4 กรกฎาคม 2563 ‘การจัดการภัยพิบัติโดยชุมชน’ชาวชุมชนริมแม่น้ำมูล จ.อุบลราชธานี ต่อเรือ-แพ 27 ลำเตรียมรับภัยน้ำท่วม

ที่มา : https://siamrath.co.th/n/167326

จังหวัดอุบลราชธานีเคยเกิดน้ำท่วมใหญ่มาแล้ว 2 ครั้ง คือในปี 2521 และปี 2545 โดยเฉพาะพื้นที่ริม สองฝั่งแม่น้ำมูลซึ่งเป็นพื้นที่รับน้ำจากจังหวัดต่างๆ ในภาคอีสานตอนใต้ก่อนจะไหลลงสู่แม่น้ำโขง แต่ในช่วงปลายเดือนสิงหาคม-กันยายน 2562 ที่ผ่านมา พายุโซนร้อน 2 ลูกที่พัดกระหน่ำอีสานทำให้มวลน้ำจากจังหวัดต่างๆ ไหลลงสู่แม่น้ำมูลหนักกว่าที่ผ่านมา ทำให้มีบ้านเรือน ทรัพย์สิน ไร่นา และสัตว์เลี้ยงของประชาชนในพื้นที่สองฝั่งแม่น้ำมูล 4 อำเภอ คือ อำเภอเมือง วารินชำราบ สว่างวีระวงศ์ และดอนมดแดง ได้รับความเสียหายกว่า 4,000 ครอบครัว มีผู้เดือดร้อนกว่า 10,000 คน

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ในปี 2549 ชุมชนแออัดในเขตอำเภอเมืองและวารินชำราบจำนวน 19 ชุมชนได้รวมตัวกันเป็น ‘เครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมืองจังหวัดอุบลราชธานี’ (คปสม.) เพื่อแก้ไขปัญหาที่ดิน ที่อยู่อาศัย การพัฒนาคุณภาพชีวิตในด้านต่างๆ รวมทั้งปัญหาภัยพิบัติจากน้ำท่วม ทำให้เครือข่ายฯ ตระหนักถึงปัญหาภัยน้ำท่วมที่เกิดขึ้นบ่อยๆ ในพื้นที่ริมฝั่งลำน้ำมูล จึงมีการเตรียมพร้อมต่างๆ เช่น จัดอบรมอาสาสมัครช่วยภัยน้ำท่วมในชุมชน การสร้างที่พักชั่วคราว สร้างโรงครัว รวมทั้งต่อเรือเพื่อใช้อพยพในยามน้ำท่วม จำนวน 4 ลำ และได้นำมาใช้ในช่วงน้ำท่วมปี 2562 ที่ผ่านมา

นายจำนงค์ จิตนิรัตน์ ผู้ประสานงานเครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมืองจังหวัดอุบลราชธานี (คปสม.) กล่าวว่า การช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่ จ.อุบลราชธานีที่ผ่านมา หน่วยงานต่างๆ เน้นการเยียวยาช่วยเหลือชาวบ้านภายหลังน้ำลด แต่ไม่ได้ให้ชาวบ้านเรียนรู้วิธีการป้องกันและรับมือ ซึ่งเมื่อหลายปีก่อนมูลนิธิชุมชนไทเข้ามาสนับสนุนให้ คปสม. นำภูมิปัญญาการต่อเรือของชุมชนท้องถิ่นมาสร้างเรือไว้รับมือเหตุการณ์น้ำที่ชุมชนคูสว่างและชุมชนหาดสวนสุข รวม 4 ลำ เมื่อเกิดน้ำท่วมในปี 2562 จึงนำเรือมาใช้อพยพผู้คนและทรัพย์สิน ทำให้ช่วยลดความเสียหายลงได้มาก แต่การช่วยเหลือทำได้ในวงจำกัด เนื่องจากมีเรือจำนวนน้อย

“จึงคิดว่าหากชุมชนริมแม่น้ำที่เสี่ยงต่อน้ำท่วมต่อเรือไว้ใช้ขนข้าวของเครื่องใช้ หรือมีแพใช้เก็บรักษาทรัพย์สิน 10 ครอบครัวต่อเรือ 1 ลำในทุกชุมชน จะช่วยลดผลกระทบได้เมื่อเข้าสู่ฤดูน้ำหลาก ซึ่งภายหลังจากเหตุการณ์น้ำท่วมในปี 2562 คปสม. จึงประสานขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานและองค์กรต่างๆ เพื่อให้ชุมชนริมสองฝั่งแม่น้ำมูลได้ต่อเรือเอาไว้ใช้ในยามน้ำท่วม เพราะที่มีอยู่ 4 ลำยังไม่เพียงพอ” จำนงค์กล่าว

โดยมีหน่วยงานต่างๆ ร่วมสนับสนุนงบประมาณและอุปกรณ์ในการต่อเรือและแพตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2562 ที่ผ่านมา เช่น จังหวัดอุบลราชธานี สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช. รวมทั้งเงินบริจาคจากประชาชน ภาคเอกชน รวมเป็นเงินประมาณ 900,000 บาท หลังจากนั้นจึงมีการฝึกอบรมการต่อเรือ มีวิทยากรมาช่วยสอน และนำภูมิปัญญาเรื่องการต่อเรือของชาวบ้านที่สืบทอดต่อกันมาใช้เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพลำน้ำของแต่ละท้องที่ เช่น ในพื้นที่ที่มีกระแสน้ำไหลเชี่ยวจะต้องต่อหัวเรือให้สูงขึ้น เพื่อให้เรือสู้กับกระแสน้ำเชี่ยว และหากพื้นที่ไหนที่ลำน้ำไม่ไหลเชี่ยวมากให้ลดส่วนหัวของเรือลง เพื่อลดแรงปะทะของน้ำ ทำให้เรือแล่นได้เร็วขึ้นและรับปริมาณน้ำหนักบรรทุกสิ่งของได้มากขึ้นด้วย

จนถึงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ชาวชุมชนต่างๆ ริมแม่น้ำมูลได้ช่วยกันต่อแพเสร็จแล้ว 1 ลำ เป็นแพโครงสร้างเหล็ก ขนาดกว้างยาวประมาณ 6 X 6 เมตร ใช้ถังพลาสติคขนาด 200 ลิตรช่วยพยุงแพ สามารถบรรทุกคนได้ครั้งละ 40 คน และเรือติดเครื่องยนต์อีก 26 ลำ (ในจำนวนนี้ 6 ลำ เครือข่ายภัยพิบัติจากภาคใต้ช่วยกันสร้าง) ขนาดกว้างยาวประมาณ 1.40 X 6 เมตร โครงสร้างเป็นเหล็ก หล่อด้วยเรซิ่น บรรทุกคนได้ประมาณ 10 -15 คน

อย่างไรก็ตาม เรือและแพที่ต่อใหม่ รวมทั้งที่มีอยู่เดิมประมาณ 30 ลำคงจะไม่เพียงพอต่อการอพยพชาวบ้านได้ทันท่วงที เพราะมีชุมชนที่ตั้งอยู่ริมน้ำมูลและเป็นพื้นที่เสี่ยงภัยประมาณ 40 ชุมชน หากจะให้เพียงพอจะต้องใช้เรืออีกประมาณ 300 ลำ ซึ่งจะต้องหาช่องทางมาสนับสนุนชุมชนต่อไป

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content