29 กุมภาพันธ์ 2567 ทส. ลุยญี่ปุ่น เทียบกำจัดขยะมาอิชิมะ หวังไทยหนุนเตาเผารวมกำจัดขยะ

ทส. ลุยญี่ปุ่น เทียบกำจัดขยะมาอิชิมะ หวังไทยหนุนเตาเผารวมกำจัดขย

ที่มา : ข่าวสดออนไลน์  (https://www.khaosod.co.th/monitor-news/news_8115821)

‘ปลัด ทส.’ระบุไทยต้องทบทวนความพร้อมระบบเตาเผารวมจัดการขยะ เทียบการกำจัดขยะที่’โรงงานมาอิชิมะ โอซาก้า’เป็นต้นแบบ ยึดหัวใจสำคัญคือการกำจัดขยะล้นเมือง ส่วนพลังงานไฟฟ้าเป็นแค่ผลพลอยได้

เมื่อวันที่ 28 ก.พ. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ร่วมกับบริษัท พีทีทีโกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC นำคณะสื่อมวลชนศึกษาดูงานการกำจัดขยะและบำบัดของเสีย เมืองโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น โดยคณะได้เดินทางมายังโรงงานกำจัดขยะมาอิชิมะ ซึ่งเป็นโรงงานกำจัดขยะด้วยระบบเตาเผาและบดขยะใหญ่ ดำเนินการโดยสำนักงานจัดการขยะเมืองโอซาก้า (Osaka..Waste..Management Authority) นายฮิโรซึคุ โอคุมูระ เจ้าหน้าที่โรงงานกำจัดขยะฯ เปิดเผยว่า โรงงานมาอิชิมะเปิดทำการเมื่อปี 2544 เป็นหนึ่งในโรงงานกำจัดขยะและของเสียจากเมืองโอซาก้า และเป็นหนึ่งในโรงงานบำบัดของเสียที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ใช้กระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกำจัดขยะและของเสีย ขยะจะถูกเคลื่อนย้ายโดยเครนที่มีมือจับขนาดใหญ่ สามารถยกขยะได้ครั้งละ 12 ตัน นำไปบดขยี้และคัดแยกชิ้นส่วนโลหะนำกลับมารีไซเคิล ก่อนรวบรวมขยะเข้าสู่เตาเผา ซึ่งมีทั้งหมด 2 เตา เผาด้วยอุณหภูมิ 900 องศาเซลเซียส จนกลายเป็นเถ้า และนำไปฝังกลบหรือถมทะเลเพื่อเป็นพื้นที่ใช้ประโยชน์ต่อไป

           เมืองโอซาก้าสามารถจัดเก็บขยะได้สูงสุดในช่วงสิ้นปีคือจำนวน 1,000 ตัน/วัน มีรถขยะ 600 คัน ส่วนในช่วงเวลาปกติสามารถจัดเก็บขยะเข้าสู่โรงงาน 450 ตัน/วัน เผาเป็นเถ้าได้ 200 ตัน/วัน โดยใช้เทคโนโลยีเชื้อเพลิงหมุนเวียนอากาศและไอน้ำจากการเผาขยะ สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 32,000 กิโลวัตต์/ชม. ซึ่งใช้หมุนเวียนภายในโรงงาน 6,000 กิโลวัตต์/วัน ที่เหลือนำออกขาย โดยมีรายได้จากการขายไฟฟ้า กว่า 600 ล้านเยน/ปี หรือเกือบ 150 ล้านบาท/ปี ซึ่งประชาชนไม่ต้องจ่ายค่าจัดเก็บขยะ เพียงแต่ต้องคัดแยกขยะก่อนนำมาทิ้ง ทั้งนี้นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดทส. กล่าวว่า ระบบการจัดการขยะของประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่น มีความแตกต่างกันใน 2 ประเด็น โดยประเด็นแรก คือ ระบบการคัดแยกขยะ โดยประเทศไทยมีการกำหนดให้มีการคัดแยกขยะมูลฝอย 4 ประเภท คือ 1.ขยะทั่วไป 2.ขยะอินทรีย์ /ขยะอาหาร 3.ขยะรีไซเคิล และ4.ขยะอันตราย/ของเสียอันตรายจากชุมชน ซึ่งองค์กรส่วนท้องถิ่นส่วนใหญ่ยังไม่ได้มีการออกข้อบัญญัติท้องถิ่น เทศบัญญัติ หรือธรรมนูญท้องถิ่นในการกำหนดให้ประชาชนคัดแยกอย่างจริงจัง หรือเป็นรูปธรรม

 

          ในขณะที่ประเทศญี่ปุ่นส่วนใหญ่มีการคัดแยกขยะหลักๆ 4 ประเภท คือ 1.ขยะเผาได้ ได้แก่ เศษอาหาร ภาชนะอาหารจากร้านสะดวกซื้อ หรือบรรจุภัณฑ์ทั่วไป แต่ก่อนการทิ้งรวมขยะอาหารต้องผึ่งตากลมประมาณ 1-2 วัน ก่อนทิ้งรวม ส่วนภาชนะบรรจุภัณฑ์อาหารต้องทิ้งขยะและล้างทำความสะอาดก่อนทิ้ง 2.ขยะที่ไม่สามารถเผาได้ โดยบางส่วนของขยะนั้นเป็นภาชนะที่อาจมีความเสี่ยงในการติดไฟ หรือระเบิดเมื่อโดนความร้อน อาทิ กระป๋องสเปรย์ แก้ว หลอดไฟ เซรามิก แบตเตอรี่ หรือเครื่องมือที่มีส่วนของวงจรไฟฟ้า กระป๋องแก๊ส เป็นต้น ซึ่งหากมีเศษแก้วหรือหลอดไฟแตกต้องห่อกระดาษก่อนทิ้ง พร้อมเขียนกำกับให้ทราบว่าภายในบรรจุอะไร 3.ขยะรีไซเคิล ประเภทที่ 1 เป็นหมวดของพลาสติก กระป๋อง ขวดแก้ว เป็นต้น โดยต้องเทของเหลวออกให้หมดและล้างด้วยน้ำเปล่าแล้วบิดหรือขยำให้เล็กลง และ 4.ขยะรีไซเคิล ประเภทที่ 2 เป็นหมวดของกระดาษ หนังสือ และเสื้อผ้าใช้แล้ว/ชำรุด ซึ่งมีคู่มือการทิ้งระบุไว้ชัดเจน

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content