5 มกราคม 2564 ตะพาบยักษ์แยงซีพบที่ประเทศเวียดนาม ให้ความหวังยังไม่สูญพันธุ์จากโลก

ที่มา: https://www.khaosod.co.th//around-the-world-news/news_5668663

พบตะพาบยักษ์ใกล้สูญพันธุ์ที่สุดในโลก Swinhoe’s softshell turtle (ชื่อวิทยาศาสตร์ Rafetus swinhoei) ที่ประเทศเวียดนาม ให้ความหวังแก่นักอนุรักษ์ขึ้นมาอีกครั้ง เพราะเป็นการค้นพบทั้งเพศผู้และเพศเมีย องค์กร WSC Vietnam แจ้งข่าวดีรับปีใหม่ว่า พบตะพาบยักษ์น้ำหนัก ๘๖ กก. ตัวหนึ่งในทะเลสาบดองโม กรุงฮานอย และถูกจับมาตรวจดีเอ็นเอเมื่อเดือน ต.ค. พบตะพาบยักษ์ตัวนี้เป็นเพศเมีย ตะพาบยักษ์อีกตัวหนึ่งน้ำหนักประมาณ ๑๓๐ กก. ที่อาศัยในทะเลสาบแห่งเดียวกัน นักอนุรักษ์คาดว่าน่าจะเป็นเพศผู้

นอกจากนี้ ยังมีตะพาบยักษ์เพศผู้อีกตัวอยู่ที่สวนสัตว์ซูโจวในประเทศจีน ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เชื่อมั่นว่าตะพาบน้ำยักษ์จะมีโอกาสผสมพันธุ์เพื่อเพิ่มจำนวนไม่ให้สูญพันธุ์ เนื่องจากเป็นตะพาบยักษ์กำลังเสี่ยงสูญพันธุ์มากที่สุดในโลก ตะพาบน้ำยักษ์หรือรู้จักกันในชื่อของ “ตะพาบฮวานเกี๊ยม” หรือ “ตะพาบยักษ์แยงซี” กำลังเสี่ยงสูญพันธุ์อย่างยิ่ง เนื่องจากถูกคนล่าเพื่อกินเนื้อและไข่ รวมทั้งทำลายถิ่นที่อยู่อาศัยของตะพาบยักษ์

แอนดริว วาลด์ จากองค์กรเทอร์เทิล เซอร์ไววัล อัลไลแอนซ์ ซึ่งให้คำปรึกษาแนะนำรัฐบาลเวียดนามเกี่ยวกับโครงการอนุรักษ์กล่าวว่า การพบตะพาบยักษ์ตัวเมียเป็นข่าวดีที่สุดในปีนี้ และอาจเป็นข่าวดีในรอบ ๑๐ ปี ฮวง บิช ทุย ผู้อำนวยการองค์กรอนุรักษ์สัตว์ป่าของเวียดนามกล่าวว่า ในปีที่เต็มไปด้วยข่าวร้ายและความเศร้าโศกทั่วโลก การค้นพบตะพาบตัวเมียทำให้บางคนมีความหวังว่าสปีชีส์นี้จะมีชีวิตรอดต่อไป

ตะพาบยักษ์ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายเวียดนามในปี พ.ศ. ๒๕๕๖ แต่ก่อนหน้านั้น ถ้ามีใครจับได้ก็จะแบ่งเนื้อให้กินกันทั้งครอบครัว รวมถึงญาติๆ และเพื่อนบ้าน ไข่ตะพาบยักษ์ก็จะนำมาดองเกลือเพราะชาวบ้านเชื่อว่า ไข่เต่าเค็มจะช่วยรักษาโรคท้องร่วงได้ และยังมีตะพาบอีกหลายตัวที่ถูกจับไปขายในประเทศจีน นักอนุรักษ์ใช้เวลานานหลายสัปดาห์ค้นหาตะพาบยักษ์เพศเมียในทะเลสาบดองโมพื้นที่ ๘,๗๕๐ ไร่ จนเจอตะพาบตัวนี้ วัดความยาวได้ ๑ ม. และจับขึ้นมาเพื่อศึกษา ๑ วัน ทั้งตรวจร่างกาย และเก็บตัวอย่างเลือดซึ่งผลการตรวจพบว่า มันแข็งแรง สุขภาพดี จากนั้นจึงปล่อยลงทะเลสาบตามเดิม ฤดูใบไม้ผลิปีนี้ คณะนักอนุรักษ์หวังว่าจะจับตัวที่ ๒ ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า และเคยเห็นอยู่ในทะเลสาบดองโมเมื่อระดับน้ำลดต่ำที่สุด และอาจจะมีตะพาบยักษ์อีกตัวหนึ่งในทะเลสาบซวนคานห์ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ตรวจดีเอ็นเอในตัวอย่างน้ำแล้ว ตะพาบเพศเมียที่เคยอาศัยในประเทศเวียดนามตายไปเมื่อเดือน เม.ย. ๒๕๖๒ เคยถูกจับไปผสมพันธุ์กับตะพาบตัวผู้ในซูโจว แต่ไม่มีลูกด้วยกันตามธรรมชาติ นักวิทยาศาสตร์ต้องผสมเทียม แต่ตัวเมียไม่ฟื้นตัวจากยาชา แม้ว่ากระบวนการให้ยาชาได้รับการรับรองความปลอดภัยก่อนหน้านี้ก็ตาม

ทิโมธี แม็กคอร์มัค ผู้อำนวยการโครงการเต่าเอเชียเพื่อการอนุรักษ์ในอินโด – เมียนมากล่าวว่า เมื่อรู้เพศของตะพาบยักษ์ในประเทศเวียดนามก็จะช่วยให้วางแผนขั้นต่อไปได้ รายงานในปี พ.ศ. ๒๕๖๑ ระบุว่า ตะพาบเป็นสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังประเภทหนึ่งที่เสี่ยงสูญพันธุ์มากที่สุด เพราะตะพาบกว่าร้อยละ ๕๐ จาก ๓๕๖ สปีชีส์สูญพันธุ์ไปแล้ว สาเหตุเกิดจากการทำลายถิ่นอาศัย การล่าเพื่อเป็นอาหาร และยาแผนโบราณ รวมทั้งการค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมายและมลภาวะ

จอห์น บีเลอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์เลื้อยคลานกล่าวว่า ตะพาบเป็นเหมือนไดโนเสาร์ที่ยิ่งใหญ่มาแล้วก็ไป และกำลังประสบวิกฤตสูญพันธุ์ ขณะที่สปีชีส์สัตว์น้ำจืดกำลังถูกคุกคามจากการกระทำของมนุษย์ทำให้ประชากรสัตว์เหล่านี้ลดลงไปร้อยละ ๘๔ นับตั้งแต่ ๕๐ ปีก่อน สาเหตุส่วนหนึ่งเพราะการทำการเกษตร และการก่อสร้างเขื่อนจำนวนมหาศาล

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content