28 เมษายน 2563 นวัตกรรมที่ใช้วัสดุจากเปลือกสัตว์ทะเล

ที่มา: https://www.thairath.co.th/news/foreign/1831679

เปลือกของสัตว์ทะเลหลายชนิดถูกวิจัยถึงประโยชน์ที่อาจนำมาซึ่งนวัตกรรมที่จะเป็นทางเลือกใหม่ของการจ่ายพลังงานให้แก่เครื่องตรวจจับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม หรือปริมาณทางฟิสิกส์ที่เรียกว่า ตัวรับรู้หรือเซ็นเซอร์ ล่าสุดทีมผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมอุตสาหการจากมหาวิทยาลัยเพอร์ดู ในประเทศสหรัฐอเมริกา ได้วิจัยใช้ไคโตซาน (chitosan) ซึ่งเป็นสารชีวภาพจากธรรมชาติที่มีอย่างอุดมสมบูรณ์ในเปลือกของสัตว์ทะเลที่มีเปลือกแข็ง มาใช้ในการสร้างตัวผลิตกระแสไฟฟ้าแบบนาโน (Nanogenerators) ในแบบอุปกรณ์ผลิตพลังงานขนาดเล็กไทรโบอิเล็กทริก (Triboelectric Nanogenerator หรือ TENGs) ที่ช่วยประหยัดพลังงานเชิงกล และเปลี่ยนเป็นพลังงานผู้เชี่ยวชาญเผยว่า TENGs ที่ใช้ไคโตซาน แสดงให้เห็นประสิทธิภาพการแปลงพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และปรับอัตราการย่อยสลายทางชีวภาพได้ ซึ่ง TENGs ชนิดใหม่ที่ได้มาจากวัสดุชีวภาพธรรมชาติอาจปูทางไปสู่การผลิต TENGs ที่มีความยืดหยุ่นทางเศรษฐกิจ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีนี้มีประโยชน์สำหรับเซ็นเซอร์ทางการแพทย์ ในการตรวจสอบการทำงานของหัวใจหรือสมอง หรือใช้กับเทคโนโลยีหน้าจอสัมผัสบนอุปกรณ์การแพทย์ หรือโทรศัพท์มือถือ

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content