29 กุมภาพันธ์ 2567 ‘มลพิษทางแสง’ ใกล้ถึงจุดที่ควบคุมไม่ได้ กระทบสิ่งมีชีวิตทั่วโลก

‘มลพิษทางแสง’ ใกล้ถึงจุดที่ควบคุมไม่ได้ กระทบสิ่งมีชีวิตทั่วโลก

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ (https://www.bangkokbiznews.com/environment/1115317)

นักดาราศาสตร์ทั่วโลกมีความกังวลกับ “มลภาวะทางแสง” มากขึ้น เนื่องจากแสงสว่างจากอาคารบ้านเรือนยามค่ำคืน เริ่มส่งผลกระทบต่อการมองเห็นดวงดาวบนท้องฟ้าแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งคนและสัตว์ นาฬิกาชีวภาพในคนเสีย พฤติกรรมสัตว์เปลี่ยน หาที่อยู่ใหม่เพราะหนีแสงจ้า ภาพถ่ายดาวเทียมของโลกในตอนกลางคืนสว่างไสวไปด้วยแสงไฟฟ้าจากเมืองต่าง ๆ เชื่อมต่อถึงกันระยิบระยับ จนแทบจะกลายเป็นดาวเคราะห์ที่มีแสงในตัวเอง เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าอารยธรรมมนุษย์เติบโตขึ้น และความเจริญได้เข้าถึงเกือบทุกที่ทั่วทุกมุมโลก แต่ในขณะเดียวกันสิ่งเหล่านี้ก็สะท้อนเห็นถึงมลภาวะทางแสงที่กำลังเกิดขึ้นเช่นกัน

         Globe at Night องค์กรรณรงค์เรื่องผลกระทบของมลภาวะทางแสง เผยแพร่รายงานที่อิงจากข้อมูล 10 ปีบนท้องฟ้ายามค่ำคืนตั้งแต่ช่วงปี 2011-2022 พบว่า ในแต่ละปีท้องฟ้ายามค่ำคืนจะสว่างขึ้น 10% ซึ่งส่งผลให้ดาวฤกษ์บนท้องฟ้าจำนวนมากถูกกลืนหายไปโดยแสงไฟจากตึกรามบ้านช่อง ไฟถนน สัญญาณไฟจราจร ฯลฯ เราต่างคุ้นเคยกันดีว่าการมีไฟฟ้าส่องสว่าง ถือเป็นเครื่องหมายของการความเจริญและความปลอดภัย แต่ในตอนนี้หลายพื้นที่มีแสงสว่างเกินความจำเป็น ข้อมูลจาก Dark Sky Group จากองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ หรือ IUCN พบว่า นวัตกรรมทางเทคโนโลยีและการเติบโตของเมืองทำให้เกิด “แสงสว่างส่วนเกิน” ในช่วง 25 ปีระหว่างปี 1992-2017 เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยข้อมูลจากดาวเทียมวัดข้อมูลได้ว่า มลภาวะทางแสงทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 49% แต่ตัวเลขอาจสูงกว่านี้มากถึง 270%

ในปัจจุบัน ผู้คนเริ่มหันมาใช้ไฟ LED แบบฟูลสเป็กตรัมมากกว่าไฟโทนสีอุ่นสลัว ซึ่งจะทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตเพิ่มขึ้น โดยทราวิส ลองคอร์ นักนิเวศวิทยาของ UCLA กล่าวว่า ไฟ LED จะมีช่วงความยาวคลื่นมากกว่าหลอดโซเดียมความดันสูงแบบเก่า ทำให้สามารถปล่อยคลื่นแสงสีน้ำเงินและสีเขียวมากกว่า จนนักบินอวกาศบนสถานีอวกาศนานาชาติสามารถมองเห็นความแตกต่างจากอวกาศได้

มลภาวะทางแสงอาจดูเหมือนเป็นปัญหารองเมื่อเทียบกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอื่นๆ แต่ก็สามารถลดลงได้ง่าย ๆ เดวิด เวลช์ ประธานกลุ่มที่ปรึกษาท้องฟ้ามืดของ IUCN แนะนำให้หรี่แสงไฟในพื้นที่กลางแจ้งลง หรือใช้แสงในระดับที่จำเป็นสามารถสร้างความแตกต่างได้มาก รวมถึงหันมาใช้ไฟโทนอุ่น หลีกเลี่ยงการใช้หลอดไฟ LED แบบฟูลสเป็กตรัม ที่มีแสงสีฟ้าเป็นอันตรายต่อผู้คนและสัตว์ต่าง ๆ โดยแสงไฟสีเหลืองนวลเป็นสีที่อันตรายต่อสายตาของสิ่งมีชีวิตน้อยที่สุด ช่วยให้สัตว์ส่วนใหญ่สามารถมองเห็นในเวลากลางคืนได้ การติดตั้งตัวจับเวลาและเซนเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหว ให้เปิดไฟเฉพาะเวลาที่มีคนอยู่ก็สามารถช่วยลดมลพิษทางแสงได้เช่นกัน ในปัจจุบันหลายประเทศเริ่มมีการก่อตั้งเขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดขึ้น เพื่อเป็นพื้นที่ปลอดแสงประดิษฐ์และสกายโกลว และสร้างความตระหนักรู้และเห็นคุณค่าต่อพื้นที่ธรรมชาติที่ไร้แสงรบกวน สามารถมองเห็นปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์และดวงดาวได้อย่างชัดเจน ซึ่งนับวันยิ่งหาพื้นที่แบบนี้ได้ยากขึ้นทุกที

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content