OECMs สนับสนุน Soft power พื้นที่คุ้มครองของไทย

ประเทศไทยมีพื้นที่คุ้มครอง (Protected Area) ในรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้ อุทยานแห่งชาติ (National Park) เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า (Wildlife Sanctuary) วนอุทยาน (Forest Park) เขตห้ามล่าสัตว์ป่า (Non-hunting Areas) สวนพฤกษศาสตร์ (Botanical Garden) สวนรุกขชาติ (Arboretum) และพื้นที่คุ้มครองทางทะเลและชายฝั่ง เป็นต้น โดยปัจจุบันกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชได้มีการประกาศพื้นที่คุ้มครองทางบก ทั้งพื้นที่อุทยานแห่งชาติที่เรียกว่าพื้นที่เตรียมการ ประมาณ 23 แห่ง พื้นที่เตรียมการประกาศเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่า ประมาณ 6 แห่ง พื้นที่เตรียมการประกาศเป็นสวนรุกขชาติ 1 แห่ง ก็คือ สันทรายบางเบิด จ.ประจวบคีรีขันธ์ ที่ได้มีการเสนอขึ้นไปว่าจะขอประกาศเป็นเขตสวนรุกขชาติ ซึ่งมีพื้นที่คุ้มครองทางบกทั้งหมดคิดเป็นร้อยละ 24 ของประเทศ ในส่วนของพื้นที่คุ้มครองทางทะเล คิดเป็นร้อยละ 9.37 ของพื้นที่ทางทะเลไทย รวมกับพื้นที่เตรียมประกาศของหน่วยงานต่าง ๆ เช่น พื้นที่เตรียมการทะเล
และชายฝั่ง พื้นที่เตรียมการอุทยานแห่งชาติทางทะเล พื้นที่เตรียมการเขตห้ามล่าสัตว์ป่า และพื้นที่เตรียมการพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

นอกจากพื้นที่คุ้มครองที่กล่าวถึงข้างต้นแล้ว ในวงการสิ่งแวดล้อมของเราช่วงนี้อาจจะเคยได้ยินคำว่า “พื้นที่คุ้มครอง OECMs” “พื้นที่อนุรักษ์ OECMs” หรือ “พื้นที่ OECMs” ซึ่งคำว่า “OECMs” ที่ต่อท้ายคำว่าพื้นที่ต่าง ๆ นั้น ย่อมาจาก “Other Effective area-based Conservation Measures” โดยองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) ได้ให้คำนิยามของ OECMs ไว้ว่า เป็นพื้นที่นอกเขตพื้นที่คุ้มครอง ซึ่งมีการบริหารจัดการ เพื่อบรรลุเป้าหมายการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในถิ่นที่อยู่อาศัย (In-situ conservation) บทบาทหน้าที่ และบริการที่ได้รับจากระบบนิเวศ โดยคำนึงถึงวัฒนธรรม ความเชื่อ เศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งคุณค่าในท้องถิ่น หรือเรียกง่าย ๆ ว่า “พื้นที่อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพนอกเขตพื้นที่คุ้มครอง” จึงทำให้พื้นที่ OECMs มีความแตกต่างจากพื้นที่คุ้มครองตรงนี้ และยังเป็นพื้นที่ที่เปิดโอกาสให้กับภาคประชาชน ภาคเอกชน และภาครัฐเข้ามามีบทบาทและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ควบคู่ไปกับการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน

นอกจากนั้น OECMs ได้ถูกจำแนกเป็น 3 ประเภทตามการอนุรักษ์ด้วย โดยประเภทที่ 1 เป็นการอนุรักษ์หลัก (Primary Conservation) หมายถึง พื้นที่ที่เป็นไปตามองค์ประกอบและคำจำกัดความของพื้นที่คุ้มครอง แต่ไม่ได้ถูกกำหนดอย่างเป็นทางการโดยหน่วยงานที่กำกับดูแลเนื่องจากเหตุผลบางอย่าง เช่น พื้นที่ที่อยู่ภายใต้ชุมชนท้องถิ่นซึ่งไม่ต้องการให้พื้นที่ได้รับการยอมรับหรือรายงานว่าเป็นพื้นที่คุ้มครอง เนื่องจากไม่ต้องการให้หน่วยงานรัฐเข้าควบคุมหรือบริหารจัดการ และพื้นที่ที่ยังไม่ได้ประกาศเป็นพื้นที่คุ้มครองแต่อาจจะได้รับการประกาศในอนาคต ประเภทที่ 2 การอนุรักษ์รอง (Secondary Conservation) จะเป็นพื้นที่ที่มีการจัดการเชิงรุกโดยมีผลลัพธ์ด้านการอนุรักษ์ความหลายหลายทางชีวภาพ เป็นเป้าหมายในการจัดการลำดับรองลงมาจากเป้าหมายหลัก ได้แก่ นโยบายคุ้มครองและบริหารจัดการต้นนํ้า ส่งผลให้มีการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในลุ่มนํ้าอย่างมีประสิทธิภาพ แม้ว่า วัตถุประสงค์หลักของการจัดการในพื้นที่จะเพื่อการอื่นนอกเหนือจากการอนุรักษ์ และประเภทที่ 3 คือการอนุรักษ์เสริม (Ancillary Conservation) จะใช้สำหรับพื้นที่ที่มีผลพลอยได้จากการจัดการ ทำให้เกิดการอนุรักษ์ในพื้นที่ตามธรรมชาติ แม้ว่าการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพจะไม่ใช่วัตถุประสงค์ในการจัดการพื้นที่ ตัวอย่างเช่น แหล่งธรรมชาติอันศักดิ์สิทธิ์ที่มีค่าความหลากหลายทางชีวภาพสูงซึ่งได้รับการอนุรักษ์ในระยะยาว พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ สุสานทางสงคราม เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การจำแนกประเภทพื้นที่ว่าเป็น OECMs หรือไม่เป็นรูปแบบประเภทใดนั้น จำเป็นต้องมีการศึกษา วิเคราะห์ และจัดให้มีกระบวนการปรึกษาหารือร่วมกันทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน

สำหรับประเทศไทยของเราที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงประเทศหนึ่งของโลก มีหลายพื้นที่ที่มีศักยภาพจะเป็น OECMs ได้เช่นกัน และพื้นที่ดังกล่าวจะเป็นตัวช่วยให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายระดับโลก ได้ ซึ่งเป็นผลจากการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ สมัยที่ 15 (CBD COP 15) ที่มีผลสรุปและเป้าหมายที่สำคัญในการให้ประเทศภาคีร่วมสนับสนุนการเพิ่มพื้นที่คุ้มครอง เพื่อดูแลรักษาระบบนิเวศ แหล่งที่อยู่อาศัยของความหลากหลายทางชีวภาพ และยังช่วยสนับสนุนเป้าหมายที่ 3 ภายใต้กรอบงานคุนหมิง-มอนทรีออล ว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพของโลก ในการเพิ่มพื้นที่คุ้มครองทั้งบนบก แหล่งน้ำในแผ่นดิน และทะเลและชายฝั่ง รวมถึงพื้นที่อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพนอกเขตพื้นที่คุ้มครอง (OECMs) อย่างน้อย 30% ภายในปี ค.ศ. 2030 หรือที่รู้จักกันว่า “เป้าหมาย 30×30” นั่นเอง

หมู่เกาะของจังหวัดพังงา
หมู่เกาะของจังหวัดพังงา ในบางพื้นที่มีการบริหารจัดการโดยคนในท้องถิ่น เพื่ออนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในถิ่นที่อยู่อาศัย ตามคำนิยามของ OECMs ตัวอย่างเช่น ชมรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เกาะยาวน้อย จ.พังงา

เอกสารอ้างอิง
1. สำรวจพื้นที่ OECMs ผ่าน 4 มุมมอง สู่โอกาสในการบรรลุเป้าหมาย 30 x 30 ของประเทศไทย (globalcompact-th.com)

2. IUCN-WCPA Task Force on OECMs, (2019). Recognising and reporting other effective area-based conservation measures. Gland, Switzerland: IUCN. (https://portals.iucn.org/library/node/48773)

3. WWF and IUCN WCPA. 2023. A Guide to Inclusive, Equitable and Effective Implementation of Target 3 of the Kunming-Montreal Global Biodiversity Framework: Version 1, August 2023

บทความโดย นางสาวอภิญญา เพ็งนาค เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน กองติดตามประเมินผลสิ่งแวดล้อม (กตป.)

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ KM for Journey to be the writers

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content