9 สิงหาคม 2564 โลกร้อน : ประเทศยากจนต้องเผชิญกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างไร

ที่มา:

https://www.bbc.com/thai/international-58140522

เจ้าหน้าที่ของรัฐและผู้เชี่ยวชาญกล่าวกับบีบีซีว่า ประเทศที่มีรายได้ต่ำกำลังเผชิญอุปสรรคในการป้องกันตนเองจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศองค์กรต่าง ๆ ซึ่งเป็นตัวแทนจาก 90 ประเทศระบุว่า แผนป้องกันความเสียหายจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เตรียมไว้ไม่ทันรับมือกับ ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว รุนแรงและถี่ขึ้นกว่าเก่า

สหประชาชาติกล่าวว่า ประเทศที่มีแผนเตรียมปรับตัวรับกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น แต่ก็ยังมีหลักฐานไม่เพียงพอที่จะสรุปว่าแผนเหล่านี้จะช่วยลดความเสี่ยงได้จริงหรือเปล่า “เราต้องปรับเปลี่ยนแผนเพื่อรับมือกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่แย่ลงเรื่อย ๆ แผนที่มีอยู่ไม่เพียงพอจะปกป้องผู้คนของเราแล้ว” โซนัม วังดี ประธานกลุ่มประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด (Least Developed Countries Group – LDC) กล่าว นี่เป็นการเรียกร้องก่อนที่คณะกรรมการด้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติจะตีพิมพ์รายงานวิเคราะห์เรื่องโลกร้อนวันนี้ (9 ส.ค.) โดยรายงานนี้จะเป็นข้อมูลอ้างอิงสำคัญสำหรับการประชุมสุดยอดด้านสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติ หรือ COP26 ที่เมืองกลาสโกว์ สหราชอาณาจักรในเดือน พ.ย. นี้

ความโกลาหลในแถบแคริบเบียน

เมื่อปีที่แล้ว ภูมิภาคแคริบเบียนต้องเผชิญกับพายุฤดูร้อน 30 ลูก สูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยเป็นพายุเฮอร์ริเคน 6 ลูกด้วยกัน บนเกาะที่ตั้งของประเทศแอนติกาและบาร์บูดา ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า อาคารหลายหลังไม่สามารถต้านทานลมแรงที่มากับพายุเหล่านี้ได้ “เราเคยเห็นแต่พายุเฮอร์ริเคนระดับ 4 ดังนั้นนั่นคือ สิ่งที่เราเตรียมไว้ในแผนปรับตัว แต่ตอนนี้เราถูกพายุเฮอร์ริเคนระดับ 5 พัดถล่มเข้าใส่แล้ว” ไดแอน แบล็ค เลย์เนอร์ หัวหน้าผู้เจรจาด้านสภาพภูมิอากาศของกลุ่มรัฐเกาะขนาดเล็ก (Alliance of Small Island States) กล่าว

เฮอร์ริเคนระดับ 5 ทำให้เกิดลมแรงถึง 180 ไมล์ต่อชั่วโมงซึ่งหลังคาอาคารไม่สามารถรับมือได้เพราะมันสร้างความกดอากาศแรงขึ้นภายในตัวอาคารด้วย

กำแพงกั้นคลื่นทลายในหมู่เกาะแปซิฟิก

ประเทศที่ตั้งบนเกาะหลายแห่งในมหาสมุทรแปซิฟิกโดนพายุไซโคลน 3 ลูกถล่มระหว่างกลางปี ค.ศ. 2020- ม.ค. 2021

“หลังจากพายุไซโคลน 3 ลูกนั้น ชุมชนในภาคเหนือของประเทศเราพบว่า กำแพงกั้นคลื่นที่สร้างขึ้นตามแผนในการปรับตัวพังทลายไป” วานี คาตานาซิกากล่าว เขาเป็นหัวหน้าคณะกรรมการบริการสังคมของฟิจิ ซึ่งเป็นกลุ่มตัวแทนขององค์กรไม่แสวงผลกำไรที่สังกัดสภาเพื่อการจัดการภัยพิบัติของประเทศ เขาบอกว่าคลื่นและลมโหมเข้าไปยังที่ตั้งถิ่นฐานจนทำให้คนในพื้นที่บางส่วนต้องอพยพหนี แม้ว่าการเกิดพายุหลายลูกในช่วงสั้น ๆ แบบนี้ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย แต่ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าพายุทะเลรุนแรงมากขึ่นเรื่อย ๆ รายงายวิจัยหลายชิ้นชี้ว่า พายุไซโคลนฤดูร้อนรุนแรงมากขึ้นในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา แต่ก็ยังไม่มีข้อสรุปเรื่องความถี่ของพายุ

ภูเขาในยูกันดา

ในประเทศยูกันดา ผู้คนในแถบเทือกเขารเวนซอรี ต้องเผชิญกับเหตุดินถล่มและน้ำท่วมแม้จะพยายามป้องกันด้วยการขุดคูดินและปลูกต้นไม้ “ฝนตกหนักมากจนเราเห็นน้ำท่วมใหญ่ที่หนัก และกะทันหันพัดทำลายสิ่งที่สร้างและปลูกขึ้นมาเพื่อพยายามป้องกัน” แจ็คสัน มูฮินโด ผู้ประสานด้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศของมูลนิธิอ็อกซ์แฟม (Oxfam) กล่าว ทำให้เกิดเหตุดินถล่มหลายครั้งจากเนินเขาซึ่งเข้าไปกลบทับที่อยู่อาศัยและไร่นาของคน เขาบอกว่าการป้องกันด้วยการอนุรักษ์ดินหมดประโยชน์ลงไปเรื่อย ๆ เมื่อเจอสภาพอากาศที่รุนแรงแบบนี้

การปรับตัวไม่ใช่เรื่องสำคัญที่สุด

สหประชาชาติกล่าวว่า มากกว่าร้อยละ 80 ของประเทศกำลังพัฒนาเริ่มคิด และบังคับใช้แผนปรับตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแล้ว อย่างไรก็ดี งานวิจัยโดยสถาบันนานาชาติเพื่อสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (International Institute for Environment and Development) บอกว่า 46 ประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุดในโลกไม่มีเงินทุนในการปรับตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สถาบันนานาชาติเพื่อสิ่งแวดล้อมและการพัฒนากล่าวว่า ประเทศเหล่านี้ต้องการเงินอย่างน้อย 4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ​ต่อปีในการทำตามแผนปรับตัว แต่ระหว่างปี ค.ศ 2014-2018 พวกเขาได้เงินแค่ 5.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น สหภาพยุโรปและประเทศพัฒนาแล้วอีก 23 ประเทศ สัญญาว่าจะให้ทุนช่วยเหลือประเทศที่กำลังพัฒนา 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ดี ตัวเลขล่าสุดชี้ว่าพวกเขายังให้ได้แค่ 7.8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ

รายงานโดยองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) ระบุว่า ประเทศที่พัฒนาแล้วให้เงินถึง 8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐเป็นทุนเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือ Climate Finance อย่างไรก็ดีพบว่า ในจำนวนนั้นมีเพียงร้อยละ 21 เท่านั้นที่ให้ใช้เพื่อปรับตัวรับมือกับผลกระทบกับสภาพภูมิอากาศ ขณะที่ส่วนใหญ่ถูกใช้สำหรับมาตรการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์

คาร์ลอส อกิลาร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการปรับตัวรับมือกับสภาพภูมิอากาศของอ็อกซ์แฟมกล่าวว่า เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องสำคัญที่สุดของรัฐบาลเมื่อต้องเผชิญกับปัญหาอื่นไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นการบริหารจัดการของรัฐ ความยากจน และโควิด-19

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content