29 กันยายน 2564 ผันน้ำยวม-เขื่อนภูมิพล เติมน้ำสร้างความมั่นคงให้ลุ่มเจ้าพระยา

ที่มา:

https://www.naewna.com/local/605270

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate Change ในปัจจุบัน ทำให้ภัยพิบัติทางธรรมชาติรุนแรงมากขึ้น ไม่ว่าปัญหาน้ำท่วมหรือน้ำแล้ง สถานการณ์น้ำท่วมในปัจจุบันหลายพื้นที่ประสบปัญหาน้ำท่วมรุนแรง เช่นลุ่มเจ้าพระยาตอนล่าง แต่ภายใต้สถานการณ์น้ำท่วมนั้นยังซ้อนความกังวลในเรื่องภัยแล้งไว้ ปริมาณไหลลง 4 เขื่อนหลักที่เป็นน้ำต้นทุนของลุ่มเจ้าพระยายังค่อนข้างน้อย ณ วันที่ 27 ก.ย. 2564 การเก็บกักรวมอยู่ที่ 11,648 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 47 ของปริมาณความจุ และเป็นปริมาณน้ำที่ใช้การได้ 4,952 ล้านลบ.ม. หรือร้อยละ 27 สามารถรองรับน้ำได้อีก 13,233 ล้านลบ.ม. โดยเขื่อนภูมิพลมีปริมาณน้ำ 6,098 ล้านลบ.ม. หรือร้อยละ 45 ของความจุ เขื่อนสิริกิติ์มีปริมาณน้ำ 4,068 ล้านลบ.ม. หรือร้อยละ 43 ของความจุ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดนมีปริมาณน้ำ 777 ล้านลบ.ม. หรือร้อยละ 73 ของความจุ และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์มีปริมาณน้ำ 705 ล้านลบ.ม. หรือร้อยละ 47 ของความจุ หลังจากนี้ได้แต่หวังว่า จะมีฝนตกหนักในพื้นที่เหนือเขื่อน และมีน้ำไหลเข้าเขื่อนหลักทั้ง 4 แห่งเพิ่มขึ้นบ้าง มิฉะนั้นแผนการจัดสรรน้ำในฤดูแล้งปีนี้อาจจะต้องงดทำนาปรังเหมือนปีที่ผ่านมา ขณะที่ลุ่มเจ้าพระยามีน้ำต้นทุนที่จำกัด แต่ความต้องการใช้น้ำในพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หากไม่มีการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนในวันนี้ วันข้างหน้าลุ่มเจ้าพระยาอาจจะเกิดวิกฤตขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้งก็เป็นไปได้

คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) ที่มีพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานมีมติผ่านความเห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) โครงการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้เขื่อนภูมิพล แนวส่งน้ำยวม–อ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล ของกรมชลประทาน หลังจากก่อนหน้านี้ได้ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านพัฒนาแหล่งน้ำ (คชก.) มาแล้ว โครงการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้เขื่อนภูมิพล จะสร้างความมั่นคงในเรื่องน้ำให้แก่พื้นที่ลุ่มน้ำปิง และลุ่มน้ำเจ้าพระยา ทั้งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค การเกษตร อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม และการท่องเที่ยว สอดคล้องกับยุทธศาสตรชาติ 20 ปี และแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (พ.ศ. 2561–2580) ในด้านที่ 2 สร้างความมั่นคงเรื่องน้ำเพื่อการผลิตของรัฐบาล โดยจะสามารถขยายพื้นที่ปลูกพืชในฤดูแล้งได้เพิ่มขึ้นกว่า 1.6 ล้านไร่ มีน้ำอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้นปีละ 300 ล้าน ลบ.ม. เพิ่มพลังงานไฟฟ้าที่โรงไฟฟ้าเขื่อนภูมิพลได้ปีละ 417 ล้านหน่วย โดยเฉพาะด้านการเกษตร โครงการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้เขื่อนภูมิพล นอกจากจะสร้างความมั่นคงให้แก่การเกษตรเดิมที่จะมีน้ำเพียงพอสำหรับทำนาได้อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง คือ นาปี และนาปรังแล้วยังสามารถขยายพื้นที่ชลประทานใหม่ในลุ่มน้ำปิง และลุ่มน้ำเจ้าพระยาได้เพิ่มขึ้น เช่น โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาท่อทองแดง จ.กำแพงเพชร ที่กรมชลประทานปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพ ก็จะทำให้มีน้ำเพียงพอที่ส่งน้ำไปหล่อเลี้ยงพื้นที่เกษตรกรรมกว่า 550,000 ไร่ครอบคลุมพื้นที่ 2 จังหวัด 6 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองกำแพงเพชร ไทรงาม พรานกระต่าย และลานกระบือ จ.กำแพงเพชร และ อ.เมืองสุโขทัย และคีรีมาศ จ.สุโขทัย ไม่เฉพาะพื้นที่ลุ่มน้ำปิงและลุ่มน้ำเจ้าพระยาได้รับประโยชน์เท่านั้น พื้นที่ลุ่มน้ำยวม ที่กรมชลประทานจะสร้างอ่างเก็บน้ำในแม่น้ำยวม เพื่อใช้เป็นเก็บกักน้ำก่อนที่ผันมายังเขื่อนภูมิพล ก็จะได้รับประโยชน์เช่นกัน จะทำให้พื้นที่ดังกล่าวมีความมั่นคงเรื่องน้ำ รวมทั้งยังจะแหล่งเพาะพันธุ์ปลา และแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของ อ.ท่าสองยาง จ.ตาก อีกด้วย

ทั้งนี้ โครงการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้เขื่อนภูมิพล ประกอบด้วยงานหลัก คือ สร้างอ่างเก็บน้ำในแม่น้ำยวม เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง ที่บ้านแม่ละนา อ.ท่าสองยาง จ.ตาก เหนือจุดบรรจบแม่น้ำเมยขึ้นมาประมาณ 13.8 กม. มีความจุ 69 ล้านลบ.ม. สร้างสถานีสูบน้ำที่บ้านสบเงา อ.ท่าสองยาง จ.ตาก เพื่อสูบน้ำจากอ่างเก็บน้ำแม่ยวมเข้าอุโมงค์ สร้างอุโมงค์ส่งน้ำขนาด 8.1-8.3 ม. ความยาวประมาณ 62 กม. เพื่อรับน้ำจากสถานีสูบน้ำบ้านสบเงาไปเติมอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล และปรับปรุงลำน้ำแม่งูด ระยะทางประมาณ 2 กม. รวมค่าก่อสร้างประมาณ 71,110 ล้านบาท โดยการลงทุนในการก่อสร้างมี 2 แนวทางคือ ภาครัฐลงทุนทั้งหมด และภาครัฐร่วมลงทุนกับภาคเอกชน

โครงการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้เขื่อนภูมิพล นอกจากจะเป็นโครงการสร้างความมั่นคงด้านน้ำแล้ว ยังเป็นการใช้ประโยชน์จากเขื่อนภูมิพลได้เต็มศักยภาพอีกด้วย ซึ่งในปัจจุบันเขื่อนภูมิพลมีความจุทั้งสิ้น 13,462 ล้านลบ.ม. โดยเป็นปริมาณน้ำที่ใช้การได้ 9,662 ล้านลบ.ม. แต่จากข้อมูลปริมาณน้ำที่ไหลลงเขื่อนภูมิพล ตั้งแต่ปี พ.ศ.2507-ปัจจุบัน เฉลี่ยปีละประมาณ 5,900 ล้านลบ.ม.เท่านั้น และมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ โดยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา เขื่อนภูมิพลมีปริมาณน้ำใช้งานได้เฉลี่ยอยู่เพียงร้อยละ 45 ของปริมาณความจุที่ใช้งานได้เท่านั้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่า เขื่อนภูมิพลยังมีศักยภาพในการเก็บกักน้ำได้เพิ่มขึ้นอีกประมาณร้อยละ 55 สาเหตุที่ปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนภูมิพลมีแนวโน้มลดลง นอกเหนือจากธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงไปแล้ว ยังมีจากความต้องการใช้น้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำปิงเหนือเขื่อนภูมิพล ในเขต จ.เชียงใหม่และลำพูน มีแนวโน้มการใช้น้ำเพิ่มขึ้นทุกปี ทำให้ปริมาณที่จะไหลลงเขื่อนภูมิพลถูกนำไปใช้รองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวจึงทำให้ปริมาณน้ำที่จะไหลลงมาเติมเขื่อนภูมิพลลดลง ดังนั้นนำน้ำจากแม่น้ำยวม ซึ่งเป็นสาขาของแม่น้ำเมยที่ไหลลงแม่น้ำสาละวิน ผันมาเติมเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้กับเขื่อนภูมิพลให้ใช้งานได้เต็มศักยภาพ จึงเป็นการใช้น้ำจากแหล่งน้ำในประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด ดีกว่าปล่อยให้ปริมาณน้ำจำนวนมหาศาลไหลลงสู่ทะเลโดยไม่ได้ใช้ประโยชน์ใด ๆ

การศึกษาความเหมาะสม และรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม โครงการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้เขื่อนภูมิพลนั้น กรมชลประทานศึกษาครอบคลุมในทุกด้าน ทั้งด้านวิศวกรรม เศรษฐศาสตร์ สิ่งแวดล้อม และสังคม ตลอดจนผลกระทบที่เกิดขึ้น และแนวทางแก้ไข โดยเฉพาะแนวทางในการผันน้ำมาเติมในเขื่อนภูมิพลนั้นศึกษาไว้หลายแนวทาง แต่ได้ข้อสรุปว่า แนวผันน้ำยวม–อ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล เป็นแนวทางที่เหมาะสมที่สุดแม้จะใช้เงินลงทุนสูงก็ตาม แต่ผลตอบแทนที่ได้ก็คุ้มค่า และการขุดเจาะอุโมงค์ส่งน้ำช่วยลดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมอีกด้วย ปริมาณน้ำที่จะผันมาเติมเขื่อนภูมิพลนั้น จะผันน้ำเฉพาะในช่วงฤดูฝนที่มีน้ำหลาก ประมาณปีละ 1,800 ล้านลบ.ม. ซึ่งจะไม่กระทบต่อการใช้น้ำในแม่น้ำยวม โดยระบายน้ำจากอ่างเก็บน้ำแม่ยวม เท่ากับปริมาณน้ำตามสภาพธรรมชาติในแม่น้ำยวมมีในแต่ละช่วง เพื่อรักษาระบบนิเวศด้านท้ายน้ำให้คงความอุดมสมบูรณ์ การขับเคลื่อนโครงการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้เขื่อนภูมิพล ใกล้เป็นจริง ความมั่นคงเรื่องน้ำในลุ่มน้ำปิง และลุ่มน้ำเจ้าพระยากำลังจะเกิดขึ้นอย่างยั่งยืน รอเพียงการนำเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบเท่านั้น

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content