28 มกราคม 2564 มนุษย์ยุคแรกกับการใช้เครื่องมือเพื่อความอยู่รอด

ที่มา:

https://www.thairath.co.th/news/foreign/2021093

ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยทือบิงเงิน ประเทศเยอรมนี และสถาบันโบราณคดีซอนย่า แอนด์ มาร์โค แห่งมหาวิทยาลัยเทลอาวีฟ ประเทศอิสราเอล ศึกษาเครื่องมือหินที่ได้จากแหล่งโบราณคดีเรวาดิมในประเทศอิสราเอลเป็นเวลาหลายปี เพื่อทำความเข้าใจการทำงานของเครื่องมือที่มีอายุ ๕๐๐,๐๐๐ – ๓๐๐,๐๐๐ ปี เรวาดิมเป็นสถานที่ที่ได้รับความนิยมมากในครั้งอดีต เนื่องจากมีมนุษย์เข้ามาอาศัยอยู่ซ้ำแล้วซ้ำเล่า และดูจะเป็นกลุ่มโฮโม อิเรคตัส (Homo Erectus) เป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ ยังพบซากสัตว์ที่ถูกล่ามา เช่น ช้าง วัว กวาง เนื้อทราย ทีมวิจัยเผยว่า มนุษย์ที่อาศัยในเรวาดิมช่วงก่อนประวัติศาสตร์พัฒนาชุดเครื่องมืออเนกประสงค์ที่มีประสิทธิภาพ ไม่ต่างจากชุดเครื่องมือของพ่อค้ายุคนี้ นักวิจัยมุ่งศึกษาเครื่องมือสับที่เป็นก้อนหินมีขอบบางคมและใหญ่ ตัวอย่างหินที่นำมาวิเคราะห์ร่องรอยการสึกหรอและหาสารตกค้างอินทรีย์มีอยู่ ๕๓ ชิ้น หลายชิ้นมีความเสียหายที่ขอบอย่างมาก เป็นผลมาจากการสับของแข็ง บางชิ้นยังมีกระดูกสัตว์ติดค้างนานเกือบครึ่งล้านปี นักวิจัยเชื่อว่า มนุษย์ยุคแรกสับกระดูกสัตว์ออกเป็น ๒ ท่อนเพื่อสกัดไขกระดูกที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงมากิน หินสับกระดูกนี้ทำขึ้นในแอฟริกาเมื่อราว ๒,๖๐๐,๐๐๐ ปีก่อน จากนั้นมนุษย์หอบหิ้วเครื่องมือเหล่านี้อพยพไปดินแดนส่วนอื่นในโลก เครื่องมือจำนวนมากจึงถูกพบในพื้นที่ก่อนประวัติศาสตร์เกือบทุกแห่งทั้งในทวีปแอฟริกา ยุโรป ตะวันออกกลาง หรือแม้แต่ประเทศจีน นี่จึงเป็นหลักฐานที่แสดงถึงความสำคัญอย่างยิ่งยวดของมนุษย์โบราณ

(https://ctlsites.uga.edu)

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content