานระหว่างชาติว่าด้วยโครงด้านมนุษย์และชีวมณฑล (International Co-ordinating Council on the Man and the Biosphere Programme: MAB-ICC) ครั้งที่ 33 ทางยูเนสโก (UNESCO) ได้ขึ้นทะเบียน ดอยหลวงเชียงดาว เป็น พื้นที่สงวนชีวมณฑลแห่งใหม่ของโลก และเป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑลแห่งที่ 5 ของประเทศไทย บางท่านอาจจะยังสงสัยกันอยู่ว่า พื้นที่สงวนชีวมณฑลคืออะไร และมีความสำคัญอย่างไรต่อความหลากหลายทางชีวภาพ     

มนุษย์ต่างมีความต้องการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต รวมทั้งเป็นปัจจัยในการผลิตเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันให้ทัดเทียมกับนานาประเทศ หากไม่คำนึงถึงขีดจำกัดของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อาจส่งผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ และทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัด รวมทั้งคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรมลงด้วย จึงเกิความพยายามที่จะสร้างสมดุลระหว่างความต้องการใช้ทรัพยากรธรรมชาติกับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรมท้องถิ่น พื้นที่สงวนชีวมณฑล (ฺBiosphere Reserve) เป็นพื้นที่ที่มีระบบนิเวศที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ ภายใต้โครงการมนุษย์และชีวมณฑล (Man and the Biosphere Programme-MAB) ของ ยูเนสโก ที่มีคุณค่าต่อการอนุรักษ์ความหลากหลายของพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ และระบบนิเวศ ที่สามารถส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมได้อย่างยั่งยืน ถูกกำหนดให้มีบทบาทหน้าที่หลัก
3 ประการ ได้แก่

  1. การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และความหลากหลายทางวัฒนธรรม
  2. การพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะชุมชนท้องถิ่น บนฐานของความยั่งยืน
  3. สนับสนุนกรสร้างองค์ความรู้ การศึกษาวิจัย การบริหารจัดการ รวมทั้งเผยแพร่ตัวอย่างและบทเรียนที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานของพื้นที่สงวนชีวมณฑล

ประเทศไทยเข้าร่วมโครงการครั้งแรกตั้งแต่ พ.ศ. 2519 ปัจจุบันมีพื้นที่ที่ได้รับการประกาศเป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑล 5 แห่ง ได้แก่

  1. พื้นที่สงวนชีวมณฑลสะแกราช จังหวัดนครราชสีมา ประกาศเมื่อ พ.ศ. 2519 ปัจจุบันรับผิดชอบกิจกรรมโดย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยสิ่งแวดล้อมในป่าเขตร้อน และเป็นสถานที่ศึกษาค้นคว้า วิจัยระบบนิเวศเป็นป่าดิบแล้งและป่าเต็งรัง
  2. พื้นที่สงวนชีวมณฑลแม่สา – คอกม้า จังหวัดเชียงใหม่ ประกาศเมื่อ พ.ศ. 2520 ปัจจุบันรับผิดชอบกิจกรรมโดย กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช มีบทบาทสำคัญในการศึกษา วิจัยทางด้านลุ่มน้ำธรรมชาติและอุทกวิทยา เป็นต้นแบบของการจัดการต้นน้ำ รวมทั้งเป็นแหล่งที่มีความหลากหลายทางชีวภาพทั้งชนิดพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์
  3. พื้นที่สงวนชีวมณฑลป่าสักห้วยทาก จังหวัดลำปาง ประกาศเมื่อ พ.ศ. 2520 ปัจจุบันรับผิดชอบกิจกรรมโดย กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นแหล่งป่าไม้สักธรรมชาติ และีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและคุณค่าในฐานะแหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ ได้แก่ แหล่งภาพเขียนสีประตูผา และแหล่งภาพเขียนโบราณบ้านห้วยหก
  4. พื้นที่สงวนชีวมณฑลระนอง จังหวัดระนอง ประกาศเมื่อ พ.ศ. 2540 ปัจจุบันรับผิดชอบกิจกรรมโดย กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง มีระบบนิเวศป่าชายเลน ซึ่งมีความสำคัญต่อการรักษาสมดุลของสภาพแวดล้อมชายฝั่งทะเล เป็นแนวป้องกันลมพายุ และแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำนานาชนิด
  5. พื้นที่สงวนชีวมณฑลดอยหลวงเชียงดาว ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเชียงดาว และอำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ ดอยหลวงเชียงดาวมีระบบนิเวศภูเขาหินปูนที่สำคัญของประเทศไทย มีพืชกึ่งอัลไพน์ที่เชื่อมโยงกับสังคมพืชในเทือกเขาหิมาลัย ทางตอนใต้ของจีน และยังเป็นถิ่นอาศัยของพรรณไม้กว่า 2,000 ชนิด หรือคิดเป็น 20% ของพรรณไม้ในประเทศไทย เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ป่าสงวน ได้แก่ กวางผาและเลียงผา รวมถึงสัตว์ป่าคุ้มครองอีกหลายชนิด และมีความเป็นไปได้สูงที่จะค้นพบพืชและสัตว์ชนิดพันธุ์ใหม่ของโลกได้ นอกจากนี้ ดอยหลวงเชียงดาวเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม มีกลุ่มชาติพันธุ์ ได้แก่ ชาวไทยใหญ่ ม้ง มูเซอ ปกาเกอะญอ อาศัยอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ ถือเป็นแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรมล้านนาที่สำคัญ  อีกทั้ง ดอยหลวงเชียงดาวยังมีศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในพื้นที่ โดยมีการจัดการผลกระทบจากการท่องเที่ยวที่เข้มข้น เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ การจัดการพื้นที่คุ้มครอง และแหล่งเรียนรู้ด้านการจัดการทรัพยากรและระบบนิเวศต้นน้ำด้วยชุมชน

หัวใจสำคัญของพื้นที่สงวนชีวมณฑล คือ ต้องมี ‘มนุษย์’ อยู่ร่วมกับ ‘ธรรมชาติ’ มีการบริหารจัดการพื้นที่ และการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติอย่างยั่งยืน พื้นที่สงวนชีวมณฑลทั้ง 5 แห่งในประเทศไทย จึงถือเป็นตัวอย่างที่ดีมีการสะท้อนให้เห็นถึงการบริหารจัดการพื้นที่ที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพโดยไม่แยก ‘มนุษย์’ ออกจาก ‘ธรรมชาติ’ ตามหลักสิทธิชุมชนที่มองมิติด้านสังคม วัฒนธรรมของชุมชนท้องถิ่นสัมพันธ์กับป่าอย่างเป็นระบบ

จัดทำบทความโดย นางสาวอัฏฐารจ ชาวชน
นักวิชาการสิ่งแวดล้อมปฏิบัติการ กองติดตามประเมินผลสิ่งแวดล้อม

เอกสารอ้างอิง

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. “พื้นที่สงวนชีวมณฑลระนอง”. [ออนไลน์] สืบค้นเมือวันที่ 10 มกราคม 2566 จาก https://www.dmcr.go.th/detailAll/44192/nws/22.

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช . “ทำความรู้จักกับพื้นที่สงวนชีวมณฑล”.  [ออนไลน์] สืบค้นเมือวันที่ 10 มกราคม 2566 จากhttps://m.facebook.com/DNP1362/photos/a.1609578269357075/2926463054335250/.

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว. “พื้นที่สงวนชีวมณฑล”. [ออนไลน์] สืบค้นเมือวันที่ 10 มกราคม 2566 จาก https://www.chiangdao-biosphere.com/.

โครงการมนุษย์และชีวมณฑล พื้นที่สงวนชีวมณฑลแม่สา-คอกม้า. (2560). จุลสารพื้นที่สงวนชีวมณฑล แม่สา-คอกม้า ปีที่ 1
ฉบับที่ 1 [ออนไลน์] สืบค้นเมือวันที่ 10 มกราคม 2566 จาก https://th-th.facebook.com/maesakogma.br/.

ผู้จัดการออนไลน์. “อะเมซิ่ง “ดอยเชียงดาว” พื้นที่สงวนชีวมณฑลแห่งใหม่ของโลก” [ออนไลน์] สืบค้นเมือวันที่ 10 มกราคม 2566 จาก https://mgronline.com/travel/detail/9640000095130.

สำนักข่าว ไทยพีบีเอส. “ยูเนสโกประกาศ “ดอยเชียงดาว” เป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑลแห่งที่ 5 ของไทย”. [ออนไลน์] สืบค้นเมือวันที่ 10 มกราคม 2566 จาก https://www.thaipbs.or.th/news/content/307949.

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online slot88 istanaslot istanaslot slot88 istana slot istanaslot situs slot gacor hari ini istana impian istanaimpian istanaimpian2 istanaimpian3 istanaimpian4 istanaslot istanaslot Situs Judi Slot Online daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

slot pulsa

gangster4d slot

gangster4d

istana slot

http://ukt.uhnsugriwa.ac.id/admin/slot88/

https://ishcsf.com/slot-gacor/

https://www.sos-logistica.org/wp-content/uploads/slot-demo/

https://cultura.tonala.gob.mx/

https://bma.ac.ke/wp-content/uploads/2023/

http://labiela.com/cgi-bin/slot-gacor/

https://www.ideasei.com/wp-content/slot-dana/

https://kayseriescortu.com/slot-gacor/

http://sion.uhnsugriwa.ac.id/css/slot-gacor/
https://keckarangawen.demakkab.go.id/slot-gacor/
http://covid19.bulukumbakab.go.id/slot-toto/
http://covid19.bulukumbakab.go.id/slot-gacor/
http://covid19.bulukumbakab.go.id/slot88/
http://covid19.bulukumbakab.go.id/slot777/
slot777
slot gacor
Skip to content