5 กรกฎาคม 2564 “กฟผ.” เล็งเสนอกระทรวงพลังงานอนุมัติผุดโซลาร์ฯ เหมืองแม่เมาะ 50 MW

ที่มา: https://mgronline.com/business/detail/9640000064942

นายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า จากปัญหาภาวะโลกร้อนทำให้ทั่วโลกต่างหันมาผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด เพื่อลดก๊าซเรือนกระจกเพื่อให้เป็นไปตามแนวทางของแต่ละประเทศที่มุ่งเน้นความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) และการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ดังนั้น กฟผ. จึงวางนโยบายที่จะเพิ่มพลังงานสะอาดมากขึ้นซึ่ง ล่าสุดเตรียมเสนอกระทรวงพลังงานเห็นชอบโครงการลงทุนพลังงานแสงอาทิตย์ติดตั้งบนพื้นดิน (โซลาร์ฟาร์ม) ที่เหมืองแม่เมาะ จ.ลำปาง ขนาดกำลังผลิต 50 เมกะวัตต์ (MW) คาดว่าจะใช้ประมาณ 500 ไร่เพื่อผลิตไฟฟ้าทั้งหมดใช้ในกิจการเหมือง การทำเหมืองแม่เมาะขณะนี้ต้องใช้ไฟฟ้าในการขุดดิน ขุดถ่านหินอยู่แล้ว เพื่อเป็นการลดการใช้เชื้อเพลิงจากฟอสซิล เราเห็นว่ายังมีพื้นที่เหลือในการทำโซลาร์ฟาร์มซึ่งเป็นพลังงานสะอาดมาใช้ในกิจการแทน โดยดำเนินการได้ทันทีแค่ปรับพื้นที่ดินเล็กน้อยเท่านั้น แต่ต้องขออนุมัติจากกระทรวงพลังงานซึ่งเชื่อว่า จะได้รับการพิจารณาเพราะเป็นโครงการที่ดีและไม่ได้ขายไฟเข้าระบบแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตาม นโยบายกระทรวงพลังงานที่อยู่ระหว่างการพิจาณาจัดทำแผนพลังงานแห่งชาติจะไม่เพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินจากเดิมที่กำหนดไว้เพื่อให้สอดรับกับแนวทางการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทยโดย โรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะทดแทนเครื่องที่ 8-9 (MMRP2) ขนาดกำลังการผลิต 600 เมกะวัตต์ ของ กฟผ. จะเป็นโรงไฟฟ้าถ่านหินโรงสุดท้ายที่รัฐจะรับซื้อไฟฟ้าเข้าระบบ และบรรจุอยู่ในแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561-2580 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1(PDP 2018 Rev.1) แล้ว ซึ่งปัจจุบันอยู่ในกระบวนการนำเสนอภาครัฐเพื่อพิจารณาอนุมัติการลงทุนในโครงการตามขั้นตอน โดยมีกำหนดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์(COD) ภายในเดือน ม.ค. 2569 ดังนั้นระยะยาวเมื่ออายุโรงไฟฟ้าหมดลง และเหมืองต้องหยุดดำเนินการซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาราว 30 ปี กฟผ.เตรียมแผนการพัฒนาเหมืองแม่เมาะสู่โครงการเมืองอัจฉริยะ หรือแม่เมาะสมาร์ทซิตี้

นายบุญญนิตย์กล่าวว่า การพัฒนาแม่เมาะมาร์ทซิตี้ กฟผ.มุ่งที่จะทำให้แม่เมาะเป็นเมืองต้นแบบใช้พลังงานหมุนเวียน โดยจะพัฒนาทั้งโซลาร์ฟาร์ม โรงไฟฟ้าชีวมวล และโรงไฟฟ้าที่เป็นพลังงานสะอาดอื่น ๆ รวมถึงจะมีโรงไฟฟ้าแบบสูบกลับด้วย เพราะการขุดถ่านหินในปัจจุบัน ต้องขุดลงไปลึกตั้งแต่ 500 ม.-1 กม. ทำให้พื้นที่ด้านล่างของเหมืองมีน้ำ ดังนั้นทำให้พื้นที่ข้างบนกลายเป็นแอ่งน้ำ เหมือนเขื่อนลำตะคองที่มีลักษณะเป็นโรงไฟฟ้าแบบสูบกลับ ก็จะสามารถใช้เป็นแบตเตอรี่ก้อนใหญ่ให้แก่ประเทศได้ และสามารถรองรับกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่ในอนาคตมีแนวโน้มจะส่งขายไฟฟ้าผ่านระบบหลักมากขึ้น “ขณะนี้ กฟผ.มีโครงการศึกษานำเอาพืชเกษตรในพื้นที่ภาคเหนือมาผลิตเป็นเชื้อเพลิงอัดเม็ด เพื่อนำมาป้อนเป็นเชื้อเพลิงเผาพร้อมกับถ่านหิน ซึ่งจะช่วยลดการเผาถ่าน ลดการเผาป่า และลดการเผาพืชผลทางการเกษตรของชาวบ้านในพื้นที่ภาคเหนือ ที่เป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญของการเกิดมลพิษทางอากาศ หรือปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ไมครอน และที่สำคัญเป็นการซื้อพืชจากเกษตรในพื้นที่ ทำให้เกิดรายได้ คาดว่าจะเริ่มการผลิตได้ภายในปีนี้

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content