7 ธันวาคม 2565 Beach for life บุก ทส.ทวงคืนชายหาด ยัน กำแพงกันคลื่น ต้องผ่านอีไอเอ

ที่มา : https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_3712481

ที่หน้ากระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กลุ่ม Beach for life และเครือข่ายประชาชนทวงคืนชาดหาด 94 องค์กร เดินทางมาปักหลักทวงคืนชายหาด โดยนายอภิศักดิ์ ทัศนี ผู้ประสานงาน Beach for life ระบุว่า เป็นเวลา 9 ปี หลังจากกำเเพงกันคลื่นถูกถอดออกจากอีไอเอ เเละเกือบจะ 4 ปีเต็ม ที่นายวราวุธ ศิลปอาชา ดำรงตำเเหน่ง รมว.ทส. รับรู้ปัญหาของการระบาดของกำเเพงกันคลื่นจนทำลายชายหาดต่างๆ ก่อนหน้านี้ ช่วงปี 2563 นายวราวุธ ประกาศว่าการกัดเซาะชายฝั่ง คือ วาระเเห่งชาติ ผ่านมาจนตอนนี้กำเเพงกันคลื่นยังระบาด เพราะไม่มีการทำอีไอเอ ไร้การควบคุมตรวจสอบ ให้มีการศึกษาผลกระทบสิ่งเเวดล้อมอย่างรอบด้าน

นายอภิศักดิ์ ระบุอีกว่า ข้อมูลการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่น พบว่า หลังถอดอีไอเอกำเเพงกันคลื่นระบาด 125 โครงการ มูลค่าการก่อสร้าง 8,487 ล้านบาท (กรมโยธาธิการฯ เเละกรมเจ้าท่า) สะท้อนให้เห็นว่านายวราวุธ เพิกเฉย ไม่สนใจ ที่จะนำเอากำเเพงกันคลื่นกลับมาทำอีไอเอ ทั้งๆ ที่ตนเองมีอำนาจในการออกระเบียบกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติเเละสิ่งเเวดล้อมเพื่อนำเอากำเเพงกันคลื่นกลับมาทำอีไอเอ มิหนำซ้ำยังเตะถ่วงพยายามจะประกาศใช้ environment checklist ซึ่งท้ายที่สุดก็เเท้งก็คลอด ประกาศไม่ได้จนถึงปัจจุบัน ทำให้กำเเพงกันคลื่นสามารถดำเนินการได้โดยง่าย ไม่ต้องทำอีไอเอ ไร้กระบวนการติดตามตรวจสอบอย่างรอบด้าน ถือว่านายวราวุธ ไม่มีความจริงใจต่อการเเก้ไขปัญหา
การกัดเซาะชายฝั่ง เเละไม่เคยรับฟังเสียงสะท้อนจากภาคประชาชน และขอเรียกร้องให้นายวราวุธ นำเอากำเเพงกันคลื่นทุกขนาด กลับมาทำอีไอเอโดยเร็ว

จากนั้นเวลาประมาณ 17.00 น. นายกุศล โชติรัตน์ รองปลัด ทส. พร้อมด้วยนายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พร้อมด้วยนาย และนายพิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ได้มาพูดคุยกับกลุ่ม Beach for life และเครือข่ายภาคประชาชน

นายพิรุณกล่าวว่า ทาง สผ. ประชุมร่วมกับกรมโยธาธิการและผังเมือง (ยผ.) กรมเจ้าท่า (จท.) กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) สำนักงบประมาณ (สงป.) คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการโครงสร้างพื้นฐานทางน้ำ เมื่อวันที่ 29 พ.ย.65 ที่ผ่านมา โดยมีข้อสรุปโดยรวมว่า ให้กรมโยธาฯ ดำเนินโครงการกำแพงกันคลื่น ผ่านกลไกการบริหารจัดการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ. (https://flathatnews.com/) ศ.2558 ที่สามารถควบคุมจำนวนโครงการกำแพงกันคลื่นของกรมโยธาฯ ได้อย่างมีนัยยะสำคัญ ส่วนโครงการเดิมที่มีการร้องเรียน ฅให้กรมโยธาธิการฯ และกรมเจ้าท่าต้องตั้งคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหา และต้องมีชุมชนผู้ได้รับผลกระทบและผู้ร้องเรียนเข้ามาร่วมแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมด้วย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content