28 เมษายน 2567 การเงินเพื่อความหลากหลายทางชีวภาพ

ความหลากหลายทางชีวภาพ

ที่มา https://www.thansettakij.com/blogs/columnist/setsawana/594359#google_vignette

เศรษฐกิจโลกพึ่งพาธรรมชาติอย่างมาก จากการประมาณการของ World Economic Forum พบว่า มูลค่าของภาคส่วนเศรษฐกิจที่พึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติในระดับปานกลาง ไปจนถึงระดับสูง รวมแล้วนับเป็นกว่าครึ่งของมูลค่า
เศรษฐกิจโลก 

อย่างไรก็ตาม กิจกรรมทางเศรษฐกิจในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมาส่งผลเสียต่อความหลากหลายของพันธุ์สัตว์ พันธุ์พืช สิ่งมีชีวิต และ ระบบนิเวศเป็นอย่างมาก ส่งผลให้ทุนทางธรรมชาติ (natural capital) ต่อหัวประชากรลดลงร้อยละ 40 ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1992 – 2014 และมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง สวนทางกับทุน (capital) ประเภทอื่นที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงระยะเวลาเดียวกัน

ทั้งนี้ประเทศไทยได้เริ่มขับเคลื่อนกลไกการเงินเพื่อความหลากหลายทางชีวภาพผ่านโครงการนำร่องของโครงการ BIOFIN ประเทศไทยในพื้นที่เกาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2565 ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน และได้เริ่มเตรียมการขับเคลื่อนกลไกการเงินเพิ่มเติมในหลากหลายมิติในปี พ.ศ. 2567

นอกจากนี้แล้ว ประเทศไทยยังอยู่ระหว่างการจัดทำแผนปฏิบัติการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ ฉบับที่ 5
ให้สอดคล้องกับกรอบงานคุนหมิง-มอนทรีออล โดยจะมีการบรรจุประเด็นด้านการเงินเพื่อความหลากหลายทางชีวภาพไว้อย่างชัดเจน   จากการดำเนินงานด้านการเงินเพื่อความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย จากความสำคัญของการปิดช่องว่างทางการเงินสำหรับทรัพยากรธรรมชาติในระดับโลก และจากการตื่นตัวของภาคการเงินในประเด็นการเงินเพื่อความยั่งยืน (green finance) ทำให้การดำเนินงานด้านการลงทุน เพื่อความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นที่น่าจับตามองเป็นอย่างยิ่งทั้งในส่วนของประเทศไทยเองและในการดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายในระดับโลก

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content