30 พฤษภาคม 2565 ทีมวิจัยนานาชาติระบุโปรตีนโบราณยืนยันชนิดไข่ของนกปริศนา

ที่มา: https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/2405117

รอยไหม้ที่ค้นพบบนเศษเปลือกไข่โบราณอายุ 50,000 ปี เมื่อหลายปีก่อนในรัฐเซาท์ออสเตรเลีย ประเทศออสเตรเลียนำเสนอเบาะแสแก่นักวิจัยว่า ชาวออสเตรเลียกลุ่มแรก ๆ ปรุงอาหาร และกินไข่ขนาดใหญ่ที่ได้มาจากนกที่สูญพันธุ์ไปนานแล้ว นำไปสู่การถกเถียงอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับสายพันธุ์นกที่วางไข่ ล่าสุดทีมวิจัยนานาชาตินำโดยนักโบราณคดีจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ในอังกฤษมหาวิทยาลัยตูรินในอิตาลี และมหาวิทยาลัยโคโลราโดในสหรัฐอเมริกาวางสัตว์ปริศนาตัวนี้บนแผนภูมิวิวัฒนาการ โดยการเปรียบเทียบลำดับโปรตีนจากฟอสซิลไข่ กับจีโนมหรือข้อมูลทางพันธุกรรมทั้งหมดของสายพันธุ์นกยังมีชีวิตทีมเผยว่า เวลา อุณหภูมิ และเคมีของฟอสซิลต่างเป็นตัวกำหนดว่า จะรวบรวมข้อมูลได้มากเพียงใด ซึ่งเปลือกไข่ทำจากผลึกแร่ที่สามารถดักจับโปรตีนบางชนิดได้อย่างแน่นหนา จะเป็นตัวรักษาข้อมูลทางชีววิทยาแม้จะผ่านเวลานานหลายล้านปี ทั้งนี้ โปรตีนที่สกัดจากเศษเปลือกไข่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่พบในผืนทรายของออสเตรเลียยืนยันว่า มนุษย์ยุคแรกสุดของทวีปนี้กินไข่ของนกสูง 2 เมตร หนัก 220-240 กก. วางไข่ขนาดเท่าผลแตงหนัก 1.5 กก. สูญพันธุ์ไปเมื่อกว่า 47,000 ปีก่อน

ทีมวิจัยระบุว่า เปลือกไข่เป็นของกลุ่มจีไนออร์นิส (Genyornis) คือ นกขนาดใหญ่บินไม่ได้ที่ชาวอะบอริจินเรียกว่า “มิฮิรัง” (mihirung) หรืออาจเป็น “ธันเดอร์ เบิร์ด” (Thunder Bird) ที่มีปีกเล็ก ๆ มีขาขนาดใหญ่ที่เดินเตร็ดเตร่ไปทั่วออสเตรเลียยุคก่อนประวัติศาสตร์โดยอาจอยู่เป็นฝูง นอกจากนี้ การค้นพบนี้ยังบ่งชี้ว่า มนุษย์กลุ่มแรกไม่จำเป็นต้องล่านกขนาดมหึมา แต่อาจบุกเข้าถึงรัง และขโมยไข่ยักษ์ของนกมาเป็นอาหาร ซึ่งเมื่อมีการล่าเอาไข่ที่มากเกินไปก็อาจทำให้จีไนออร์นิสสูญพันธุ์นั่นเอง

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content