Nature-based solutions แนวทางในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

โลกของเรากำลังเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความมั่นคงทางด้านอาหารและน้ำ ภัยธรรมชาติ และการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ปัญหาเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อมนุษย์และทุกชีวิตบนโลกอย่างรุนแรง ต้นตอของวิกฤติสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นนั้นมาจากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อเป็นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ส่งผลให้เกิดการประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติเกินกว่าศักยภาพของระบบนิเวศจะจัดการได้

ที่ผ่านมา มนุษย์พยายามแก้ไขปัญหาเหล่านี้ด้วยการสร้างโครงสร้างพื้นฐานสีเทาแทนการพึ่งพาโครงสร้างพื้นฐานสีเขียว เช่น การลดผลกระทบที่เกิดจากการกัดเซาะบริเวณชายฝั่งนั้นมีตัวเลือกในการแก้ปัญหา
2 ตัวเลือก ได้แก่ การบรรเทาผลกระทบด้วยป่าชายเลนตามแนวชายฝั่งทะเล (โครงสร้างพื้นฐานสีเขียว) หรือการสร้างแนวกันคลื่นและพนังกั้นน้ำทะเล (โครงสร้างพื้นฐานสีเทา) ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จากการสร้างโครงสร้างพื้นฐานสีเทามักไม่ยั่งยืน เนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานสีเทาสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตามมา ดังนั้น แนวทางใหม่ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของโลกจึงจำเป็นต้องคำนึงถึงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก แนวทางดังกล่าวเรียกว่า Nature-based solutions (NbS) แล้ว NbS คืออะไร?  ดีต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างไร?

ในการประชุมใหญ่สมัชชาการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโลก (World Conservation Congress) เมื่อปี พ.ศ. 2559 องค์กรภาคีและ IUCN ได้กำหนดนิยามของการแก้ปัญหาที่อาศัยธรรมชาติเป็นพื้นฐาน (Nature-based solutions; NbS) ว่าคือ “การดำเนินงานเพื่อบริหารจัดการ ปกป้อง และฟื้นฟูระบบนิเวศอย่างยั่งยืน
ซึ่งสามารถจัดการกับความท้าทายทางสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพและปรับให้เข้ากับสถานการณ์ เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของมนุษย์ ควบคู่กับการคงไว้ซึ่งประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพ”
(IUCN, 2016)

การแก้ปัญหาที่อาศัยธรรมชาติเป็นพื้นฐาน (IUCN)

ตัวอย่างของการแก้ปัญหาที่อาศัยธรรมชาติเป็นพื้นฐาน

  • ประเทศจีนใช้ “แนวคิดเมืองฟองน้ำ” คือ การจัดการและการออกแบบเมืองโดยเลียนแบบวัฏจักรทางอุทกวิทยาตามธรรมชาติ (Natural Hydrological Cycle) ช่วยให้เมืองสามารถแก้ไขปัญหาน้ำขัง ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพในการกักเก็บและปล่อยน้ำ โดยอาศัยแนวทางการแแก้ปัญหาด้วยโครงสร้างพื้นฐานสีเทา (Grey Infrastructure) และด้วยแนวทางธรรมชาติ (Nature-based Solutions) ซึ่งได้แก่ การสร้างสวนพิรุณ (Rain Garden) การปลูกหญ้าแฝก ระบบกักเก็บน้ำด้วยพืชพรรณ (Bio-retention Facilities) การปูทางเท้าด้วยแอสฟัลต์ที่น้ำซึมผ่านได้ เป็นต้น โดยมีเป้าหมาย คือ
    การดูดซับปริมาณน้ำฝนทั้งปีให้ได้ถึงร้อย 60-85
  • พื้นที่สีเขียวในเมือง (Open Green Space) เป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญสู่การพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน พื้นที่สีเขียว ไม่ว่าจะเป็นสวนสาธารณะ สนามหญ้า หรือการเปลี่ยนบางส่วนของอาคารเป็นหลังคาเขียว (Green Roof) หรือสวนแนวตั้ง (Green Wall) ล้วนมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้เมืองสามารถรับมือกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ ต้นไม้ในพื้นที่สีเขียวช่วยสร้างร่มเงาและลดปัญหาเกาะความร้อนในเขตเมือง อีกทั้ง พื้นที่สีเขียวในเขตเมืองยังช่วยดูดซับน้ำฝน ชะลอการไหลของน้ำ และลดปริมาณน้ำที่ไหลลงสู่ระบบท่อระบายน้ำ ซึ่งช่วยลดปัญหาน้ำท่วมได้อีกด้วย
  • การลดผลกระทบจากปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง โดยการใช้แนวทางการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าชายเลนแบบธรรมชาติ (CBEMR- Disaster Risk Reduction through Nature-based Solution) ไม่ว่าจะเป็นพืชชายหาด ป่าชายเลน หญ้าทะเล และปะการัง ที่สามารถป้องกันชุมชนริมชายฝั่งจากพายุ
    คลื่นลม และระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น รวมทั้งการสร้างหาดทราย (Beach Nourishment) โดยนำทรายจำนวนมากมาถมบริเวณที่ถูกกัดเซาะทำเป็นเนินขึ้นและปลูกพืชเสริมเข้าไปเพื่อดักทรายที่พัดเข้าฝั่ง ซึ่งอาจใช้งบประมาณน้อยกว่าการสร้างกำแพงกันคลื่น (Sea wall) ที่เห็นตามชายทะเลในปัจจุบันเสียอีก

อย่างไรก็ตาม การแก้ปัญหาตามแนวทาง NbS ก็ยังมีความท้าทายอยู่ การจะดำเนินโครงการ NbS ให้เกิดประสิทธิภาพอย่างเต็มที่นั้น ภาครัฐควรสร้างแรงจูงใจทางการเงินเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมจากภาคส่วนต่าง ๆ เช่น ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม หรือองค์กรระดับท้องถิ่น อีกทั้งภาครัฐควรมีการบูรณาการ NbS เข้ากับนโยบายด้านต่าง ๆ เช่น ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ด้านการเกษตรที่ผลักดันให้เกษตรกรทำเกษตรอินทรีย์มากขึ้น เพื่อลดผลกระทบจากการใช้สารเคมี ด้านกาจัดการผังเมืองที่สนับสนุนให้รวมโครงสร้างพื้นฐานสีเขียวเข้ากับการวางผังเมืองอย่างเป็นระบบ ทำให้ชุมชนเมืองมีความสามารถในการรับมือต่อผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ดียิ่งขึ้น

โครงสร้างพื้นฐานสีเทา VS โครงสร้างพื้นฐานสีเขียว

โครงสร้างพื้นฐานสีเทา (Grey Infrastructure) คือ โครงสร้างที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อรองรับระบบสาธารณูปโภคและบริการต่าง ๆ  โดยมักใช้วัสดุแข็ง เช่น คอนกรีต เหล็ก และหิน เช่น เขื่อน อ่างเก็บ กำแพงกันคลื่น ถนน โรงบำบัดน้ำเสีย ระบบส่งไฟฟ้า เป็นต้น มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ช่วยให้การขนส่ง การสื่อสาร การกระจายน้ำ และพลังงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ  อย่างไรก็ตาม โครงสร้างพื้นฐานสีเทาอาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การสูญเสียพื้นที่ตามธรรมชาติ การปล่อยมลพิษทางอากาศและน้ำเสีย การปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นต้น อย่างไรก็ตาม โครงสร้างพื้นฐานสีเทาก็ยังมีความจำเป็นต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ดังนั้น จึงควรมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสีเทาอย่างยั่งยืน  โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม เลือกใช้วัสดุและเทคโนโลยีที่เหมาะสม และมีการมีส่วนร่วมของประชาชน

โครงสร้างพื้นฐานสีเขียว หรือ Green Infrastructure หมายถึง เครือข่ายพื้นที่ธรรมชาติและกึ่งธรรมชาติ ซึ่งรวมถึง พื้นที่สีเขียว สวนสาธารณะ ป่าไม้ พื้นที่ชุ่มน้ำ แนวต้นไม้ สนามหญ้า แม่น้ำ ลำธาร ทะเลสาบ พื้นที่ราบน้ำท่วมถึง ฯลฯ พื้นที่เหล่านี้จะทำงานร่วมกันเพื่อ (1)  เสริมสร้างสุขภาพ คุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน (2) พัฒนาคุณภาพของระบบนิเวศ (3) อนุรักษ์ รักษา และฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ (4) ให้บริการทางนิเวศ (Ecosystem Services) แก่ประชากรโลก

อ้างอิง

Sustainable Capital Market Development – NATURE-BASED SOLUTION (NBS) …ทางรอดของธุรกิจในปัจจุบัน https://setsustainability.com/libraries/1151/item/nature-based-solution-nbs-

WWF – What are nature-based solutions and how can they help us address the climate crisis? https://www.worldwildlife.org/stories/what-are-nature-based-solutions-and-how-can-they-help-us-address-the-climate-crisis

Nature-Based Solutions Initiative – What is the Nature-based Solutions Initiative and what are nature-based solutions? https://www.naturebasedsolutionsinitiative.org/what-are-nature-based-solutions/

ณิชากร เรียงรุ่งโรจน์ ชยากรณ์ กำโชค (2021) เมืองฟองน้ำ: แนวคิดที่ทำให้เมืองกับน้ำเป็นมิตรของกันและกันhttps://theurbanis.com/environment/01/09/2021/5343

UN-Habitat Strategy Paper on Nature-based Solutions to Build Climate Resilience in Informal Areas https://unhabitat.org/strategy-paper-on-nature-based-solutions-to-build-climate-resilience-in-informal-areas

บทความโดย นางสาวอัฏฐารจ ชาวชน นักวิชาการสิ่งแวดล้อมปฏิบัติการ กองติดตามประเมินผลสิ่งแวดล้อม (กตป.)

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content