6 มีนาคม 2567 หนอนนกยักษ์ทางออกขยะพลาสติก

หนอนนกยักษ์ทางออกขยะพลาสติก

http://ที่มา : Atime.live (https://atime.live/greenwave/greenheart/7179)

พลาสติก เป็นอีกหนึ่งวัสดุที่ทุกคนคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี และเคยหยิบจับกันอยู่แทบทุกวัน ทั้งถุงพลาสติก ขวดน้ำ แก้วน้ำ หลอด หรือแม้แต่กล่องข้าว ก็ล้วนแล้วแต่มีพลาสติกเป็นส่วนประกอบทั้งนั้น พลาสติกเป็นวัสดุที่นำมาใช้งานได้กว้าง และหลากหลาย สามารถทำให้อ่อนนุ่ม เหนียว ยืดหยุ่น หรือจะทำให้แข็งแรง คงทน ถึงขนาดเป็นชิ้นส่วนของยานอวกาศได้เลยทีเดียว

พลาสติก คืออะไร..พลาสติก จัดเป็นวัสดุพอลิเมอร์ที่เป็นสารประกอบอินทรีย์สามารถสังเคราะห์ได้จากกระบวนการ พอลิเมอร์ไรเซชั่น (polymerization)..โดยใช้แหล่งวัตถุดิบจากปิโตรเคมีเป็นหลัก เช่น เอธิลีน (Ethylene) , พรอพพิลีน (Propylene)..เป็นต้น เมื่อพลาสติกโดนความร้อน จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ “เทอร์โมเซตติ(Thermosetting)” พลาสติกจะแข็งตัวถาวรไม่ว่าจะถูกความร้อนมากแค่ไหนก็ตาม ทำให้ไม่สามารถหลอมเพื่อขึ้นรูปใหม่ตามที่ต้องการได้ เทอร์โมพลาสติก (Thermoplastic)” พลาสติกจะเกิดการอ่อนตัวเมื่อถูกความร้อน และจะกลับไปแข็ง เมื่อพลาสติกเย็นขึ้น ทำให้สามารถนำไปหลอมขึ้นรูปใหม่ได้ ซึ่งพลาสติกที่สามารถนำมารีไซเคิลได้ คือ “เทอร์โมพลาสติก (Thermoplastic) ปัญหาการจำกัดขยะพลาสติกในปัจจุบันนั้นส่วนหนึ่งเกิดจาก พลาสติกเป็นวัสดุที่ต้องใช้ระยะเวลาในการย่อยสลายนานถึง 500 – 650 ปี หรือพูดกันง่ายๆว่า ถุงพลาสติกที่เราใช้ในวันนี้ มีอายุยืนยาวกว่าตัวเราเองจนถึงรุ่นหลานของเราเลยทีเดียว อีกทั้งหากจะนำขยะพลาติกไปรีไซเคิล เป็นปุ๋ยชีวภาพ  หรือแปลเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อน ก็จำเป็นต้องใช้ทั้งพลังงานแถมผลที่ได้มานั้น หากทำไม่ถูกวิธี ขยะพลาสติก ก็จะแปลเปลี่ยนเป็น มลพิษทางน้ำ มลพิษทางอากาศ มลพิษทางดินอีกด้วย ปัญหาของขยะพลาสติกไม่ใช่แค่การย่อยสลายที่ใช้เวลานาน หรือกำจัดยาก แต่ยังมีเรื่องของปริมาณที่เยอะขึ้นทุกวัน ทุกที่ และทุกเวลา หากเราลองคิดกันง่ายๆ ว่าใน 1 วัน เราทิ้ง 1 ชิ้น ต่อ 1 คน ประเทศไทยเรานั้นก็จะเกิด ขยะวันละ 66.9 ล้านชิ้นต่อวันเลยทีเดียว

ประเทศไทยเรานั้นมีขยะพลาสติกเกิดขึ้น โดยเฉลี่ยปีละ  2 ล้านตัน แต่กลับนำมาใช้ประโยชน์ได้แค่เพียง  0.5 ล้านตันต่อปี ขยะในส่วนที่เหลือนั้น มักเป็นขยะที่ใช้งานได้เพียงครั้งเดียว เช่น ถุงหูหิ้ว แก้วพลาสติก หลอดพลาสติก ถ้าหากไม่มีการจัดการอย่างถูกวิธี ขยะก็จะกลายเป็นผลเสียที่จะกลายเป็นมลพิษต่อโลกไปนี้ต่อไป แล้วเราจะมีทางไหนไหมนะ? ที่จะย่อยสลายพลาสติกได้เป็นอย่างดีไม่เกิดมลพิษต่อระบบนิเวศ มารู้จักกับ “หนอนยักษ์” ที่สามารถย่อยสลายพลาสติกได้ หนอนยักษ์คืออะไร ? โซโฟบัส โมริโอ (Zophobas morio) หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า หนอนนกยักษ์ หรือ ซูเปอร์เวิร์ม (superworm)..สามารถใช้ชีวิตได้ด้วยการกินพลาสติกโพลิสไตรีน polystyrene..เป็นอาหาร เพราะเอนไซม์หลายชนิดในลำไส้ของพวกซูเปอร์หนอน สามารถย่อยสลายได้หนอนนกยักษ์  มีการแพร่กระจายทั่วทุกแห่งในอเมริกากลาง
ในบางพื้นที่ ของอเมริกาใต้ และพบมากทางตะวันตกของหมู่เกาะอินดีส (Indies)..และแม็คซิโก (Mexico)..โดยมี มูลค้างคาวและเศษซากพืชซากสัตว์ในธรรมชาติเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย หรือมีการอยู่รวมกันใต้เปลือก ของต้นไม้ที่ตายแล้วและเมื่อโตเต็มไว จะกลายเป็นด้วงปีกแข็งสีด เราอาจจะคุ้นหน้าคุ้นตาของเจ้า หนอนนกยักษ์ นี้กันอยู่แทบตลอดเวลา เพราะมันมักจะกลายเป็น อาหารของ นก กิ่งก่า และสัตว์ฟันแทะ ในกลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์ มักนิยมนำมาใช้เป็นอาหารสำหรับเลี้ยงสัตว์เลี้ยง เพราะมีโปรตีนที่สูง และขนาดตัวที่พอเหมาะ ย่อยขยะได้อย่างไร ? จากการทดลอง และวิจัยพบว่าเจ้าหนอนนกยักษ์นี้ สามารถกัดกินและย่อยสลาย พอลิสไตรีน (polystyrene) และสไตรีน (styrene)..ซึ่งเป็นหนึ่งในประเภทของพลาสติกที่เป็นตัวตั้งต้นในการผลิต ถุงพลาสติก หลอด โฟม และอีกมากมาย อีกทั้งยังค้นพบเอนไซม์หลายตัวในลำไส้ของหนอนเหล่านี้ที่มีคุณสมบัติในการย่อยสลายพลาสติก นอกจากนั้นไม่ใช่แค่การย่อยสลายเพียงอย่างเดียว เจ้าหนอนนกยักษ์นี้
ยังสามารถแปรเปลี่ยนพลาสติกเป็นพลังงานที่เลี้ยงชีพตนได้ แต่เจ้าหนอนที่กินพลาสติกเป็นประจำนั้นก็ไม่ได้มีสุขภาพที่ดีซักเท่าไหร่ เมื่อเทียบกับหนอนที่กินอาหารที่เหมาะสมอย่าง รำข้าว

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content