Critical Knowledge: การพัฒนา และอนุรักษ์กรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า

กรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สืบทอดความเจริญรุ่งเรืองทางด้านศิลปวัฒนธรรมอันยิ่งใหญ่ของชาติ ถือเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอนุรักษ์คุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรมไว้ โดยรัฐบาลได้กำหนดนโยบายการดำเนินงานเป็นพิเศษเฉพาะพื้นที่ เป็นระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ และเมืองเก่า พ.ศ. 2541 ปรับปรุงในปี พ.ศ. 2546 และ พ.ศ. 2564 ตามลำดับ โดยมอบหมายให้คณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ และเมืองเก่า ทำหน้าที่วางนโยบาย กำหนดพื้นที่ และจัดทำแผนแม่บท แนวทางการอนุรักษ์ และพัฒนาเมืองเก่า โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี และให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ 1) การกำหนดพื้นที่กรุงรัตนโกสินทร์ เป็น 4 บริเวณ ได้แก่ บริเวณที่ 1 กรุงรัตนโกสินทร์ชั้นใน บริเวณที่ 2 กรุงรัตนโกสินทร์ชั้นนอก และบริเวณที่ 3 พื้นที่ฝั่งธนบุรีตรงข้ามกรุงรัตนโกสินทร์ และบริเวณที่ 4 พื้นที่ต่อเนื่องบริเวณกรุงรัตนโกสินทร์ชั้นนอก 2) การกำหนดขอบเขตพื้นที่เมืองเก่า โดยการมีส่วนร่วมของภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีแล้ว 36 เมือง ใน 35 จังหวัด และมีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่ารายเมืองเพื่อขับเคลื่อนการบริหารจัดการในพื้นที่เมืองเก่า

สผ. ทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการ 3 คณะ ได้แก่ 1) คณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า 2) คณะอนุกรรมการกลั่นกรองและพิจารณาแผนการดำเนินงานในกรุงรัตนโกสินทร์ และ 3) คณะอนุกรรมการกลั่นกรองและพิจารณาแผนการดำเนินงานในพื้นที่เมืองเก่า มีภารกิจในการขับเคลื่อนการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า โดยเสนอแนะแนวทาง มาตรการ แผนปฏิบัติการ และระเบียบปฏิบัติต่างๆ เพื่อดำเนินการในพื้นที่กรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า ให้มีทิศทางในการดำเนินงานที่ชัดเจน

ขั้นตอนการดำเนินงานในการพัฒนา และอนุรักษ์กรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า
1. รวบรวมข้อมูล สำรวจ วิเคราะห์ ประเมินคุณค่ามรดกทางวัฒนธรรมเพื่อกำหนดเขตพื้นที่เมืองเก่า
2. จัดทำรายงานการศึกษาการกำหนดเขตพื้นที่เมืองเก่า และแนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่า เพื่อเสนอต่อคณะอนุกรรมการ คณะกรรมการ และคณะรัฐมนตรี
3. ประกาศเขตพื้นที่เมืองเก่า ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ และเมืองเก่า พ.ศ. 2546 และปรับปรุง พ.ศ. 2564
4. ประสานขับเคลื่อนให้คณะอนุกรรมการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าดำเนินการตามแนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่า
5. เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับคณะอนุกรรมการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่า และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

ปัญหาหรืออุปสรรคในการทำงาน ได้แก่ 1) ข้อจำกัดด้านงบประมาณ เพื่อการบริหารจัดการพื้นที่อย่างต่อเนื่อง สามารถแก้ไขโดยหาช่องทางเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่กรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า ซึ่งเป็นแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญ จากแหล่งทุนต่าง ๆ เช่น กองทุนสิ่งแวดล้อม กองทุนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย 2) ข้อจำกัดด้านบุคลากร ซึ่งมีจำนวนไม่เพียงพอต่อการดำเนินงานตามภารกิจ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ในระดับพื้นที่ที่ยังมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับแนวทาง มาตรการการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่า สามารถแก้ไขโดยให้ส่วนกลางประสานให้ความรู้กับผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อขยายความรู้ความเข้าใจไปยังกลุ่มเป้าหมายที่จะดำเนินการอนุรักษ์และพัฒนาในรุ่นต่อไปอย่างต่อเนื่อง

ผู้ให้ข้อมูลสัมภาษณ์
นางสาวสิริวรรณ สุโอฬาร
ผู้อำนวยการกลุ่มงานอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า
กองจัดการสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม

ติดตามข้อมูลการสัมภาษณ์เพิ่มเติมได้ที่
https://youtu.be/ChGcRolVk6E

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content